สืบค้นงานวิจัย
คุณสมบัติน้ำมันและสารพิษในน้ำมันเมล็ดฝ้ายไทย
ประเทืองศรี สินชัยศรี และ ลอลอต้า เมฆสองสี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: คุณสมบัติน้ำมันและสารพิษในน้ำมันเมล็ดฝ้ายไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Some Properties of Oil and Toxic Substances in Thai Cottonseed Oil
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประเทืองศรี สินชัยศรี และ ลอลอต้า เมฆสองสี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prateungsri Sinchaisri and Lolita Meksongsee.
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองนำเมล็ดฝ่ายพันธุ์ส่งเสริม 6 พันธุ์ ที่ปลูกในท้องที่ต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งปลูกฝ้ายในประเทศ 11 แห่ง มาทำการศึกษาหาปริมาณน้ำมัน องค์ประกอบของกรดไขมัน และสารพิษกอสิปอล โดยวิธี Official Tentative of American Oil chemists' Society (AOCS-Method Aa3-38 และ 4-38) ผลการวิเคราะห์พบว่า เมล็ดฝ้ายพันธุ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำมันคิดเป็นร้อยละ ระหว่าง 18.83-21.96 ปริมาณน้ำมันมากน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์ สภาพแวดล้อม และแหล่งปลูก พันธุ์ที่ให้ปริมาณน้ำมันสูงสุด ได้แก่ พันธุ์ L 142- 9M 358-11 มีปริมาณน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 21.9 น้ำมันสีน้ำตาลเข้ม 9dark brown color) มีความถ่วงจำเพาะที่ 25 C 0.9191, ดัชนีหักเหที่ 25 C 1.4704 , กรดไขมันอิสระ (free fatty acid) 1.53 , Saponification value 197.54 และ Iodine value 104.32 น้ำมันประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีกรดไขมันลิโนเลอิคที่ร่างกายต้องการเป็นจำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 50 น้ำมันฝ่ายจัดเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพค่อนข้างดี หากมีวิธีการกลั่นใสที่ดีก่อนนำมาบริโภค ในน้ำมันฝ้ายมีสารพิษกอสสิปอล ซึ่งพบอยู่ในน้ำมันดิบ (crude oil) คิดเป็นร้อยละ 0.72 สารดังกล่าวจะถูกทำลายเมื่อได้รับความร้อนและความดันที่เหมาะสมในขบวนการกลั่นใส (refinery process) จนเหลือน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 0.02 ซึ่งน้อยกว่าค่าความปลอดภัยที่สำนักงานมาตรฐานน้ำมันฝ้ายของกระทรวงอุตสาหกรรมพืชไร่กำหนดไว้ คือ มีค่าความปลอดภัยไม่เกิน 0.03%
บทคัดย่อ (EN): Cottonseed oil content, fatty acid composition, physico-chemical properties and gossypol content were determined for six cotton varieties obtained from 11 locations in Thailand. Testing procedures were those of the American Oil Chemists's Society (methods Aa 3-38 and 4-38). Oil content varied between 18.8 and 21.9% and depended on variety, location and environmental factors. Highest oil content (21.9%) was recorded in the variety L-142-9m-358-11. properties of the oil included a dark brown colouration; specific gravity and efractive index of 0.9191 and 1.480 respectively, at 25 C; free fatty acid level of 1.50; an iodine number of 104.32 and saponification value of 197.84. Cottonseed oil was found to have a high level of unsaturated fatty acids (70%) of which linoleic acid was the major component (50%). Free gossypol content of unsaturated fatty acids (70%) of which linoleic acid was the major component (50%). free gossypol content averaged 0.70% but ranged from 0.33% to 1.09%, the variety BD 1016-13 having the lowest level and RD 1017-7 the highest. In an independent study using cottonseed oil extracted commercially from a number of varieties, an initial gossypol content of 0.72% was able to be reduced to below th 0.03% safety level as result of heat treatment under vacuum during the refinery process which consisted of neutralization, bleaching and deodorization.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คุณสมบัติน้ำมันและสารพิษในน้ำมันเมล็ดฝ้ายไทย
กรมวิชาการเกษตร
2527
เอกสารแนบ 1
ปฏิกิริยาของฝ้ายต่อ 2,4-D ความเข้มข้นระดับต่าง ๆ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การพัฒนาพันธุ์สบู่ดำเพื่อเพิ่มผลผลิตเมล็ดและปริมาณน้ำมันให้เหมาะสมกับ ภาคเหนือของไทย การใช้น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันเมล็ดสะเดาช้าง และเหยื่อล่อโปรตีนควบคุมแมลงวันพริก การศึกษาแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศไทย ไบโอดีเซลน้ำมันเมล็ดยางพาราและไบโอดีเซลน้ำมันผสม การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้มีผลผลิตน้ำมันสูง (ระยะที่ 3) การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้มีผลผลิตน้ำมันสูง (ระยะที่ 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากน้ำมันเมล็ดยางพารา กาวจากแป้งมันสำปะหลัง และจากน้ำมันจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก