สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Development on Cropping Patterns under theSufficiency Economy in theLower Northeast Region
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ได้รูปแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย พื้นที่ปลูกพืชไร่เป็นพืชหลัก และพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นพืชหลัก ดำเนินการในปี 2551-2552 ผลการดำเนินงาน มีดังนี้ 1) พื้นที่ปลูกพืชไร่เป็นพืชหลัก อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้รูปแบบระบบการปลูกพืช คือ การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าว ได้ผลผลิตเฉลี่ยข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากเดิม 247 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 350 กก./ไร่ และการปลูกพืชหมุนเวียนในไร่มันสำปะหลังคือ ปอเทือง ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง ได้ผลผลิตเฉลี่ยมันสำปะหลังจากเดิม 2.60 ตัน/ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 3.75 ตัน/ไร่ 2) พื้นที่ปลูกพืชไร่เป็นพืชหลัก ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ได้รูปแบบระบบการปลูกพืช คือ การปลูกพืชหลายชนิด แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่ ได้แก่ มันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน สามารถสร้างสมดุลในระบบเกษตรได้โดย 1. ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ 2. ลดพื้นที่ปลูกพืชบางชนิดลง โดยปลูกแบบประณีต 3. การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ 4. จัดแบ่งช่วงเวลาในการปลูกพืชให้เหมาะสม ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เกษตรกรยังมีเวลาทำอาชีพเสริมโดยรวมกลุ่มเกษตรกรแปรรูปผลผลิต 3) พื้นที่ปลูกยางพาราเป็นพืชหลัก บ้านหนองเซือมเทิง ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้รูปแบบการปลูกพืชในระบบการปลูกพืชหลัก 2 ชนิด คือ ยางพารา และข้าว สร้างการเกื้อกูลของระบบในพื้นที่มีแหล่งน้ำในฤดูแล้ง โดยปลูกถั่วลิสงหลังนาในช่วงเวลาที่เกษตรกรพักหน้ายาง และปลูกถั่วบำรุงดินในสวนยางพารา ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า และถั่วขอ แล้วนำเมล็ดถั่วที่ได้ไปปลูกในนาข้าวเพื่อบำรุงดิน 4) พื้นที่ปลูกยางพาราเป็นพืชหลักพื้นที่อำเภอโพธิ์ชัย โพนทอง และหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รูปแบบระบบการปลูกพืช คือ 1) การปลูกพืชแซมพืชหลักก่อนให้ผลผลิต 2) การปลูกพืชหมุนเวียนแทนการปลูกพืชชนิดเดียวในพื้นที่เดิม 3) การปรับปรุงบำรุงดิน 4) การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน 5) การศึกษาต้นทุน ผลตอบแทน และการทำบัญชีรายรับ-จ่ายของครัวเรือน
บทคัดย่อ (EN): Technology test and development was conducted in 2008-2009 in order to find out crop production system model which appropriated to the lower northeast. The experiment was consisted of 2 major cropping areas, i.e. field crops cropping area and rubber cropping area. The results suggested that field crops cropping area in Pimai district, Nakhon Ratchasima province, the utilization of compost, manure, bio-extract and chemical fertilizer could increase rice yield from 247 kg/rai to 350 kg/rai. Planting sunnhemp as green manure could reduce chemical fertilizer rate and enhanced cassava yield from 2.60 ton/rai to 3.75 ton/rai. In Napho sub-district, Goodrung district, Maha Sarakham province, it was found that multi-cropping in cassava or sugarcane cropping area would balance the agricultural systems by; (1) selecting suitable crops, (2) intensive cropping, (3) utilization of bio-extract, organic and chemical fertilizer, and (4) timing the cropping sequent. In rubber cropping area, at Ban Nong Suam Terng, Sang Thaw sub-district, Kuang Nai district, Ubon Ratchathani province, it was concluded that farmers planting rubber and rice should grow peanut after rice, and grow cowpea, sword bean or mucuna bean as green manure in rubber area. In rubber cropping areas of Phochai, Ponthong and Nongpork districts, Roi-et province, an appropriate cropping system model was comprised of intercropping, rotation cropping, soil improvement, fertilizer utilization based on soil analysis, and household incomes-expenses balance sheet.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2552
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ระบบการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ดัชนีทนแล้งคัดพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การใช้ประโยชน์ของดินชุดยโสธรเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก