สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาศักยภาพการจัดการเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีย์ศึกษา เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรม ของมูลนิธิสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูน
นทีทิพย์ สรรพตานนท์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพการจัดการเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีย์ศึกษา เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรม ของมูลนิธิสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นทีทิพย์ สรรพตานนท์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพการจัดการเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีย์ศึกษา เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรมของมูลนิธิสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการทำเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน (2) เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการเกษตรอินทรีย์ ด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรม ของมูลนิธิสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูน (3) เพื่อศึกษาถึงความสอดคล้องของแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการเกษตรอินทรีย์ ด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรมของมูลนิธิสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูน กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยข้อมูลปฐมภูมิได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In depth Interview) คณะกรรมการมูลนิธิสวนพุทธธรรม กลุ่มนักวิชาการทางด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ และเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดลำพูน การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus group) จะทำการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จังหวัดลำพูน ผลวิจัยพบว่าจุดแข็งคือ (1) ด้านการเพิ่มรายได้ (2) ด้านการลดต้นทุนการผลิต (3) ด้านการลดภาระหนี้สินในครัวเรือน (4) ด้านการมีเงินออมที่เพิ่มขึ้น (5) ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ (6) ด้านการพัฒนาตนเอง (7) ด้านการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จุดอ่อน คือ (1) ด้านการผลิต (2) ด้านการตลาด โอกาส คือ (1) ด้านแนวโน้มตลาดที่เพิ่มขึ้น (2) แนวโน้มการตลาดสีเขียว (3) ด้านภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุน อุปสรรคคือ (1) ด้านสภาพแวดล้อมภูมิอากาศแปรปรวน (2) ด้านระเบียบและสัญญาของเจ้าของช่องทางการจัดจำหน่าย (3) ด้านระบบเกษตรพันธสัญญาโดยแนวทางทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการเกษตรอินทรีย์ ด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรมของมูลนิธิสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูน เป็นแนวทางที่ตั้งมั่นในศีล 5 และหลักทางสายกลาง มรรค 8 ของพุทธศาสนา ซึ่งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทคัดย่อ (EN): The Development of Organic Agriculture Potential Management in Chiang Mai and Lumpoon Province by following Organic Agriculture Buddhism way as Philosophy of Sufficiency Economy for Sustainable Development : Organic Agriculture as per to Buddhism way of Buddhism Garden Foundation in Lumpoon Province (1) To analyze the strengths, weaknesses, opportunities and obstacles of organic farming in Chiang Mai and Lamphun provinces. (2) To study the potential development of organic farming. With organic agriculture, Buddhism (3) To study the consistency of the guidelines for developing organic farming potential. Organic Farming, Buddhist Way of Buddhism Foundation, Lamphun Province with The philosophy of Sufficiency Economy and Sustainable Development. Qualitative Research The researcher will collect two types of data: Primary Data and Secondary Data. Primary data is based on in-depth interviews. Board of Trustees Organic Agriculture Academic Group Organic farmers in Chiang Mai And organic farmers in Lamphun Focus group interviews with organic farmers in Chiang Mai. And groups of organic farmers in Lamphun. The research found that the strengths were (1) income increase (2) cost reduction (3) household debt reduction (4) increased savings (5) (6) Self-development (7) Environmentally friendly production (1) Production (2) Marketing Opportunities (1) Increased market trend (2) Trends Green marketing (3) Public sector and ESC Obstacles tsupport: (1) the environment, climate variability (2) the Regulation and the owner of the distribution channel (3) The Covenant Agrarian System. Organic Agriculture The Buddhist way of life of the Buddhabucha Buddhist Garden, Lamphun, is a guideline in the 5 th and the 8 th line of Buddhism, which is in line with sustainable development and the philosophy of sufficiency economy.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะบริหารธุรกิจ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-044
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-60-044.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาศักยภาพการจัดการเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีย์ศึกษา เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรม ของมูลนิธิสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
การศึกษาการจัดการฟาร์มเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ของ จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการพัฒนาเกษตรอินทรีย์เชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแก่ผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ การยกระดับศักยภาพผู้พิการสู่การพัฒนาเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นนำเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์อย่างสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเลี้ยงหมูป่าแบบเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน ของชุมชนผีตองเหลือง จ. แพร่ พลวัตและการจัดการการเกษตรไทยในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก