สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพการควบคุมโรคลำต้นเน่าของยางชำถุงด้วยสารเคมี
พเยาว์ ศรีสอ้าน - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการควบคุมโรคลำต้นเน่าของยางชำถุงด้วยสารเคมี
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy of Fungicides Against Phytophthora Twig Rot of Polybag Rubber
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พเยาว์ ศรีสอ้าน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของยางชำถุง ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Phytophthora nicotianae var. parasitica ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สาร metalaxyl และ dimethomorph สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่สุด เมื่อทดสอบด้วยวิธี poisoned food technique โดยมีค่า ED50 เท่ากับ 1.15 และ 1.17 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อทดสอบในเรือนทดลองโดยการฉีดพ่นสารเคมี ชนิดต่าง ๆ ก่อนการปลูกเชื้อ 1 วัน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการควบคุมโรค ผลปรากฏว่าการใช้สาร dimethomorph อัตรา 0.25 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่น สามารถป้องกันโรคได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ cymoxanil + mancozeb อัตรา 1.44 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อน้ำ 1 ลิตร การกระตุ้นให้เกิดความต้านทานต่อสารเคมีของเชื้อรา โดยเลี้ยงบนอาหารที่ผสมสารเคมีอัตราความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ 50 % จำนวน 10 และ 15 รอบ ยังไม่ปรากฏว่าเชื้อแสดงความต้านทานต่อสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง และยังสามารถทำให้ต้นยางชำถุงแสดงอาการโรคได้ตามปกติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพการควบคุมโรคลำต้นเน่าของยางชำถุงด้วยสารเคมี
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. ประสิทธิภาพและวิธีการใช้สารเคมีบางชนิดต่อการควบคุมโรครากขาวในสวนยาง โรครากเน่าโคนเน่าของยางพาราและการควบคุม ประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากแดงกับต้นกล้ายาง การทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัดโรคราสนิม การวิจัยการใช้สารเคมีที่เหมาะสมในการผลิตยาง การประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว การศึกษาสารเคมีป้องกันโรครากเน่าของหม่อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก