สืบค้นงานวิจัย
การจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
กันต์ อินทุวงศ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่อง: การจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่อง (EN): Anacardium Occidentale Supply Chain Business Management to Community Enterprise Network Group for Economy-Sufficiency Strategic Planning Development Ampher Thapla Uttradit Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กันต์ อินทุวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ไพโรจน์ นะเที่ยง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานของธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ และการรับรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีผลต่อคุณภาพของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานของธุรกิจเม็ดมะม่วงหินพานต์ จังหวัดอุตรดิตถ์ต่อไป โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลทางด้านการจัดการสินค้าคงคลัง, การจัดการจัดซื้อ/จัดหา, การจัดการขนส่ง, การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก, การจัดการคลังสินค้า, การจัดการเคลื่อนย้ายสินค้า, การจัดการบรรจุภัณฑ์/หีบห่อ และการจัดการสารสนเทศ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแบบพรรณนา โดยใช้สถิติเป็นค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมของการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเครือข่าย มีค่าปฏิบัติงานโดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (X = 4.49, S.D. = 0.15) และการจัดการในแต่ละด้านทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการจัดการทางด้านคลังสินค้าและการจัดการด้านสารสนเทศ ขณะที่การจัดการทางด้านจัดซื้อ/จัดหามีระดับการปฏิบัติงานน้อยที่สุด แต่ค่าเฉลี่ยยังอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ในการจัดการโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธุรกิจต้นน้ำที่เกษตรกรและกลุ่มอาชีพเกษตรเป็นผู้ผลิตและป้อนวัตถุดิบให้กับโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์กลางน้ำและปลายน้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ต่อไปในส่วนของปัญหาและอุปสรรคที่เกษตรกรและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน พบว่ายังมีปัญหาทางด้านการขาดแคลนแรงงานถึงร้อยละ 62.5 และ ปัญหาการขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต ร้อยละ 55 ปัญหาในเรื่องการขาดความรู้ในการผลิต ร้อยละ 49.5 และปัญหาสุดท้ายคือ ขาดแคลนเงินทุนในการผลิต ร้อยละ 33 ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ในประเทศ
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to explore the management of cashew nut seed business supply chain of the community enterprise networks for the development of community economy strategies plan, Thapla district, Uttaradit province. It also involved problems encountered, relationships between various factor and perception of the community enterprise group effecting the quality of cashew nut seeds. This could be a guideline for the development of cashew nut seed business supply chain. The sample group in this study consisted of 200 farmers obtained by simple random sampling. A set of questionnaires was used for data collection on inventory management, raw material purchasing management, warehouse management, goods transfer management, packaging management, and information management. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics. Frequency, percentage, and standard deviation were used for the statistical treatment. As a whole, it was found that there was a high level of the management of cashew nut seed business supply chain ( = 4.49, S.D. = 0.15). There was a highest level of the management of each aspect; particularly on the management of ware house and information. However, there was a lowest level of the management of raw material purchasing but its average mean score was found at a highest level. This implied that there was an efficiency of the management of cashew nut seed business supply chain. This was the business which upstream farmers and agricultural occupation groups supplied raw materials to river and end of river cashew nut seed business supply chain for adding product value. For problems encountered, the business lacked of the following: workforce (62.5%), production equipment (55%), production knowledge (49.5%), and capital (33%). These are problems of most farmers and community enterprises in the country.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
30 กันยายน 2554
การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดสุรินทร์ การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านหนองรีร่วมพัฒนา ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านช่องน้ำไหล หมู่ 4 ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยางพารา ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบางเลน การจัดการความรู้ด้านการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในภาคตะวันออก เพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผักตบชวาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโครงการเศรษฐกิจชุมชน หมู่ที่ 4 ตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก