สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งข้าว
ชนสิริน กลิ่นมณี - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Use of plant extracts for controlling rice blast and bacterial leaf blight disease
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชนสิริน กลิ่นมณี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chanasirin Klinmanee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เสาวนีย์ ศรีบัว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Souwanee Sribua
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดจากพืชเพื่อทดแทนสารเคมีโดยคัดเลือกพืช 2 ชนิดคือ สาบเสือและขมิ้นชัน ซึ่งมีรายงานจากการทดลองในสภาพห้องปฏิบัติการว่า สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อราโรค ไหม้และเซลล์ของแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้งข้าวได้ 100 เปอร์เซ็นต์ วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 ซ้ำ มี 4 กรรมวิธี คือ 1.สารสกัดจากสาบเสือ 2.สารสกัดจากขมิ้นชัน 3.สารเคมีเบโนมิลควบคุมโรค ไหม้และคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ควบคุมโรคขอบใบแห้ง 4.น้ำ ฉีดพ่นบนใบข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี เฉี้ยง พัทลุง สำหรับทดสอบโรคไหม้ และพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 สำหรับทดสอบโรคขอบใบแห้ง ในระยะกล้าและ ระยะแตกกอ โดยแต่ละระยะใช้ อัตรา 60 ลิตรต่อไร่ สภาพแปลงนาทดลองแบบหว่านข้าวแห้งและหว่าน น้ำตม อ.เมือง จ.พัทลุง ฤดูนาปี2547/48 2548/49 และฤดูนาปรัง 2549 ผลการทดลองพบว่า สารสกัด จากสาบเสือสามารถควบคุมการลุกลามของเชื้อราโรคไหม้ระยะกล้าและระยะแตกกอได้ระดับหนึ่ง แต่ สารสกัดจากสาบเสือและสารสกัดจากขมิ้นชันไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรค ขอบใบแห้งข้าวได้
บทคัดย่อ (EN): Effectiveness of crude extracts from Eupatorium spp. and Curcuma spp. as an alternative method to chemical control were studied. These kinds of plant extracts were tested in the laboratory for their potential to inhibit the mycelial of rice blast disease fungus and cells of bacterial leaf blight which showed 100 percent inhibition. The field experiment was conducted in Phatthalung Rice Research Center in Amphur Muang, Phatthalung during wet season 2004-2006. The experiment was designed as RCB (randomized complete block design) with 5 replications and 4 treatments. The treatments were 1) foliar-sprayed with crude extract from Eupatorium spp. 2) foliar-sprayed with crude extract from Curcuma spp. 3) foliar-sprayed with fungicide benomyl and copper hydroxide for bacterial leaf blight and 4) foliar-sprayed with water as a check. Leb Nok Pattani, Chiang PTL and Chainat 1 rice varieties were sprayed at seedling and tillering stages at 60 l/rai (375 l/ha). The results of experiments indicated that crude extract from Eupatorium spp. could control rice blast disease and crude extracts from Eupatorium spp. and Curcuma spp. could not control rice bacterial leaf blight disease.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155806
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 9 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งข้าว
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้ของข้าว วิจัยและพัฒนาการผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร I. ศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสนิวคลีโอโพลีฮีโดร (NPV) ของไหม โดยใช้ double-strand RNA interference การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในข้าวด้วยวิธีการปลูกพืชที่แตกต่างกัน ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ที่จังหวัดสกลนคร การศึกษาตำแหน่งของยีนควบคุมต้านทานโรคขอบใบแห้งในข้าว ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวจากธนาคารเชื้อพันธุ์พืชต่อโรคขอบใบแห้ง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก