สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเครื่องต้นแบบที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติคของไทเทเนียมไดออกไซด์สำหรับยืดอายุการการเก็บรักษาผลลองกองในห้องเย็น
นางสาววิลาวัลย์ คำปวน - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครื่องต้นแบบที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติคของไทเทเนียมไดออกไซด์สำหรับยืดอายุการการเก็บรักษาผลลองกองในห้องเย็น
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Prototype Based on Titanium Dioxide Photocatalytic Oxidation for Prolong Storage Life of longing (Aglaia dookoo Griff) in Cold Room
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาววิลาวัลย์ คำปวน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าเครื่องกำเนิดปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติกของไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ซึ่ง ประกอบด้วยหลอด UV-A และแผงไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ที่เคลือบบนตะเกรงเหล็ก สามารถกำจัดเอทิลีนใน กล่องที่ไม่มีมะม่วงได้ แต่ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงในสภาพอุณหภูมิห้อง (29 องศาเซลเซียส) ใน การวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องกำเนิดปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติกของไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ ด้วยการหาวิธีในการ เคลือบสารไทเทเนียมไดออกไซด์ พบว่าการเคลือบสารไทเทเนียมไดออกไชด์ลงบนแท่งแก้วด้วยระบบโซเจล และเผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเชียส นาน 1 ชั่วโมง ได้ชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพในการเกิดปฏิกิริยาโฟโตแค ตาไลติก และไม่มีการหลุดร่อน สามารถใช้งานได้นาน นำเครื่องต้นแบบที่พัฒนาได้ไปทดสอบประสิทธิภาพ ต่างๆ ดังนี้ 1. ทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดเอทิลีนจากผลกล้วยในกล่อง โดยหาชนิดของไทเทเนียมได ออกไชด์ ความเร็วลมที่เหมาะสม และแหล่งกำเนิดแสงที่เหมาะสมสำหรับการเกิดปฏิกิริยาโตแคตาไลติก ผล การทตลองพบว่า เครื่องกำเนิดปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติกซึ่งประกอบด้วยหลอด UV-C และมีการเคลือบ ไทเทเนียมไดออกไซด์แบบ Anatest มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณเอทธินในกล่องได้ดีที่สุด การศึกษาผล ของความเร็วลมของเครื่องสร้างปฏิกิริยาโฟโตแคตไลติค ต่อการลดปริมาณเอทีลีนในห้องเก็บรักษาพบว่า ปริมาณเอทิลีนของชุด Contro จะมีค่าสูงสุด และความเร็วลมประมาณ 6 เมตรต่อวินาทีเป็นค่าที่เหมาะสม สำหรับการสร้งปฏิกิริยาสูงสุด เนื่องจากสามารถทำให้ค่าปริมาณเอทิลีนลดลงมากที่สุด และหลอดไฟแบบ UVC จะสามรถเร่งการสร้างปฏิกิริยาได้มากกว่าหลอดแบบ UVA ทำให้ลดปริมาณเอทิลีนได้มากกว่า 2. ทดสอบประสิทธิภาฬในการยืดอายุการเก็บรักษาผลลองกองเปรียบเทียบระหว่างหลอด UVC และ หลอด UVA และชุดควบคุม ที่อุณหภูมิ 15:2 องศาเซลเชียส เป็นเวลา 16 วัน ผลการทดลองพบว่า เครื่อง กำเนิดปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติกซึ่งประกอบด้วยหลอด UV-C และมีการเคลือบไทเทเนียมไดออกไซด์แบบใหม่ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาลองกองได้ดีที่สุด และมีการเกิดโรคน้อยกว่าชุดควบคุม 3. ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องต้นแบบในการควบคุมปริมาณก๊ซเอทิลีนในห้องเย็นที่เก็บรักษา ผลลองกอง พบว่าสามารถลดปริมาณก๊ซเอทิลีนในห้องเย็นที่ก็บรักษาได้ดีกว่า และทำให้จำนวนผลหลุดร่วง น้อยกว่าชุดควบคุม .ทดสอบประสิทธิภพของเครื่องต้นแบบในการควบคุมเชื้อจุสินทรีย์ในห้องเย็น พบว่าสามารถลด ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์นสภาพห้องเย็นได้ ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาพัฒนาต่อเพื่อใช้เป็นวิธีทางเลือก ในการควบคุมโรคหลังเก็บเกี่ยวของมะม่วงซึ่งสอดคล้องในด้านมาตรฐานอาหารปลอดภัยได้อีกวิธีการหนึ่ง 5 ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีประสิทธิภาพในการชะลอการหลุดร่วง ของผลลองกองที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ได้น้อยเมื่อเทียบกับชุดควบคุม เนื่องจากผล ลองกองที่ใช้ทดลองไม่ได้มีวิธีการทำความสะอาด จึงมีเชื้อปะปนมาเป็นจำนวนมาก เครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้น และเครื่องที่นำมาจากบริษัทไม่สามารถดการเน่าสียได้หมด และไม่สามารถป้องกันการหลุดร่วงของผลลองกองในห้องเย็นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตำแหน่งการวางผลลองกองในห้องเย็น มีผลต่อประสิทธิภาพ ของเครื่อง สามารถลดโรคและลดการหลุดร่วงของผลลองกองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การนำเครื่องตันแบบไปขยายผลเพื่อใช้ได้จริง ควรมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการจัดให้มีการ หมุนเวียนของอากาศในห้อง หรืออาจวางเครื่องไว้ 2 ด้านของห้องเย็น และมีความจำเป็นต้องมีการป้องกันโรค หลังเก็บเกี่ยว และแมลง ที่ติดมาจากแปลงปลูก เช่น การห่อผลลองกองในแปลงปลูก การจุ่มผลลองกองในน้ำ ร้อน การชุบหรือสเปรย์สารที่มีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อจุสินทรีย์ที่ปลอดภัยก่อน เนื่องจากเครื่องต้นแบบกำเนิด ปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติค สามารถกำจัดเชื้อจุสินทรีย์ และก๊าซเอทิลีน ในอากาศภายในห้องเท่านั้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเครื่องต้นแบบที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติคของไทเทเนียมไดออกไซด์สำหรับยืดอายุการการเก็บรักษาผลลองกองในห้องเย็น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30 กันยายน 2559
การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย การพัฒนาเครื่องต้นแบบที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตแคตาไลติคของโลหะออกไซด์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ ปัจจัยก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อการส่งออกลองกองไปประเทศจีนโดยทางเรือ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทางธรรมชาติสำหรับยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้กวน การพัฒนาเครื่องต้นแบบสำหรับผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้ในระดับอุตสาหกรรมท้องถิ่นเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การยืดอายุการเก็บรักษาจุลินทรีย์โพรไบโอติกในน้ำผลไม้ด้วยการกดดันด้วยกรด การใช้ชนิดต้นตอที่เหมาะสมสำหรับการขยายพันธุ์ลองกอง พอลิเมอร์แบบเม็ดจากไคโตซานผสมน้ำมันหอมระเหยเพื่อต้านจุลินทรีย์และยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้สด: สมบัติและการใช้งาน ศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ลองกองกวนชนิดแผ่น การศึกษาประสิทธิภาพของสารเร่ง พด.7 ในการป้องกันกำจัดหนอนชอน เปลือกลองกอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก