สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพในพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน
สุกัญญา อธิปอนันต์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพในพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุกัญญา อธิปอนันต์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยศักยภาพในพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของสมาชิกและวิสาหกิจชุมชน และศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนในการพึ่งตนเอง ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ภาคละ 1 จังหวัด ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ 6 จุด ได้แก่ สมุทรสงคราม อ่างทอง ชลบุรี พิจิตร นครราชสีมา และชุมพร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการทำ Focus group วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพพื้นฐานทั่วไปของสมาชิก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 46.22 ปี มีสถานภาพสมรสแต่งงาน จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพปลูกพืชเป็นอาชีพหลัก และประกอบอาชีพรอง 1 อาชีพ ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร ไม่มีอาชีพที่ประสบความล้มเหลว มีความสามารถพิเศษ 1 เรื่อง มีสมาชิกในครัวเรือน 4.63 คน มีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 143,745.83 บาท/ปี มีการใช้สินเชื่อของครัวเรือนเฉลี่ย 70,083.33 บาท มีพื้นที่ถือครองของครัวเรือนเฉลี่ย 18.43 ไร่ มีการเปิดรับข่าวสารในการประกอบอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน โดยส่วนใหญ่มีการชมรายการโทรทัศน์ ฟังรายการวิทยุ สนทนากับเพื่อนบ้าน/ผู้นำ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกิจการในระดับมาก ได้แก่ การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย 3.74) มีส่วนร่วมตัดสินใจ (ค่าเฉลี่ย 3.57) มีส่วนร่วมติดตามประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 3.53) มีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย 3.51) มีส่วนร่วมคิด/วางแผน (ค่าเฉลี่ย 3.44) สำหรับสภาพพื้นฐานทั่วไปของวิสาหกิจชุมชน มีระยะเวลารวมกลุ่ม เฉลี่ย 12.17 ปี มีจำนวนสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 161.02 คน มีจำนวนกรรมการเฉลี่ย 7.17 คน มีวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนที่มีอิสระพึ่งพาตนเองได้ มีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมแปรรูป/พัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลผลิตของชุมชน อยู่ในระดับก้าวหน้า มีลักษณะการบริหารกิจการไม่เป็นนิติบุคคล มีเป้าหมายในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย โดยมีแหล่งจำหน่ายภายนอกชุมชน ในลักษณะขายส่ง แหล่งเงินทุนได้จากการระดมทุนจากสมาชิก และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ มีแหล่งวัตถุดิบภายในชุมชน มีความสนใจในการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสนับสนุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และต้องการให้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการผลิต การจัดการ และการตลาดได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีการประสานงานกับภายนอกในระดับมาก ได้แก่ หน่วยงานรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน มีศักยภาพด้านผู้นำในระดับมากที่สุดเกือบทุกประเด็น มีศักยภาพด้านการดำเนินกิจการในระดับมากที่สุด ได้แก่ การจัดทำแผนเพื่อพัฒนากิจการ (ค่าเฉลี่ย 4.27) รองลงมา ในระดับมาก ได้แก่ การเรียนรู้ของสมาชิก (ค่าเฉลี่ย 4.17) และการมีส่วนร่วมของสมาชิก (ค่าเฉลี่ย 4.13) และการบริหารจัดการกิจการ (ค่าเฉลี่ย 3.73) และมีศักยภาพด้านการพึ่งพาตนเองในระดับมาก ได้แก่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม (ค่าเฉลี่ย 4.20) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ (ค่าเฉลี่ย 3.97) ด้านเทคโนโลยี (ค่าเฉลี่ย 3.77) และในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (ค่าเฉลี่ย 3.30)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพในพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2550
กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสม ม.12 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง การจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์มะไฟจีนบ้านท่าดอนไชยอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดสุรินทร์ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ กลยุทธการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อการพึ่งตนเอง ปี 2550 วิสาหกิจชุมชนบ้านโนนศิลา ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมผลิตข้าวพันธุ์ดีบ้านห้วยหมาก ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านร่องกาศใต้ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ การวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณี : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านช่องน้ำไหล หมู่ 4 ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก