สืบค้นงานวิจัย
โรคขอบใบแห้งและเทคนิคการคัดพันธุ์ต้านทานข้าวต่อโรคขอบใบแห้ง
พยอม ศรีจำปา - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: โรคขอบใบแห้งและเทคนิคการคัดพันธุ์ต้านทานข้าวต่อโรคขอบใบแห้ง
ชื่อเรื่อง (EN): Bacterial blight and screening technique for bacterial blight resistance in rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พยอม ศรีจำปา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Payoum Srijumpa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โรคขอบใบแห้งของข้าวเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al (ชื่อเดิม X. campestris pv. oryzee (Ishiyamna Dye) จัดเป็นโรคที่สำคัญมากโรคหนึ่งเนื่องจากการระบาดรุนแรงและทำความเสียหายในแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะนาในเขตชลประทานและบางพื้นที่ในสภาพนาน้ำฝน การใช้พันธุ์ต้านทานโรคขอบใบแห้ง จึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด สะดวก ปลอดภัยและเหมาะสมในการที่เกษตรกรจะนำไปใช้ การทดลองเพื่อหาเทคนิคคัดเลือกพันธุ์ต้านทานโรคขอบใบแห้งของข้าวด้วยเทคนิคที่แตกต่างกันระหว่างปี 2540 และ 2541 พบเทคนิคที่เหมาะสมดังนี้ ปักดำข้าวพันธุ์ทดสอบสายพันธุ์ละ 1 แถว ยาว 2-3 เมตร ระยะปักดำระหว่างกอและแถวยาว 20 x 20 เซนติเมตรตามลำดับ โดยปักดำสายพันธุ์ละ 9 กอ ๆ ละ 1 ต้น ในสภาพที่มีน้ำท่วมขังในแปลงนาตลอดเวลา ปลูกพันธุ์ต้านทานทดสอบน้ำสะกุย 19 และพันธุ์อ่อนแอทดสอบไทซุงเนทีฟ 1 เปรียบเทียบปิดหัวท้ายแถวพันธุ์/สายพันธุ์ทดสอบ ก่อนเตรียมดินปลูกข้าว หว่านฟูราดาน 3% G อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีสูดร 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปักดำ 30-45 วัน ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21% N) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูกข้าว 7 วัน และเมื่อต้นข้าวอายุ 30-45 วันปลูกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้ง โดยเตรียมสารละลายเชื้อแบคทีเรียจากใบข้าวที่แสดงอาการโรคขอบใบแห้งที่เก็บมาใหม่ ๆ จากแปลงที่มีการระบาดของโรคหรือเตรียมจากเชื้อสาเหตุโรคขอบใบแห้งที่แยกให้ได้เชื้อบริสุทธิ์และเลี้ยงเพิ่มปริมาณบนอาหาร NA ความเข้มขัน 1 x 10(ยกกำลัง)8 cell/ml ใช้กรรไกรจุ่มสารละลายเชื้อแบคที่เรียตัดยอดใบ 2-3 ช.ม. จากปลายใบ หลังปักดำ 3-7 อาทิตย์หรือระยะข้าวแตกกอสูงสุด บันทึกปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคหลังปลูกเชื้อ 14-21 วัน หรือเมื่อพันธุ์อ่อนแอทดสอบไทซุงเนทีฟ 1 แสดงอาการของโรครุนแรงระดับ 5 ถึง 7 บันทึกปฏิกิริยาตาม SES IRRI, 1996 การทดสอบโรคขอบใบแห้ง พบว่า ข้าวจากโครงการ Thai-IRRI Shuttle Breeding จำนวน 305 พันธุ์/สายพันธุ์ ต้านทานระดับ HR R และ MR จำนวน 5, 72 และ 80 พันธุ์/สายพันธุ์ตามสำดับ ข้าวจากกลุ่มพืชศาสตร์ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี:พันธุ์พื้นเมือง จำนวน 154 พันธุ์/สายพันธุ์ ต้านทานระดับ R และ MR จำนวน 8 และ 57 พันธุ์/สายพันธุ์ และสายพันธุ์เปรียบเทียบผลผลิต 485 พันธุ์/สายพันธุ์ ต้านทานระดับ HR และ R จำนวน 118 และ 153 พันธุ์/สายพันธุ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/156184
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summary only
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โรคขอบใบแห้งและเทคนิคการคัดพันธุ์ต้านทานข้าวต่อโรคขอบใบแห้ง
กรมการข้าว
2541
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การผสมเมล็ดพันธุ์เพื่อการจัดการโรคไหม้ในข้าวไร่ การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคไหม้ ปี 2547 การแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอในข้าวที่ตอบสนองต่อโรคขอบใบแห้ง โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับเบสยุคก้าวหน้า ผลของไคโตซานฉายรังสีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และการต้านทานโรคในข้าว การประเมินความหลากหลายของเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ของข้าว ผลของการอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดอุณหภูมิสูงที่มีต่อคุณภาพของข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด วันปลูกและอัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ข้าวเจ็กเชย ผลของกระบวนการหุงต้มต่อปริมาณของสารประกอบฟีนอลลิกรวม อนุพันธุ์ของวิตามินอีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในข้าวแดง และผลของข้าวแดงที่สุกแล้วต่อสภาวะเครียดออกซิเดชั่นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผลของกระบวนการหุงต้มต่อปริมาณของสารประกอบฟีนอลลิกรวม อนุพันธุ์ของวิตามินอีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในข้าวแดง และผลของข้าวแดงที่สุกแล้วต่อสภาวะเครียดออกซิเดชั่นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ต่อเนื่องปีที่ 2) การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวจากธนาคารเชื้อพันธุ์พืชต่อแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก