สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อสุขภาพ
สายสุนีย์ รังสิปิยกุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อสุขภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of Sesame Varieties Enriched with Nutrition
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สายสุนีย์ รังสิปิยกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สายสุนีย์ รังสิปิยกุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการปรับปรุงพันธุ์งา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้พันธุ์งาที่มีขนาดเมล็ดโต และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย คือ 1. การปรับปรุงพันธุ์งาเมล็ดโต ผลผลิตสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง 2.การศึกษาข้อมูลจำเพาะ ผลการทดลองในกิจกรรมการปรับปรุงพันธุ์งา 1.1) การประเมินผลผลิตงาขาว งาดำ และงาแดงในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน พบว่า งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 งาดำพันธุ์อุบลราชธานี 3 และงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 ให้ผลผลิตมากกว่าหรือเท่ากับพันธุ์เปรียบเทียบ เมื่อปลูกในแต่ละสภาพแวดล้อม 1.2) การปรับปรุงพันธุ์งาเมล็ดโตเพื่อทนแล้ง ได้สายพันธุ์งาที่ให้ผลผลิตสูงและทนแล้งจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ S-D-50-12-1 S-D-50-13-1 S-D-50-14-1 และ S-D-50-6-2 1.3) การปรับปรุงพันธุ์งาให้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงโดยการผสมข้ามพันธุ์ ได้สายพันธุ์งาที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงและผลผลิตสูง จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ WL-9xNS4-2 WL-9xNS4-1 และ UB3xSM190-4 1.4) การประเมินพันธุ์งาที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน พบว่า พันธุ์งาที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 งาขาวสายพันธุ์ NS4 และ งาดำขาวสายพันธุ์ MKS-I-84001 และสภาพแวดล้อมการปลูกที่ จ.ลพบุรี ทำให้มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด 1.5) การประเมินผลผลิตพันธุ์งาแดงเมล็ดโตผลผลิตสูง พบว่า งาแดงสายพันธุ์ A30-15 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบร้อยละ 20-26% ผลการทดลองในกิจกรรมการศึกษาข้อมูลจำเพาะของพันธุ์ 2.1) ผลของธาตุอาหาร จุลภูมิศาสตร์ และผลของการขาดน้ำที่มีต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในงา พบว่า การใส่ปุ๋ยในแบบต่างๆ ไม่มีผลต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ จุลภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ ส่วนผลของการขาดน้ำ พบว่า การขาดน้ำในช่วงแรกๆ จะส่งผลให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระลดลง ในขณะที่การขาดน้ำเมื่องาอายุมากขึ้นที่ 63-70 วัน จะไม่มีผลกระทบต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ 2.2) ผลของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่มีผลต่องาแดงเมล็ดโตสายพันธุ์ A30-15 พบว่า งาตอบสนองต่อปุ๋ยที่อัตรา 4-4-4 ของ N-P2O5-K2O 2.3) การศึกษาปฏิกิริยาของงาสายพันธุ์ A30-15 ต่อโรคเน่าดำและโรคไหม้ดำ พบว่า งาสายพันธุ์นี้ไม่ต้านทานต่อโรคทั้ง 2 ชนิด เช่นเดียวกับพันธุ์รับรอง 5 พันธุ์ ที่ใช้เป็นพันธุ์ตรวจสอบ 2.4) ศึกษาความต้านทานต่อแมลงศัตรูงาที่สำคัญของงาแดงสายพันธุ์ A30-15 พบว่า งาสายพันธุ์นี้ไม่ต้านทานต่อแมลงที่สำคัญของงา ได้แก่ หนอนห่อใบงา หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก และมวนฝิ่นชนิดสีเขียว และสีน้ำตาล
บทคัดย่อ (EN): The objective of sesame breeding project was to improve the sesame varieties, for high antioxidant and large seed size. The project had two sub-project. Sub-project 1 : Sesame varietal improvement for high yield, large seed size and high antioxidant. Sub-project 2 : Specific data study. Sub-project 1 consistent with 5 experiments : 1.1) Yield evaluation on white, black and red seed sesame when grown in various environments. It was found that Ubon Ratchathani 1, Ubon Ratchathani 2, Ubon Ratchathani 3, the red, white and black seed recommended varieties gave higher yield than the check varieties. 1.2) Sesame varieties improvement for drought resistance with large seed size. Four lines of drought resistance accomplish with high yield and large seed size were achived. The names of these four lines were : S-D-50-12-1, S-D-50-13-1, S-D-50-14-1 and S-D-50-6-2. 1.3) Sesame varieties improvement for high antioxidant by hybridization. Three lines of high antioxidant with high yield were reached. The name of three varieties were : WL9xNS4-2 WL9xNS4-1 and UB3xSM190-4. 1.4) Evaluation on high antioxidant sesame varieties when grown in various environments. The experiment showed that recommended variety, Ubon Ratchathani2, promising line NS4 and MKS-I-84001 gave high antioxidant content, especially when grown in Lopburi province. 1.5) Yield evaluation on high yield and big seed sesame : A30-15. It was found that the yield of A30-15 was about 20-26% higher than the check varieties. Sub-project 2 consisted with 4 experiments : 2.1) Effect of fertilizer, microclimate and water deficiency on antioxidant content. It was found that fertilizer showed non-effect when applied with any rates of fertilizer. Nevertheless, micro-climate such as temperature, relative humidity showed significantly effect on antioxidant content. In the other hand, water deficiency also showed significantly effect on antioxidant content, especially when sesame as long as 35 days after planting, low antioxidant content were occurred. When the plants reached 63-70 days after planting, they showed non-effect on antioxidant content. 2.2) Effect of nitrogen, phosphorus and potassium on red seed sesame line A30-15. The experiment showed that line A30-15 response to fertilizer when applied with the rate of 4-4-4 of N-P2O5-K2O. 2.3) Study on reaction of sesame line A30-15 to charcoal rot and bacterial wilt. It was found that line A30-15 showed non-resistance performance to both diseases as same as the five recommended varieties which used as check varieties. 2.4) Study on major insect resistance of line A30-15, the data showed that this line was non-resistance to major insects pest such as sesame leaf folder, hawk moth, and opium bug.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อสุขภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ งา ธัญพืชเพื่อสุขภาพ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ การวิจัยเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อในหมู่บ้าน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออกและตะวันตก โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์หน้าวัว การพัฒนาพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์อะโวคาโดเพื่อบริโภคผลสด โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ทานตะวัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก