สืบค้นงานวิจัย
การผลิตไมโครแคปซูลกลิ่นรสจากเศษเหลือกุ้ง
จิรพร สวัสดิการ - มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชื่อเรื่อง: การผลิตไมโครแคปซูลกลิ่นรสจากเศษเหลือกุ้ง
ชื่อเรื่อง (EN): Production of Flavor Microcapsule from Shrimp Wastes
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิรพร สวัสดิการ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตไมโครแคปซูลกลิ่นรสจากหัวกุ้งขาวแวนนาไมด้วยเทคโนโลยีไมโค รเอนแคปซูเลชัน โดยทำการสกัดโปรตีนไฮโดรไลเซทจากหัวกุ้งด้วยเอนไซม์นิวเทรสและอัลคาเลส จากการศึกษาผล ของปริมาณเอนไชม์นิวเทสและเอนไซม์อัลคาเลสในการสกัดโปรตีนฮโดรไลเชทจากหัวกุ้งขาวระดับต่างๆ ได้แก่ 0:2, 0.5:1.5 1:1 1.5:0.5 และ 2:0 ร้อยละโดยน้ำหนักของหัวกุ้งขาว พบว่าการใช้เอนไซม์นิวเทรสและเอนไซม์อัล คาเลสในปริมาณ 1:1 มีค่าระดับกรย่อยสลายสูง และได้รับการยอมรับคุณภาพทางประสาทสัมผัสเนื่องจากได้รับ คะแนนความขมน้อยที่สุด เมื่อนำสารสกัดโปรตีนไฮโดรไลเซทไปทำแห้งโดยศึกษาผลของปริมาณมอสโทเด็กซ์ทริน ระดับต่างๆ ได้แก่ ร้อยละ 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนัก ต่อคุณลักษณะของผงโปรตีนไฮโดรไลเซท พบว่าเมื่อ ปริมาณมอลโทเด็กซ์ทรินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าความขึ้น ปริมาณน้ำอิสระ (AW) และปริมาณโปรตีนทั้งหมดสดลงแต่ ค่าการละลายและความหนาแน่นเพิ่มขึ้น เมื่อศึกษาผลของการใช้กัมอะราบิกร่วมกับมอลโทเด็กซ์ทริน 3 อัตราส่วน ได้แก่ ร้อยละ 0:10 , 2.5:7.5 และ 5:5 โดยน้ำหนัก พบว่าเมื่อปริมาณของกัมอะราบิกเพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าความชื้น และปริมาณน้ำอิสระลดลง แต่ค่าการละลายและความหนาแน่นสูงขึ้น การผลิตผงโปรตีนไฮโดรไลเซทหรือไมโคร แคปซูลกลิ่นรสจากหัวกุ้ง สามารถใช้มอลโทเด็กซ์ทรินหรือใช้กัมอะราบิกร่วมกับมอลโทเด็กซ์ทรินเป็นสารเคลือบ เพื่อนำไปเป็นสารให้ กลิ่นรสในผลิตภัณฑ์อาหารได้
บทคัดย่อ (EN): The objectives of the research was to produce flavor microcapsule from vannamei shrimp heads by microencapsulation technology. Protein hydrolysate was extracted from shrimp heads by using neutrase and alcalase. The effects of neutrase and alcalase content at 0:2, 0.5:1.5, 1:1, 1.5:0.5 and 2:0 % of the shrimp head weight (wt/wt) were studied for protein hydrolysate. The result showed that the content of neutrase : alcalase at 1:1 was higher in degree of hydrolysis and was lower in bitterness score from sensory evalution then protein hydrolysate was dried by spray drying. The effect of maltodextrin contents at 10, 20, 30 %wt/wt on properties of protein hydrolysate powder were studied. The results indicated that the maltodextrin contents were increased, the moisture content, water activity and protein content were decreased but dispersibility and density were increased. The effect of gum arabic and maltodextrin ratio at 0:10, 2.5:7.5 and 5:5 %wt/wt on properties of protein hydrolysate powder were studied. The result showed that the gum arabic contents were increased, the moisture content, water activity were decreased but dispersibility and density were increased. The production of protein hydrolysate powder or flavor microcapsule from shrimp heads could be produced by using maltodextrin or gum arabic and maltodextrin combination as wall material for flavoring agent of food products.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตไมโครแคปซูลกลิ่นรสจากเศษเหลือกุ้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
30 กันยายน 2557
การคัดเลือกยีสต์ที่ผลิตสารให้กลิ่นรส การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การผลิตกลิ่นรสอุมามิจากการหมักปลายข้าวคุณภาพต่ำโดยการใช้เอนไซม์และการหมัก การผลิตสารหอมปรุงแต่งกลิ่นรสแมลงดาจากใบทำมัง (Litsea petiotala) (ระยะที่ 2) การพัฒนากลิ่นรสกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจากผลิตผลพลอยได้ของกระบวนการแปรรูปกาแฟ การผลิตสารหอมปรุงแต่งกลิ่นรสแมลงดาจากใบทำมัง (Litsea petiotala) (ระยะที่ 1) ประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุด (Gracinia mangostana, Linn) ในการกำจัดจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล การพัฒนากลิ่นรสกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจากผลิตผลพลอยได้ของกระบวนการแปรรูปกาแฟ ระยะที่ 2 การพัฒนากลิ่นรสกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจากผลิตผลพลอยได้ของกระบวนการแปรรูปกาแฟ ระยะที่ 3 การวิจัยและพัฒนาสารปรุงแต่งกลิ่นรสจากธรรมชาติ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก