สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง
อัจฉรา ภาวศุทธิ์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Increasing Fruit Production and Quality in Royal Project Area and Expanding the Royal Project Program
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัจฉรา ภาวศุทธิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิธีการปลิดผลองุ่นพันธุ์ Beauty Seedless โดยใช้สาร Gibberellic acid (GA3) เพื่อลดต้นทุนการปลิดผลองุ่น ทำการทดลองที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม 2555 พบว่า การใช้ GA3 ความเข้มข้น 20 ppm ที่ระยะดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ ใช้ระยะเวลาในการปลิดผลและมีต้นทุนในการปลิดผลน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น (8.44 บาทต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม) ซึ่งน้อยกว่าการไม่ใช้ GA3 (9.11 บาท) โดยมีขนาดผล ขนาดช่อผลที่มากกว่ากรรมวิธีอื่น แต่น้ำหนักช่อผล จำนวนผลต่อช่อ TSS และ TA ไม่แตกต่างจากการไม่ใช้ GA3 สำหรับที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ทดลองระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม 2555 พบว่า กรรมวิธีใช้ GA3 ความเข้มข้น 10 ppm ที่ระยะดอกบาน 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้ระยะเวลาในการปลิดผลน้อยกว่าและมีต้นทุนในการปลิดผลน้อยที่สุด (2.39 บาทต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม) ซึ่งน้อยกว่ากรรมวิธีควบคุม (3.48 บาทต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม) โดยขนาดผล น้ำหนักช่อผล จำนวนผลต่อช่อ TSS และ TA ไม่แตกต่างจากการไม่ใช้ GA3 การทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในการผลิตพี้ชและเสาวรสหวานในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ผลการทดสอบเปรียบเทียบพันธุ์พี้ช 3 พันธุ์ที่พื้นที่วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พี้ชพันธุ์ EarliGrande TropicBeauty และ Jade มีปริมาณผลผลิตต่อต้น 0.43, 1.94 และ 2.71 กิโลกรัม ตามลำดับ ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเกรด N คือ 75.00, 62.32 และ 38.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยเกษตรกรพอใจคุณภาพผลผลิตพี้ชพันธุ์ EarliGrande และ Jade ผลการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของวัสดุห่อผลพี้ช 4 กรรมวิธี ในพื้นที่วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย และพื้นที่ดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เกษตรกรยอมรับวิธีการห่อผลพี้ชด้วยถุงกระดาษสีขาวของชุนฟงและถุงกระดาษสีขาวของโครงการหลวงซึ่งผลผลิตเสียหายน้อยที่สุด ผลการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดเสาวรสหวานในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง 3 พื้นที่ เกษตรกรในพื้นที่ปางแดงใน ปางมะโอ และห้วยเป้า อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีการรวมกลุ่มเพื่อวางแผนการผลิตและจัดการผลผลิตโดยในฤดูกาลผลิต พ.ศ. 2555-2556 มีปริมาณผลผลิต 21,080 4,519 และ 8,784.3 กิโลกรัม ตามลำดับ ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตของพื้นที่ปางแดงในและปางมะโอ คือ จินตนาผักเมืองหนาว คิดเป็น 90.97 และ 76.26 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสำหรับพื้นที่ห้วยเป้า คือ BB การเกษตร คิดเป็น 84.21 เปอร์เซ็นต์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2556
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 : การวิจัยเพื่อทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในการผลิตและการตลาดไม้ผลในพื้นที่ขยาย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง ทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในการผลิตไม้ดอกในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินและการจัดการธาตุอาหารพืชในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง ชุดโครงการวิจัยการฟื้นฟูระบบเกษตรยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ โครงการวิจัยการฟื้นฟูระบบเกษตรยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยการฟื้นฟูระบบเกษตรยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนและการจัดการระบบนิเวศในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงขุนตื่นน้อย โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเพื่อพัฒนาความมั่นคงด้านอาหารและระบบนิเวศในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงขุนตื่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก