สืบค้นงานวิจัย
การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อรุณพล พยัคฆพันธ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรุณพล พยัคฆพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Aroonpol Payakaphanta
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาข้อมูลพื้นฐานความเชื่อและการปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกร 2) วิธีการการจัดการหนูที่เกษตรกรปฏิบัติในไร่นา 3) การรับรู้ของเกษตรกรในเรื่องโรคไข้ฉี่หนู และ 4) ความเชื่อของเกษตรกรในการจัดการหนูในไร่นา โดยมีขอบเขตของการศึกษาและวิธีการดำเนินการศึกษาประชากรกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกร ในท้องที่ดำเนิน โครงการจัดการหนูปี พ.ศ.2543 ของกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จังหวัดที่มีการดำเนินงานโครงการที่ทางราชการแนะนำทั้งสองวิธีการคือ การทำหลุมดักหนู และการทำระบบแปลงนา ล่อหนูใน 5 จังหวัด คือจังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุดรธานี และร้อยเอ็ด โดยกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจังหวัดละ 50 ราย 5 จังหวัด รวม 250 ราย แล้วใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีคำถามต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ตอน โดยทำการสัมภาษณ์เกษตรกรระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ.2545 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC แสดงค่าร้อยละ ค่ามัชฉิมเลขคณิต ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและประมาณค่า (Rating Scale) ของ Likert ผลการศึกษาในเรื่องข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 75.60 เป็นเพศชาย อายุโดยเฉลี่ย 50.04 ปี การศึกษาขั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ในการทำนาปลูกข้าวเฉลี่ย 29.08 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.20 เป็นเจ้าของนาและเฉลี่ยทำนาในปีที่ผ่านมาคนละ 16.18 ไร่ และปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นหลักร้อยละ 65.20 รองลงมาปลูกข้าวเหนียว กข 6 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 409.43 กก./ไร่ และจำหน่ายผลผลิตได้เฉลี่ย กก.ละ5.18 บาท โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.00 เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รวมทั้งการรับทราบข้อมูลในวิธีการป้องกันและกำจัดหนู ร้อยละ 79.20 และร้อยละ 59.60 เคยเข้ารับการฝึกอบรมเรื่องการจัดการหนู จากทางราชการ การศึกษาเรื่องวิธีการป้องกันกำจัดหนูในไร่นาของเกษตรกร พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 80.80 ใช้กับดัก สำหรับการศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดหนูที่ทางราชการแนะนำในโครงการจัดการหนูปี 2543 พบว่ามีเกษตรกรดำเนินโครงการหลุมดักหนู ร้อยละ 62.80 และจัดทำระบบแปลงนาล่อหนู ร้อยละ 16.40 เท่านั้น โดยมีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ คือ หนูไม่ลงไปในหลุมหรือในกับดัก (TBS) ส่วนการศึกษาเรื่องการรับรู้เรื่องโรคไข้ฉี่หนู พบว่าเกษตรกรเกือบทั้งหมดร้อยละ 96.00 รับทราบข้อมูลเรื่อง โรคไข้ฉี่หนูและรับรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งมีการรณรงค์ทุกหมู่บ้าน ทำให้เกษตรกรทราบสาเหตุร้อยละ 89.20 ที่ทำให้เกิดโรคไม่ลงไปสัมผัสน้ำที่ปนเปื้อนฉี่หนู รวมทั้งอาการของโรคไข้ฉี่หนู และวิธีการป้องกันโรคไข้ฉี่หนู ร้อยละ 93.20 คือ ใส่ชุดป้องกันและสวมรองเท้ากันน้ำ ทำให้เกษตรกรปลอดภัยและมีสุขอนามัยดี ประกาศสุดท้ายในการศึกษาถึงความเชื่อของเกษตรกรในเรื่องวิธีการจัดการหนูของเกษตรกรในไร่นา และในเรื่องโรคไข้ฉี่หนูโดยใช้คำถาม 13 ข้อความ พบว่า ที่ความเชื่อที่ค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่ถูกเสมอ จำนวน 4 ข้อความ (4.21 - 5.00) ที่เชื่อว่าโดยมากจะถูกจำนวน 4 ข้อความ (3.41 - 4.20) ที่ความเชื่อที่ไม่แน่ใจ จำนวน 2 ข้อความ (2.61 - 3.40) ที่ความเชื่อของเกษตรกรที่โดยมากจะไม่ถูก มีจำนวน 3 ข้อความ (1.81 - 2.60) ส่วนความเชื่อของเกษตรกรว่าไม่มีส่วนถูกเลย นั้นไม่มี (1.00 - 1.80)
ชื่อแหล่งทุน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 04010762
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 54,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเลือกซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเลือกซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก