สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการดำรงชีพและเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย 1.ระยะเจริญเติบโตน้ำหนัก 100 – 150 กิโลกรัม
จีระศักดิ์ แซ่ลิ่ม - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการดำรงชีพและเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย 1.ระยะเจริญเติบโตน้ำหนัก 100 – 150 กิโลกรัม
ชื่อเรื่อง (EN): ----
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จีระศักดิ์ แซ่ลิ่ม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความต้องการพลังงานเพื่อการดำรงชีพและเพื่อการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย (โคขาวลำพูน) ระยะเจริญเติบโต ที่ได้รับอาหารผสมเสร็จในระดับต่างๆ กัน โดยใช้เทคนิคการศึกษาซาก (comparative slaughtering technique) ใช้โคขาวลำพูนอายุประมาณ 1 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 122?7 กิโลกรัม เพศผู้ จำนวน 20 ตัว สุ่มโคจากแต่ละกลุ่มมากลุ่มละ 1 ตัว เพื่อนำมาศึกษาซากและองค์ประกอบทางเคมีและพลังงานในซากของโค และใช้ข้อมูลดังกล่าวสำหรับสร้างสมการถดถอย (linear regression) เพื่อใช้ในการประเมินน้ำหนักตัวไม่รวมเศษอาหารในระบบทางเดินอาหาร (empty body weight, EBW) และพลังงานในซากของโคทดลองกลุ่มที่เหลือสำหรับใช้ในการประเมินค่าพลังงานของโคในระยะเริ่มต้นการทดลอง จากนั้นสุ่มสิ่งทดลองให้กับโคในแต่ละกลุ่ม วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดภายในบล็อก สิ่งทดลอง ได้แก่ การให้อาหารแบบเต็มที่ (ad libitum, 100% AL) และการให้อาหารจำกัดระดับ 70 (70% AL) และ 40 เปอร์เซ็นต์ของการให้อาหารแบบเต็มที่ (40% AL) ทำการทดลองเป็นเวลา 75 วัน ช่วงสุดท้ายของการทดลอง ประเมินพลังงานในอาหารสัตว์และการเก็บกักไนโตรเจนของโคทดลองโดยใช้ total collection technique และศึกษาซากเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผลการทดลอง พบว่า โคมีความต้องการพลังงานสุทธิและพลังงานใช้ประโยชน์ได้เพื่อการดำรงชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 59.91 kcal/kg EBW0.75/d และ 114.8 kcal/kg EBW0.75/d ตามลำดับ ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานใช้ประโยชน์ได้เพื่อการดำรงชีพเป็นพลังงานสุทธิเพื่อการดำรงชีพ (km) ของโคมีค่าเท่ากับ 0.52 และมีค่าประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานใช้ประโยชน์ได้เป็นพลังงานสุทธิเพื่อการเจริญเติบโต (kg) มีค่าเท่ากับ 0.25 และความต้องการพลังงานสุทธิเพื่อการเพิ่มน้ำหนักของโคพื้นเมืองไทยสายเหนือที่มีน้ำหนักตัว (empty body weight) 100–200 กิโลกรัม และมีอัตราการเจริญเติบโต (empty body weight gain) 0.2–1.0 กิโลกรัมต่อวัน มีความต้องการพลังงานสุทธิ (net energy) อยู่ในช่วง 2.36–4.52 Mcal/d สรุปได้ว่า โคพื้นเมืองไทยสายเหนือมีความต้องการพลังงานเพื่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตต่ำกว่าโคเขตอบอุ่น (Bos taurus)
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/1000125
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการดำรงชีพและเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย 1.ระยะเจริญเติบโตน้ำหนัก 100 – 150 กิโลกรัม
กรมปศุสัตว์
2552
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
สมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคพื้นเมืองไทยที่เลี้ยงด้วยอาหารหยาบที่มีคุณภาพแตกต่างกัน ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของโคบราห์มันพันธุ์แท้เพศผู้ ความต้องการพลังงานเพื่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย ผลของการใช้กากมะเขือเทศแห้งในอาหารข้นต่อการย่อยได้ของโภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตของโคพื้นเมืองไทย ความต้องการโปรตีน และพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของโคบราห์มัน เพศผู้น้ำหนัก 250 กิโลกรัม ถึง 350 กิโลกรัม ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของโคบราห์มัน เพศผู้น้ำหนัก 200 กิโลกรัมถึง 280 กิโลกรัม ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารสำหรับลูกโคที่หย่านมก่อนกำหนด ผลของปริมาณโปรตีนและพลังงานที่กินต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของโคเนื้อพันธุ์พื้นเมืองไทย ความต้องการโภชนะของโคนมในประเทศไทย: ความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของโคนมทดแทนฝูง ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของหัวคาล่าลิลลี่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก