สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม
มนูญ ผุดเกตุ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มนูญ ผุดเกตุ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545-2546 จังหวัดนครพนม ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนและศึกษาปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 และ 2546 ในจังหวัดนครพนม จำนวน 212 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฉิมเลขคณิตค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 84.4 เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 51 ปี ส่วนมากร้อยละ 33.0 จบการศึกษาในระดับต่ำกว่าภาคบังคับ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.0 ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีพื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 21.82 ไร่ สำหรับวิธีการปลูกข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 96.2 ปลูกข้าวโดยวิธีปักดำ อัตราเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรใช้สำหรับปักดำ เฉลี่ย 6.9 กิโลกรัมต่อไร่ ในช่วงการเจริญเติบโตของข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 84.0 จะใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 มากที่สุด และเกษตรกรส่วนมากร้อยละ 71.7 ใส่ปุ๋ยเคมีจำนวน 2 ครั้งโดยเฉลี่ย 21.0 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับศัตรูข้าว เกษตรกรส่วนมากร้อยละ 47.6 พบโรคไหม้ ซึ่งเกษตรกรมีวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว โดยวิธีการใช้สารเคมี และวิธีกล มากที่สุด ในด้านการเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรร้อยละ 54.2 มีการระบายน้ำออกจากแปลงนา ร้อยละ 65.1 เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง มีการลดความชื้นข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 3 ครั้ง ได้รับผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย 406.8 กิโลกรัมต่อไร่ ในด้านปัญหาและอุปสรรคในระดับมาก ได้แก่ ค่าแรงงานในการปลูกและเก็บเกี่ยวสูง ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการควรออกเยี่ยมเยียนและถ่ายทอดเทคโนโลยี ในเรื่องที่เกษตรกรยอมรับบางส่วน ด้านวิธีการปลูก และการใส่ปุ๋ยเคมี การตัดพันธุ์ปนในช่วงข้าวแตกกอ และข้าวโน้มรวง ควรมีการจัดทำแปลงพิสูจน์ทราบตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ในเรื่องระยะปลูก อัตราเมล็ดพันธุ์ของการทำนาดำ และหว่านสำรวย และการใส่ปุ๋ยเคมี ควรให้ความรู้เกษตรกรในเรื่องการตัดพันธุ์ปนทุกครั้งที่มีการถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ควรแนะนำให้เกษตรกรปลูกข้าวในขนาดพื้นที่ที่พอเหมาะกับ แรงงานในครอบครัว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดนครพนม
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 จังหวัดยโสธร การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิ ของเกษตรกรที่ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปีเพาะปลูก 2546 อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในกิ่งอำเภอกูแก้ว จังหวัดอุดรธานี การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าว กข. 6 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีผลต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน (ข้าวขาวดอกมะลิ 105) จังหวัดกำแพงเพชร ปี 2546 การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดนครพนม ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก