สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
สุภาพร ชุมพงษ์, สุภาพร ชุมพงษ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Developmenton CroppingPatternsundertheSelfSufficiencyEconomyintheUpper Southern Region
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในสังคม และการดำรงชีพ จะส่งผลให้การพัฒนาประเทศก้าวหน้าไปอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย จากผลการทำงานในโครงการนี้ ได้เกษตรกรต้นแบบที่ประกอบอาชีพและดำรงชีพแบบพอเพียง มีภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพและการผลิตพืชที่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเป็นตัวอย่างต่อเกษตรกรอื่นๆต่อไป จากการศึกษาสภาพการดำรงชีพของเกษตรกรในเขตนิเวศน์พื้นที่ลุ่มซึ่งปลูกข้าวเป็นหลักใน จ.นครศรีธรรมราช และเขตนิเวศน์พื้นที่ดอนในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ชุมพร และ จ.กระบี่ในปี 2550-2552 พบว่า ปกติเกษตรกรมีการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้วในระดับปานกลางและเมื่อได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาการผลิตพืชหลักโดยเทคโนโลยีที่เหมาะสม(GAP) แล้ว เกษตรกรมีการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้นในทุกด้านทั้งความพอเพียง การสร้างภูมิคุ้มกันและความมีเหตุผลความเข้าใจในกระบวนการดำรงชีพ และโดยรวมเกษตรกรมีความสุขมวลรวมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตลดลง และผลผลิตมีแนวโน้มได้ผลดีกว่าเดิมทั้งในข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนจะมีความมั่นคงทางการผลิตพืชอาหารค่อนข้างสูง ยกเว้นความมั่นคงของข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักในนิเวศน์พื้นที่ดอน จ.ชุมพร และ จ.กระบี่ การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในการผลิตผักอินทรีย์และการพัฒนาการผลิตผักอินทรีย์ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช พบว่าการใช้สารสกัดจากสะเดา เป็นสารอินทรีย์ที่ใช้ในการป้องกันแมลงศัตรูมีประสิทธิภาพดี และให้ผลผลิตผักกวางตุ้งและแตงกวามากกว่าการใช้น้ำหมักสมุนไพร และสารสกัดจากต้นแสยก นอกจากนี้การผลิตพืชผักอินทรีย์แบบระบบการปลูกผัก 2 ชนิดในพื้นที่เดียวกัน พร้อมกัน และการปลูก มะเขือเปราะ และมันเทศ เป็นพืชเดี่ยว โดยใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นปุ๋ยเสริมและสารสกัดสะเดาป้องกันกำจัดแมลง พบว่าให้ผลผลิตตามชนิดพืชและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจรวมต่อพื้นที่ปลูกมากกว่าการปลูกแบบเกษตรกรที่ปลูกชนิดเดียว ใช้น้ำหมักสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง และไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ ระบบปลูกแตงกวาร่วมกับถั่วฝักยาวจะให้รายได้สุทธิมากกว่าระบบปลูกแตงกวากับข้าวโพดฝักอ่อน แม้ว่าการผลิตพืชผักโดยการใช้สารอินทรีย์จะให้ผลผลิตน้อยกว่าผักที่ใช้สารเคมี แต่พืชผักอินทรีย์ให้ผลผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์มากกว่า เนื่องจากราคาของผักอินทรีย์จะสูงกว่าและต้นทุนการผลิตน้อยกว่าผักที่ใช้สารเคมี นอกจากนี้ไม่เกิดโทษกับผู้ผลิตและผู้บริโภคและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2552
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่นาข้าวโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัย และพัฒนาระบบการปลูกสตรอเบอรี่เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตบนพื้นที่สูงของจังหวัดเพชรบูรณ์ สาธิตการจัดการฟาร์มระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 1 ไร่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจันทร์เทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก