สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย
เกศแก้ว เทศอาเส็น - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Reproductive biology of mantis shrimp Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) along the Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกศแก้ว เทศอาเส็น
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทาง ฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ได้ด้าเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยเก็บตัวอย่าง จากเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ได้แก่ อวนลอยกั้ง ลอบกั้ง แร้วกั้ง และจากการขุดกั้ง ที่น้าสัตว์น้ามาขึ้นท่าที่ท่า เทียบเรือประมงที่จังหวัดสตูล ซึ่งมีแหล่งท้าการประมงบริเวณคลองบ้านบากันเคย คลองบ้านปูยู เกาะการ๊าฟ เกาะโกย เกาะขมิ้น เกาะบรัสมานา เกาะยาว เกาะสาม จังหวัดสตูล และน่านน้าประชิดไทย-มาเลเซีย พบว่ากั้ง ตั๊กแตนชนิด H. raphidea มีความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 13.10-32.50 เซนติเมตร น้าหนักตัวอยู่ในช่วง 30.00- 372.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดตัวกับน้าหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W = 0.0156TL2.8808 เพศผู้มี ความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 13.10-31.80 เซนติเมตร น้าหนักตัวอยู่ในช่วง 30.00-342.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่าง ความยาวตลอดตัวกับน้าหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0143TL2..9081 เพศเมียมีความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 15.40- 32.50 เซนติเมตร น้าหนักตัวอยู่ในช่วง 36.00-372.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดตัวกับน้าหนักตัว อยู่ใน รูปสมการ W=0.0168TL2..8576 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1 ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของกั้งตั๊กแตนเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 26.04 เซนติเมตร มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่ มาก 2 ช่วง คือ เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และกรกฎาคม-พฤศจิกายน ซึ่งวางไข่สูงสุดในเดือนมีนาคมและสิงหาคม
บทคัดย่อ (EN): Reproductive biology of Mantis shrimp Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) along the Andamansea coast of Thailand was studied by collecting data from the , including mantis shrimp gill nets, Mantis shrimp trap, Mantis shrimp lift nets and burrowing mantis shrimp in the area of satun provine . The fishing ground were Khlong Bakan kaeie, Khlong Puyu, Ko Kurap, Ko Koi, Ko Kamin, Ko Brasmana, Yao Island, Ko Tika and Thai- Malaysian boundary waters from January to December 2012. Length-weight relationship of male and female was W = 0.014L2.911 และ W = 0.016L2.856 , respectively. Average total length and body weight of male were 24.08?3.42 cm and 158.60?64.06 gm, while those of female were 23.96?3.83 cm and 157.43?72.06 gm, respectively. Annual sex ratio between male and female was 1:1.01.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2556
กรมประมง
ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย กั้งตั๊กแตนจากการประมงพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea, Fabricius 1798 ในจังหวัดพังงา ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนจากเรือสำรวจประมงทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ค่าพารามิเตอร์การเติบโตของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) บริเวณจังหวัดสตูล การอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุด Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การเลี้ยงกั้งตั๊กแตน (Harpiosquilla raphidea Fabricus, 1798) ด้วยอาหารชนิดต่างๆ การประมงกั้งกระดาน (Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนบนของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก