สืบค้นงานวิจัย
การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินการพึ่งพาตนเองและความพึงพอใจของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
เชิดชาย วงคำ - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินการพึ่งพาตนเองและความพึงพอใจของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เชิดชาย วงคำ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): เชิดชาย วังคำ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การติดตามและประเมินผลการทำประโยชน์ในที่ดิน การพึ่งพาตนเองและ ความพึงพอใจของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ ปีการเพาะปลูก 2553 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการการนิคมเศรษฐกิจ พอเพียงตำบลดอยหล่อ ใน 3 ประเด็นหลัก คือ การทำประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกร การพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจของเกษตรกร โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลจากเกษตรกรที่ เข้าร่วม โครงการในปี 2554 จำนวน 100 ราย ผลการติดตามประเมินสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) การใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรทุกรายมีการ ทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 100 โดยทุกรายใช้ประโยชน์ จากที่ดินแบบเต็มแปลง รวมถึงเนื้อที่ที่ทำประโยชน์ทั้งหมด คือ 686.61 ไร่ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ที่ ร้อยละ 85 ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งสองประเด็น โดยเกษตรกรทำประโยชน์ในที่ดิน คือ ปลูกลำไยเป็น พืชหลัก จำนวน 83 ราย เนื้อที่เพาะปลูกลำไยทั้งสิ้น ประมาณ 500 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 72.87 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตลำไยในฤดูกาลร่วมกับการผลิตแบบนอกฤดูกาล เกษตรกรในพื้นที่โครงการส่วนใหญ่จำหน่ายลำไยเป็น ผลสด (ร้อยละ 91.78) โดยเกือบ 2 ใน 3 ของเกษตรกรจำหน่ายผลผลิตลำไยให้ พ่อค้าคนกลางในหมู่บ้าน ผลผลิตสดโดยเฉลี่ยประมาณ 801.20 กิโลกรัม/ไร่ เมื่ออบแห้งมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 256.25 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนรายได้จาก การจำหน่ายผลลำไยสดโดยเฉลี่ยประมาณ 1 1,528 บาท/ไร่ ใช้ขณะที่รายได้จาก การจำหน่ายผลผลิตแห้งโดยเฉลี่ยประมาณ 22,500 บาท/ไร่ เงินลงทุนในการผลิต โดยเฉลี่ยประมาณ 5,943 บาท/ไร่ การเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่มีน้อย 2) การพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เกณฑ์การประเมิน ดังกล่าวตั้งไว้ว่าเกษตรกรไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 มีการพึ่งพาตนเองตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงในระดับ ดี (270 คะแนน) ผลการประเมินพบว่า เกษตรกร มีการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในระดับดี จำนวน 16 ราย จึงผ่าน เกณฑ์การประเมินดังกล่าว องค์ประกอบแห่งการพึ่งพาตนเองได้แก่ การพึ่งพาตนเอง ด้านการผลิต และการพึ่งพาตนเองด้านการดำรงชีพ ซึ่งมีสรุปได้ดังนี้ 1) การพึ่งพา ตนเองด้านผลิต เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งมีเงินลงทุนผลิตทางการเกษตรด้วยตนเอง (ร้อยละ 54.00) และเกษตรกรทุกรายใช้แรงงานทางารเกษตรในครัวเรือนทำ การผลิตด้วยตนเอง โดยมีกิจกรรมการลดต้นทุนการผลิตด้วยตนเอง ได้แก่ การปรับปรุงบำรุงดิน การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการเตรียมดินปลูก เป็นต้น การใช้สารเคมีและสารอินทรีย์ในการผลิตของเกษตรกร มีแนวโน้มการใช้ในปริมาณ ที่สูง ในขณะเดียวกันการใช้สารอินทรีย์ยังมีระดับปานกลาง 2) การพึ่งพาตนเอง ด้านการดำรงชีพ ได้เน้นการมีอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน พบว่า เกษตรกรเพียง ร้อยละ 17 เท่านั้นที่มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดปี ด้านการมีเนื้อสัตว์และปลาไว้ บริโภคในครัวเรือนมีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 48 และ 47 ตามลำดับ ในขณะที่ กิจกรรมการปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนค่อนข้างสูงคิดเป็นร้อยละ 65 สำหรับการพึ่งพาตนเองด้านรายได้ พบว่า เกษตรกรเพียงร้อยละ 35 เท่านั้นที่มีรายได้ทาง การเกษตรมากกว่า 54,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี โดยเกษตรกรมีรายได้ใน ภาคการเกษตรเฉลี่ยประมาณ 82,440 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ขณะที่รายจ่ายใน ภาคการเกษตร เฉลี่ยประมาณ 41,737 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เกษตรกรจำนวน 41 รายมีเงินออม และเกษตรกร 96 รายมีหนี้สิน หนี้สินของเกษตรกรโดยเฉลี่ย 354,218 บาท โดยแหล่งเงินกู้ที่สำคัญคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) 3) ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานนิคมเศรษฐ์กิจพอเพียง ซึ่งมีเกณฑ์ การประเมินความพึงพอใจไว้ว่า เกษตรกรต้องมีความพึ่งพอใจไม่ต่ำกว่าระดับ ดี (X 2 3.41) ผลการประเมินโครงการโดยรวม พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (X = 4.85) ผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ดังกล่าว โดยภาพรวมของการฝึกอบรมเกษตรกรพึงพอใจในระดับ มาก (X= 3.63) หลักสูตรที่เกษตรกรมี ความต้องการมาก คือ การอบรมหลักสูตรผลิตปุ๋ยอินทรีย์และแปลงสาธิตผลิต ปุยอินทรีย์ ในระดับ มากที่สุดเท่ากัน (X = 4.91) ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า เข้าแปลง ในระดับปานกลาง (X = 3.18) และแหล่งน้ำว่ามีระดับความพึงพอใจ ในระดับ น้อย (X = 2.53) ความพึงพอใจด้านที่ดิน ส.ป.ก. ในระดับมาก (X = 3.92) ความพึงพอใจด้านการดำรงชีพในพื้นที่ ส.ป.ก. พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจ ในการด้านความสุขในครอบครัวในระดับ มาก (X = 3. 76) ข้อเสนอแนะ 1 ข้อเสนอแนะจากการติดตามและประเมินผล 1) ผลการติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกร เศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ พบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ จำน 100 ราย มีการทำประโยชน์ด้วยตนเองทุกแปลง ขณะที่ปัญหาการไม่ทำประโยชน์ ในที่ดินด้วยตนเอง การให้เช่า การทำประโยชน์ไม่เต็มพื้นที่และการขายที่ดินเป็น hfkadfaekdkddbtttteoooceetYtodr ta ปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นสูงในปัจจุบัน ทั้งในพื้นที่ตำบล ดอยหล่อและเกือบทุกพื้นที่ แต่ในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อที่ดำเนินการ ในปี 2554 ยังไม่พบปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากอายุของเกษตรกร ที่ทำประโยชน์อยู่ปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น เฉลี่ยอายุประมาณ 49 ปี ประกอบกับบุตร หลานเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ประสงค์ประกอบอาชีเกษตรกรรม หันไปประกอบอาชีพ อื่นและมีแนวโน้มจะขายที่ดินในอนาคต โดยไม่คิดสืบทอดการทำประโยชน์ในที่ดิน ดังนั้นเพื่อป้องกันหรือเป็นการเตรียมการหามาตรการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส.ป.. ควรหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนสิทธิในที่ดื่น แก้ไขกฎหมา ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการ เพิ่มมูลค่าในที่ดิน น่าจะมีการเปลี่ยนเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 โดยออกเอกสารสิทธิตาม ประมวลกฎหมายที่ดินแล้วให้เกษตรเช่า เช่ซื้อในราคาที่เหมาะสม 2) ผลการศึกษาเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ ส่วนใหญ่มีการปลูกลำไยมากที่สุด ซึ่งเป็นพืชหลักของจังหวัดเชียงใหม่ ถึงแม้ว่าลำไย จะมีปัญหาทั้งด้านผลผลิตและราคากล่าวคือ บางปีผลผลิตออกน้อย บางปีผลผลิต ออกมาก เป็นไปตามอุปสงค์ อุปทานของกลไกตลาด เกษตรกรยังไม่คิดเปลี่ยนไป ปลูกพืชชนิดอื่น ประกอบที่ดิน ส.ป.ก. ส่วนใหญ่ เป็นที่สูง มีปัญหาในเรื่องน้ำ ประกอบ กับปัจจุบันเกษตรกร สามารถหาวิธีการที่จะทำให้ผลผลิตลำไยออกนอกฤดูได้โดย การใช้สารโปตัสเชียมคลอเรต แต่วิธีการดังกล่าวก็จะต้องอาศัยทั้งความรู้ ความชำนาญ เทคนิคต่างๆ มากมาย และที่สำคัญที่สุดก็คือ เงินลงทุนในการดำเนินการ ที่สูง ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ก็มีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว มะม่วงก็เป็นอีก พืชหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากปัจจุบันมีราคาขายผลผลิตที่ดี ตลาดต้องการมาก ประกอบกับมะม่วงต้องการน้ำในปริมาณที่น้อยกว่าลำไย 3) ผลการศึกษาใช้สารเคมีของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลดอยหล่อ พบว่าเกษตรกรมีการใช้สารเคมีเป็นส่วนใหญ่และใช้ในปริมาณ ที่เพิ่มขึ้นและเท่าเดิม การลดปริมาณการใช้สารเคมียังคงมีน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก เกษตรกรมีการผลิตลำไยนอกฤดู เกษตรกรต้องมีการดูแลรักษาลำไยเพื่อให้ได้ผลผลิต ที่สมีคุณกาพและขายได้ราคาดี แต่ขณะเดียวกันเกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากและยังเป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกรเองด้วยจากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องและถูกวิธี ในปัจจุบันความปลอดภัยทางด้านอาหารเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก กรมวิชาการ เกษตรจึงมีการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ GAP ในพืชอาหารหลายชนิด ลำไย ก็เป็นอีกหนึ่ง ดังนั้นจึงควรหาแนวทางให้เกษตรกรลดปริมาณการใช้สารเคมี ใช้ อย่างปลอดภัยถูกวิธี หากเลิกใช้ไม่ได้ซึ่งอาจกระทบกับผลผลิตลำไย ควรจะลด ปริมาณลง และใช้ในระยะที่ปลอดภัย นอกจากนี้ควรส่งเสริม แนะนำให้เกษตรกร มีการลดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น 4) ผลการศึกษาการใช้ปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรทุกรายยังมีการใช้ปุ๋ยในการผลิตแต่มีแนวโน้มการใช้ปุ๋ยเคมียังอยู่ ในเกณฑ์สูง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังอยู่ในระดับป่านกลาง ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุยอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น น้ำหมักชีวภาพเกษตรกรก็เริ่มใช้กันมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งน้ำส้มควันไม้เกษตรกรนำมาใช้เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีลงได้ 5) การพึ่งพาตนเองของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีการพึ่งพาจากภายนอก เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยการผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีโอกาสขาดทุนจากการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ประกอบกับเกษตรกรยังมีหนี้สินในอัตราที่สูง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลดการพึ่งพา จากภายนอก และให้มีการช่วยเหลือตนเองมากขึ้นควรให้เกษตรกรมีการผลิตพืช และเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาบริโภคในครัวเรือนให้มากขึ้น พร้อมกับแนะนำให้เกษตรกร มีกิจกรรมเสริมทั้งด้านการเกษตรและนอกภาคการเกษตรให้มากขึ้น ผลการติดตามและประเมินผลความพึงพอใจในด้านต่างๆ ส่วนใหญ่ เกษตรกรมีความพึงพอใจมาก ในขณะที่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้าและ แหล่งน้ำเกษตรกรมีความพึงพอใจน้อยอาจเนื่องมาจากพื้นที่ ส.ป.ก. ส่วนใหญ่มีปัญหา ด้านแหล่งน้ำและถนนเข้าแปลง โดยภาพรวมแล้วเกษตรกรมีความพึงพอใจมากใน การดำเนินงานนิคมเศรษฐกิจพอเพียง 2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) ในการดำเนินงานนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน การปรับ เปลี่ยนวิธีการผลิต การพึ่งพาตนเอง ควรวางเกณฑ์ในระดับที่พอดีไม่ตั้งไว้สูงเกินไป และควรมีการวางแผน ปรับปรุงหรือดำเนินงานที่เป็ไปตามความต้องการของ เกษตรกรในพื้นที่เป็นหลัก 2) การพัฒนาและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ ควรจะมีการบริหาร จัดการในด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เกษตรกรก่อน การดำเนินงานด้านอื่นๆ จะพัฒนา ไปอย่างรวดเร็วและเกษตรกรจะเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน และรวมกลุ่ม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_dl_link.php?nid=391
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: เชียงใหม่
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2553
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินการพึ่งพาตนเองและความพึงพอใจของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553 ความพึงพอใจของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานระดับอำเภอในพื้นที่เขตปศุสัตว์ที่ 8 ปี 2548 การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ปีการเพาะปลูก 2552 การติดตาม ประเมินผล และการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยด้านยางพารา การบริหารจัดการแรงงานภาคการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตของเกษตรกร การใช้ประโยชน์จากบ่อก๊าซชีวภาพของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย การใช้ประโยชน์จากโรงเลี้ยงไหมวัยอ่อนของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2535-2542 ความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้รับจากการรับฟังรายการความรู้ด้านการเกษตรของเกษตรกรในรายการคุยเฟื่องเรื่องเกษตร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก