สืบค้นงานวิจัย
รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น
ขจรศักดิ์ จิตภิลัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ขจรศักดิ์ จิตภิลัย
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ศึกษารูปแบบและผลตอบแทนการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกร และศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่เกษตรกรที่ทำไร่นาสวนผสมประสบผลสำเร็จ ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOWS เพื่อหาค่าสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์อัตราส่วนรายได้ต่อรายจ่าย (B/C ratio) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 54.4 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 26.1 ไร่ ลักษณะพื้นที่ทำการเกษตรร้อยละ 42.7 เป็นที่ราบ ชนิดดินเป็นดินทราย ร้อยละ 74.1 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เส้นทางคมนาคมจากบ้านพักถึงไร่นาร้อยละ 91.6 สะดวกตลอดปียานพาหนะที่ใช้ขนส่งผลผลิตร้อยละ 36.5 ใช้รถยนต์ ร้อยละ 63.5 มีที่พักอาศัยอยู่กับพื้นที่ทำการเกษตรร้อยละ 54.5 มีไฟฟ้าใช้ในไร่นา ร้อยละ 74.2 มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรตลอดปี ร้อยละ 43.8 ไม่มีการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้เงินทุนของตนเอง ปริมาณเงินทุนที่ใช้เฉลี่ย 75,283.14 บาท/ครัวเรือน มีสินเชื่อเฉลี่ย 41,156.25 บาท เกษตรกรมีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีประสบการณ์ด้านการจัดทำไร่นาสวนผสมมาแล้วเฉลี่ย 7.49 ปี ได้รับการฝึกอบรมทางการเกษตรเฉลี่ย 4 ครั้ง เคยไปทัศนศึกษาดูงานมาแล้วเฉลี่ย 3 ครั้ง ไม่ประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้รับความรู้จากเจ้าหนาที่ส่งเสริมการเกษตร วัตถุประสงค์การทำไร่นาสวนผสมเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ และเคยได้รับการเยี่ยมเยียนให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำไร่นาสวนผสมเฉลี่ย 7 ครั้ง สภาพกำไรผลิตทางการเกษตรประกอบด้วยกิจกรรมพืชไร่ร้อยละ 96.0 ปลูกข้าว ไม้ผลไม้ยืนต้นร้อยละ 83.7 ปลูกมะม่วง พืชผักร้อยละ 21.3 ปลูกถั่วฝักยาวและพริก พืชฤดูแล้งร้อยละ 9.5 ปลูกข้าวโพดหวาน ชนิดสัตว์ที่เลี้ยงร้อยละ 93.3 เลี้ยงปลา รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรร้อยละ 42 ประกอบกิจกรรม ข้าว+ไม้ผลไม้ยืนต้น+พืชผัก+เป็ด ไก่+ปลา และรูปแบบการผลิตที่ 2 ให้ผลตอบแทนในการลงทุนสูงสุด คือ มีผลตอบแทนเฉลี่ย 4.27 ปัญหาอุปสรรคในการทำไร่นาสวนผสมได้แก่ขาดแคลนเงินทุน และขาดความรู้ทางการเกษตรแผนใหม่ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา สนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มการผลิต ระทมทุนเพื่อสร้างความเข้มแข็งสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จัดหาแหล่งเงินทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ จัดให้มีการถ่ายทอดความรู้การเกษตรแผนใหม่ตลอดจนการศึกษาดูงานเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรติดตามเยี่ยมเยียนให้คำแนะนำอย่าต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการทำไร่นาสวนผสมในเขตชลประทาน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ รูปแบบการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกร จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2546 สภาพการทำไร่นาสวนผสมของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ โครงการส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสม ภาคกลาง ปีงบประมาณ 2539 สภาพการทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสานของเกษตรกร จังหวัดหนองบัวลำภู การทดสอบเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วท่าพระสไตโลในพื้นที่ของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาต้าโดยเกษตรกรในเขตจังหวัดขอนแก่น ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก