สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย
ชาญณรงค์ ดวงสอาด, สมเกียรติ ชัยพิบูลย์, ขยัน สุวรรณ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่อง (EN): Cost and Return Analysis of Pararubber Plantation in Chiang Rai Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจทั่วไป ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพารา รวมถึงปัญหา อุปสรรค และความต้องการของเกษตรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 400 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีต้นทุนเฉลี่ยรวม 6 ปี ก่อนการเปิดกรีด (ตั้งแต่ปีที่ 1 – 6) เท่ากับ 20,989 บาทต่อไร่ โดยมีต้นทุนรวมหลังเปิดกรีดยางพาราของน้ำยางสด (ปีที่ 7 – 10) เฉลี่ย 12,841.25 บาทต่อไร่ต่อปี มีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย 260.13 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีรายได้เฉลี่ย 25,171.64 บาทต่อไร่ต่อปี และผลตอบแทนเฉลี่ย 7,083.14 บาทต่อไร่ต่อปี ส่วนต้นทุนรวมหลังเปิดกรีดยางพาราของยางก้อนถ้วย (ปีที่ 7 – 10) เฉลี่ย 12,960.75 บาทต่อไร่ต่อปี มีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย 451.55 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีรายได้เฉลี่ย 38,841.27 บาทต่อไร่ต่อปี และผลตอบแทนเฉลี่ย 20,633.27 บาทต่อไร่ต่อปี สำหรับปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในแต่ละด้าน พบว่า ประสบปัญหาไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดินที่ปลูกยางพารา ปัญหาปุ๋ยเคมีมีราคาสูง และปัญหาราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำ ส่วนความต้องการความช่วยเหลือของเกษตรกร พบว่า ต้องการให้ภาครัฐให้เอกสารสิทธิ์ที่ทำกินแก่เกษตรกรเพื่อนำไปแปลงทรัพย์สินเป็นทุน ต้องการให้ภาครัฐควบคุมราคาหรือจัดหาปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืชที่มีราคาต่ำ และ ต้องการให้รัฐสร้างตลาดกลางยางพารา เพื่อให้ไม่ต้องจำหน่ายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง คำสำคัญ: ต้นทุน, ผลตอบแทน, ยางพารา
บทคัดย่อ (EN): The study aims to investigate the general economic profile, cost and return of pararubber plantation in Chiang Rai Province. Stratified random sampling was conducted from 400 families while the questionnaire was applicable for data collecting. Data presentation was done through percentage, means and standard deviations. The results showed that the total average cost of latex tapping (year 1 to 6) was 20,989 Bath per rai. As well as the year 7 – 10 of latex plantation, the agriculturists sold their products into 2 types including latex rubber and cup lump latex. The average cost, average volume, average incomes and average return of latex rubber were 12,841.25 Bath per rai, 260.13 kilograms per rai, 25,171.64 Bath per rai and 7,083.14 Bath per rai, respectively. Moreover, the average cost, average volume, average incomes and average return of cup lump latex were 12,960.75 Bath per rai, 451.55 kilograms per rai, 38,841.27 Bath per rai and 20,633.27 Bath per rai, respectively. The agriculturists were facing with certain problems regarding possessing no rights on the farm plots, paying for expensive chemical fertilizers, earing low income from latex they produced. They also needed help from the government sector in providing them the land title deeds, which could be eventually applicable for financial collateral, for agricultural practice. They also needed the government to control the latex prices or providing the low prices of chemical fertilizers, insecticides and pesticides. However, the rubber market established by government sectors was needed to avoid the middleman. Keywords: Cost, Return and Pararubber
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2557
การศึกษาสมการการผลิตและต้นทุนผลตอบแทนจาก การปลูกยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาต้นทุนผลตอบแทนของธุรกิจแปรรูปยางพารา จ.สุราษฎร์ธานี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์ สมการการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินการปลูกยางพาราทดแทนอ้อยโรงงาน ของโครงการปลูกยางพารา ในจังหวัดอุดรธานี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกสตรอว์เบอร์รี ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุน ระหว่างการปลูกยางพาราและการปลูกข้าว ในอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกยางพาราของจังหวัดน่าน (9 ต.ค. 2558) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของการปลูกยางพาราทดแทนอ้อยโรงงานในอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก