สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดแพร่
เกษตร พื้นงาม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดแพร่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกษตร พื้นงาม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดแพร่ครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลลักษณะทางด้านสังคมและเศรษฐกิจความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ และข้อเสนอแนะโดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลของจังหวัดแพร่ เป็นประชากรในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 70 ราย โดยใช้วิธีการคัดเลือกสุ่มตัวอย่างแบบสำมะโนประชากร (Census) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS to Windows สำหรับประมวลข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีค่าต่อไปนี้ ลักษณะทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ พบว่าผู้อำนวยการศูนย์มีอายุเฉลี่ย 46.24 ปี ส่วนใหญ่เป็นชายแต่งงานแล้วมีบุตรเฉลี่ย 1.66 คน มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3.69 คน จบการศึกษาปริญญาตรี เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนมากดำรงตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร มีอายุราชการเฉลี่ย 22.9 ปี อัตราเงินเดือน 19,587.57 บาท ส่วนใหญ่รับผิดชอบ 1 ตำบล มีครัวเรือนเกษตรกรรับผิดชอบในตำบลที่จัดตั้งศูนย์โดยเฉลี่ยศูนย์ละ 1,248.01 ครัวเรือน ส่วนความต้องการรับการ ถ่ายทอดความรู้พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล มีความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้มาเกี่ยวกับ งานอบรม งานการตลาด งานข้าว งานบริการ งานพืชผักและเห็ด งานป้องกันและกำจัดศัตรูพืช งานจัดไร่นา งานดินและปุ๋ย งานสถาบันเกษตรกร และต้อการรับการถ่ายทอดความรู้ปานกลาง เกี่ยวกับงานไม้ผล งานไม้ดอกไม้ประดับ งานพืชไร่ และต้องการรับการถ่ายทอดน้อย เกี่ยวกับไม้ยืนต้นและอื่นๆ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ ของผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในการรับการถ่ายทอดความรู้ ได้แก่ ควรถ่ายทอดความรู้ให้สอดคล้องกับศักยภาพการผลิต และความต้องการของผู้อำนวยการศูนย์ฯ และนอกเหนือจากเนื้อหาทางด้านการเกษตร แล้วควรจะมีการเสริมเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในทุกวิชาด้วย รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ควรจัดกลุ่มและระยะเวลาที่เหมาะสม มีวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติอย่างเพียงพอ มีการประเมินผลและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง วิทยากรจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ความสามารถจริง ควรมีการสนับสนุนเอกสารวิชาการ ข้อมูลข่าวราชการสื่อการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อำนวยการศูนย์ฯ ให้มากขึ้นควรให้โอกาสอำนวยการศูนย์ฯ มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรพร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบศูนย์ฯ ในการจัดทำแปลงสาธิตหรือทดสอบ สำหรับฝึกปฏิบัติให้เกิดความรู้และทักษะ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ศึกษาได้แก่ ควรศึกษารูปแบบการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสมและศึกษาความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการฯ ทุกๆ 2 ปี เพื่อทราบความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดแพร่
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดมหาสารคาม การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล บทบาทของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดแพร่ปี 2547 ความต้องการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดสกลนคร การประเมินผลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546 ผลดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบลตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปี 2546 ความต้องการรับการถ่ายทอดความรู้ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดแพร่ ปี 2553 ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ภายใต้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลต่อการดำเนินงานของศูนย์ในจังหวัดเชียงใหม่ การปฏิบัติงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก