สืบค้นงานวิจัย
อัตราปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตของผักกาดหอม
อเนก รัตน์รองใต้ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: อัตราปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตของผักกาดหอม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อเนก รัตน์รองใต้
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตของผักกาดหอม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของผลผลิตผักกาดหอมที่ปลูกโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์และไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และเพื่อศึกษาอัตราของปุ๋ยอินทรีย์ที่ให้ผลผลิตผักกาดหอมสูงสุด โดยปลูกในไร่ของเกษตรกรตำบลเมืองหมี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Completed Block Desige) มี 4 ซ้ำ(Replication) มีสิ่งทดลอง(Treatment) ได้แก่ ปุ๋ยหมักอกริเบสตราหัวลูกศร 5 ระดับคือ ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1,500,2,000,2,500และ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนใบต่อต้น ความกวางความยาวใบ จำนวน 3 ครั้ง หลังปลูก23,30และ 37 วันและเก็บข้อมูลจำนวนต้นที่รอดตาย น้ำหนักต่อต้น และเก็บข้อมูลผลผลิตต่อไร่ พร้อมกับการเก็บเกี่ยวเมื่อพืชอายุ 37 วันหลังปลูก ผลการทดลองพบว่าการเก็บข้อมูลจำนวนใบต่อต้นทั้ง 3 ครั้ง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตราสูงที่สุดมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนใบต่อต้นสูงที่สุด คือแปลงที่ใส่ปุ๋ยอัตรา 3,000 กิโลกรัม/ไร่ มีจำนวนใบ/ต้นเมื่อเก็บเกี่ยวสูงที่สุดคือ 7.81 ใบ รองลงมาได้แก่แปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2,500,2,000และ 1,500 กิโลกรัม/ไร่ ที่มีใบ 7.17ใบ 6.84 ใบและ 6.49 ใบ/ต้น ตามลำดับส่วนแปลงควบคุมมีต่ำที่สุด 6.36 ใบ/ต้น ส่วนขนาดของใบพบว่ามีขนาดของใบแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3,000 กิโลกรัม/ไร่ มีขนาดของใบและความกว้างและความยาวใบสูงที่สุด รองลงมาเป็นแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2,500,2,000และ 1,500 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่แปลงควบคุมมีความกว้างและความยาวใบต่ำที่สุด สำหรับต้นที่รอดตายต่อแปลงพบว่าทุกแปลงมีอัตราการตายที่ใกล้เคียงกันและไม่มีความแตกต่างทางสถิติส่วนน้ำหนักต่อต้นของพืชพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3,000 กิโลกรัม/ไร่ มีน้ำหนักต่อต้นสูงสุดคือ 116.1 กรัม รองลงมาได้แก่แปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2,500,2,000,1,500 กิโลกรัม/ไร่ และแปลงควบคุมที่มีน้ำหนัก 106.20,91.28,79.36และ 69.81 กรัม/ต้น ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่ พบว่าแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3,000และ 2,500 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันโดยได้ผลผลิตสูงสุด 4,790.8และ 4,440.7 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2,000,1,500กิโลกรัม/ไร่ และแปลงควบคุมที่ให้ผลผลิต 3,640.4,3,586.7และ 3,116.8 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 3 ระดับดังกล่าวให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ จึงไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือแปลงปลูกพืชที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2,500และ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตสูงกว่าแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาจึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2,500 กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นไป สำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆและอัตราของปุ๋ยอินทรีย์แต่ละชนิด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อัตราปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตของผักกาดหอม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผักและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดปทุมธานี ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผัก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดนครนายก ศึกษาประสิทธิภาพและอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตหอมแดง ในกลุ่มชุดดิน 15 ผลของการปรับปรุงดินด้วยถ่านชีวภาพต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช ผลผลิตและคุณภาพของผักกาดหอม ผลของอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ในกลุ่มชุดดิน 35 ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในกลุ่มชุดดินที่ 29 ผลของการฉีดพ่นไอโอไดด์และไอโอเดตต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและการสะสมไอโอดีนในผักบุ้งและผักกาดหอม ศึกษาอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดิน กับผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จ.พัทลุง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด. 2 เพื่อยืดอายุของผลผลิตกล้วยหอมทอง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก