สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์เครื่องหมายโมเลกุลที่เชื่อมโยงกับลักษณะเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงในทานตะวันโดยใช้ประชากรที่เป็น double haploid
สนธิชัย จันทร์เปรม, บุบผา คงสมัย, พรศิริ เลี้ยงสกุล - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เครื่องหมายโมเลกุลที่เชื่อมโยงกับลักษณะเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงในทานตะวันโดยใช้ประชากรที่เป็น double haploid
ชื่อเรื่อง (EN): Analysis of molecular marker linked to high oil percentage in sunflower using double haploid population
บทคัดย่อ: ได้เพาะเลี้ยงอับละอองเกสรของทานตะวันลูกผสม 3 พันธุ์ คือพันธุ์แปซิฟิก 33, 55, และ 77 ที่มีระยะการพัฒนาของละอองเกสรในระยะ uni-nucleate ที่อุณหภูมิ 25 และ 30 องศาเซลเซียส บนอาหารสูตรชักนำแคลลัส MS I-1 และ MSI-2 พบว่า ที่ 25 องศาเซลเซียส สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ไม่แตกต่างกันในอาหารทั้งสองสูตร ในขณะที่ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส สูตร MS I-1 สามารถชักนำแคลลัสได้ดีกว่า MS I-2 และที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส สามารถชักนำแคลลัสได้ดีกว่าที่ 25 องศาเซลเซียส แต่แคลลัสเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว และเมื่อย้ายแคลลัสที่ได้จากทุกสูตรและทุกสภาพการเพาะเลี้ยงลงสู่อาหารชักนำให้เกิดต้น ก็ไม่สามารถชักนำให้แคลลัสเหล่านั้นพัฒนาเป็นต้นได้ โดยแคลลัสจะเปลี่ยนเป็นชนิดเกาะกันอย่างหลวม ๆ และมีสีเขียว และเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้นได้เพาะเลี้ยงอับละอองเกสรของทานตะวันลูกผสม 3 พันธุ์ คือพันธุ์แปซิฟิก 33, 55, และ 77 ที่มีระยะการพัฒนาของละอองเกสรในระยะ uni-nucleate ที่อุณหภูมิ 25 และ 30 องศาเซลเซียส บนอาหารสูตรชักนำแคลลัส MS I-1 และ MSI-2 พบว่า ที่ 25 องศาเซลเซียส สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ไม่แตกต่างกันในอาหารทั้งสองสูตร ในขณะที่ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส สูตร MS I-1 สามารถชักนำแคลลัสได้ดีกว่า MS I-2 และที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส สามารถชักนำแคลลัสได้ดีกว่าที่ 25 องศาเซลเซียส แต่แคลลัสเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว และเมื่อย้ายแคลลัสที่ได้จากทุกสูตรและทุกสภาพการเพาะเลี้ยงลงสู่อาหารชักนำให้เกิดต้น ก็ไม่สามารถชักนำให้แคลลัสเหล่านั้นพัฒนาเป็นต้นได้ โดยแคลลัสจะเปลี่ยนเป็นชนิดเกาะกันอย่างหลวม ๆ และมีสีเขียว และเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น
บทคัดย่อ (EN): Uni-nucleate microspores of 3 hybrids sunflower, Pacific 33, 55 and 77, were cultured in vitro on callus induction medium, MSI-1 and MSI-2 at 25 and 30oC. It was found that at 25oC, callus induction was not different in both media. While at 30oC, MSI-1 medium was better than MSI-2 in cullus induction efficiency. It was also found that at 30oC the callus induction was superior than at 25oC but the callus turned brown rapidly. The calli derived from two induction medium and all culture conditions were transferred onto shoot regeneration medium. All calli turned to friable and green color callus but did not develop into plantlet except the size of calli were increased.Uni-nucleate microspores of 3 hybrids sunflower, Pacific 33, 55 and 77, were cultured in vitro on callus induction medium, MSI-1 and MSI-2 at 25 and 30oC. It was found that at 25oC, callus induction was not different in both media. While at 30oC, MSI-1 medium was better than MSI-2 in cullus induction efficiency. It was also found that at 30oC the callus induction was superior than at 25oC but the callus turned brown rapidly. The calli derived from two induction medium and all culture conditions were transferred onto shoot regeneration medium. All calli turned to friable and green color callus but did not develop into plantlet except the size of calli were increased.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์เครื่องหมายโมเลกุลที่เชื่อมโยงกับลักษณะเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงในทานตะวันโดยใช้ประชากรที่เป็น double haploid
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2551
การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของทานตะวันโดยเครื่องหมายโมเลกุลชนิดเอสเอสอาร์และอาร์เอพีดี การศึกษาลักษณะพันธุ์กระชายดำโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล AFLP การวิเคราะห์ความหนาของกะลาในปาล์มน้ำมันโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลเอสเอสอาร์ ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลสำหรับคัดเลือกปาล์มน้ำมันที่ให้ปริมาณผลผลิตสูง การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจำแนกชนิดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล การปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำเพื่อเพิ่มผลผลิตเมล็ดและปริมาณน้ำมันโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุล การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าว โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล SSR การวิเคราะห์หาเครื่องหมายโมเลกุลบ่งชี้ลักษณะยีนต้านทานโรคเมล็ดสีม่วงในถั่วเหลือง การตรวจหาเครื่องหมายโมเลกุลชนิด ISSR ที่เชื่อมโยงกับยีนที่ควบคุมลักษณะต้านทานเชื้อไวรัสนิวคลีโอโพลีฮีโดรซิสในไหม Bombyx mori L. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาชลประทานโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก