สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรอย่างนักวิจัย กรณี แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
สุกัญญา อธิปนันต์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรอย่างนักวิจัย กรณี แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุกัญญา อธิปนันต์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ศึกษารูปแบบการใช้กระบวนการวิจัยในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และศึกษาปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคในการขับเคลื่อนงานวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย 6 แห่ง ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก บุรีรัมย์ ตรัง และลำพูน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจัดเวทีชุมชน การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการใช้เทคนิค Mind Map วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจัดหมวดหมู่และการเปรียบเทียบ ผลการวิจัยสรุปได้ว่าแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 2) การจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทวิสาหกิจชุมชน 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมและผลิตภัณฑ์ใหม่ 4) การพัฒนาตลาดของวิสาหกิจชุมชน 5) การสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 6) การสืบทอดงานวิสาหกิจชุมชน ส่วนรูปแบบการใช้กระบวนการวิจัยในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคในการขับเคลื่อนงานวิสาหกิจชุมชน มีดังนี้ ปัจจัยสนับสนุนภายใน คือ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ สมาชิกมีความสามัคคี มีทุนในชุมชน ส่วนปัจจัยภายนอก คือ มีเครือข่ายภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนการดำเนินงาน รวมทั้งการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาคีในการสนับสนุนแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ปัจจัยอุปสรรคภายในวิสาหกิจชุมชน คือ วิสาหกิจชุมชนบางแห่งยังขาดประสบการณ์ในการทำวิจัย ส่วนปัจจัยภายนอก คือ วิสาหกิจชุมชนไม่สามารถกำหนดราคาเองได้และระยะเวลาดำเนินงานวิจัยเร่งรัดเกินไป การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเจ้าหน้าที่ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน/ชุมชน และกรมส่งเสริมการเกษตร มีดังนี้ เจ้าหน้าที่และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนได้พัฒนาทักษะ มีทัศนคติที่ดีต่องานวิจัย มีความภาคภูมิใจในวิสาหกิจชุมชนของตนเอง ได้เครือข่าย ในส่วนของวิสาหกิจชุมชน/ชุมชนได้แนวทางการพัฒนาสู่การพึ่งตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น และกรมส่งเสริมการเกษตรได้ขยายผลแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมไปยังวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกกรมส่งเสริมการเกษตร และได้เครือข่ายเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): This study was cooperation project between Sukhothai Thammathirat Open University and Department of Agricultural Extension (DOAE). The objectives of this study were to study approach of Community Enterprise (CE) development, to study model of routine to research for CE development, and to study supporting and obstacle factors for CE movement. Participatory Action Research (PAR) was employed. The target areas were six CE in six provinces including, Phra Nakhon Si Ayutthaya, Suphan Buri, Nakhon Naiyok, Buri Ram, Trang and Lum Phum. They were related to food and handicraft production. Data were collected by local forum, focus group, non-participant observation, in-depth interview, and mind map. Data analysis by quantitative method composed of grouping and comparison. Conclusions approaches of community enterprise development composed of : 1) effectively group management; 2) knowledge management that appropriated with their context; 3) improvement both old and new product; 4) market development; 5) inheritance and adding new technology to local wisdom; and 6) long-term their CE working. Next, the model of routine to research for CE extension included three steps: first, preparing; second, action; and third, after action. In terms of supporting and obstacle factors for CE including: 1) supporting factors inside CE composed vision of leader, collective member, capitals in community. Moreover, supporting factors outside CE composed of networks from Government sectors and local organization that integration to support CE planning. On the contrary, the obstacle inside CE was some CE lack of experience in PAR. The obstacles outside the CE were not determining price of their products by themselves and lack of time to study by PAR. Changes from PAR to officials, CE members, CE and DOAE were as follows: first; officials and CE members received skill improvement, good attitude to PAR, and proud of their CE. Next, CE gained development approach for self-reliance and increased participation in CE process. Lastly, DOAE expanded this approach, PAR, to other CE, integration working not only inside DOAE but also outside DOAE as well as add networks.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: http://www.research.doae.go.th/webphp/projectres/filepdf/center52.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรอย่างนักวิจัย กรณี แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2552
เอกสารแนบ 1
ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการประสานงานวิจัย และส่งเสริมการเกษตร แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำชมพู่เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดสุรินทร์ การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กรณีปุ๋ยชีวภาพ การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้จังหวัดสุรินทร์ การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบางเลน การวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณี : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก