สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อิสริยา มีสิงห์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Factor of decision making on vetiver grass growing of farmers in the northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อิสริยา มีสิงห์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของบางประการของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ปัจจัยในการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) เปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรที่มีสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่ปลูกหญ้าแฝกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 200 ราย ผลการวิจัยมีดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 43.40 ปี ร้อยละ 50.0 จบประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัว เฉลี่ย 3.45 คน ร้อยละ 35.0 เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 48.0 เคยได้รับการฝึกอบรมความรู้ทั่วไป และเคยไปทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่ (ร้อยละ 32.0 ) สำหรับแหล่งข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝก ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝกจากเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดิน (ร้อยละ 48.0) จากแผ่นพับของทางราชการ (32.0) เพราะมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่มากกว่า 2 ครั้งในรอบปีที่ผ่านมา (46.0) เกษตรกรร้อยละ 64.0 เอกสิทธิ์ถือครองที่ดินเป็นโฉนด ร้อยละ 96.0 มีพื้นที่ถือครอง โดยมีพื้นที่ถือครอง เฉลี่ย 12.52 ไร่ ในขณะที่เกษตรร้อยละ 90 มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตร เฉลี่ย 11.80 ไร่มา เกษตรกรร้อยละ 96.0 มีรายได้ในภาคเกษตรในปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 61,590 บาท ส่วนใหญ่มีอาชีพนอกภาคการเกษตร ได้แก่ อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 71.79) เกษตรกรมีแรงงานเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 2.8 คน และเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.0 มีแหล่งสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกรร้อยละ 59.2 มีพื้นที่ปลูกหญ้าแฝก 1 งาน ส่วนใหญ่ปลูกกล้วยรอบบ่อและปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ใช้ปริมาณกล้าหญ้าแฝก จำนวน 2 ต้นต่อหลุม ไม่ค่อยได้รดน้ำหญ้าแฝก ไม่ได้ใส่ปุ๋ยรองก้น ไม่มีการปลูกซ่อม และขยายพันธุ์ แต่ร้อยละ 45.4 มีการตัดแต่งใบหญ้าแฝก เกษตรกร มีปัญหาเรื่องความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝกมากที่สุด รองลงมามีปัญหาเรื่องวิธีการปลูก การดูแลรักษา พันธุ์หญ้าแฝก การได้รับการส่งเสริมไม่ต่อเนื่อง การปลูกหญ้าแฝกไม่เหมาะสมกับพื้นที่ การใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝก ตามลำดับ ส่วนปัญหาการตลาด เรื่องเงินลงทุน และเรื่องแรงงาน ไม่มีปัญหาในการปลูกหญ้าแฝก ส่วนปัจจัยที่เป็นเหตุผลในการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกร ได้แก่ การปลูกหญ้าแฝกทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ลดการชะล้างพังทลายของดินเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการวิจัยดังนั้นมีข้อเสนอแนะคือทำการศึกษาเรื่องการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในภาคอื่นๆเพิ่มเติม อันจะเป็นข้อมูลนำมาวางแผนการส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to study 1) the socio-economic bases of some farmers in the Northeast 2) The factors in decision making of vetiver grass in the Northeast 3) Problems, obstacles and suggestions 4) Comparison of factors in decision making of vetiver grass with different social and economic backgrounds. The samples were 200 vetiver farmers in the Northeast. The results were as follows. Most of the farmers were female, average age was 43.40 years old, 50.0% completed primary school, had average family members 3.45, 35.0% were members of the Bank for Agriculture and Cooperatives, 48.0% had been trained in general knowledge. They also visited field trips (32.0%). The knowledge of vetiver grass was received from the Land Development Department (48.0%) from the government leaflets (32.0%) because of more than 2 contact with staff over the past year (46.0%). 64.0% of the farmers own land, 96.0% of the land is held. The average holding area is 12.52 rai, while agriculture accounts for 90.0% of the agricultural land area. Average farm size is 11.80 rai, with 96.0% of the agricultural sector. In the past year, the average was 61,590 baht. There were of employed workers (71.79%). Farmers had an average of 2.8 agricultural workers and 42.0% of the farmers had loans from the Bank for Agriculture and Cooperatives. 59.2% had a vetiver planting area, most of them planted banana around the pond and planted vetiver for soil and water conservation. Two vetiver grass seedling per hole. Vetiver is not watered, do not put the bottom fertilizer, no repairs and no propagation. However, 45% cut leaves of vetiver. Farmers have the most knowledge about vetiver grass. Secondly, there are problems with how to grow vetiver. The promotion is discontinuous. Vetiver cultivation is not suitable for the area. Utilization of vetiver grass, respectively. Investments and labor No problem in growing vetiver. The factors that led to the decision to plant vetiver are the vetiver grass, so the soil fertility and reduce of soil erosion. Ta be a research development. Therefore, it is recommended to study the decision to grow vetiver grass in other sectors. The data will be used to plan the promotion of vetiver cultivation.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2560
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา การตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในจังหวัดเลย ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรต่อโครงการปรับโครงสร้างและระบบการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การฟื้นฟูทรัพยากรดินในนาข้าว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยหญ้าแฝก ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ การตัดสินใจในการปรับลดพื้นที่การผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออก ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกกาแฟบนที่สูง การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกร อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก