สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
พนัส แพชนะ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Farmer Adoption on Crop Production Technology in the Upper Southern Region
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พนัส แพชนะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน แบ่งออกเป็น 5 กิจกรรม คือ การยอมรับเทคโนโลยีเทคโนโลยีการผลิตสับปะรด ใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน การยอมรับเทคโนโลยีการกรีดยางพาราใน จ.สุราษฎร์ธานี และพังงา และการยอมรับการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราระบบเครือข่ายใน จ.นครศรีธรรมราช ดำเนินการในปี 2552 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกร เกษตรกรที่ศึกษาเป็นเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษามีดังนี้ 1) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดของเกษตรกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบว่าเทคโนโลยีที่มีการยอมรับมาก คือ พันธุ์ การชุบหน่อ การปลูกเป็นระบบแถวคู่ และการบังคับดอก เทคโนโลยีที่มีการยอมรับเทคโนโลยีปานกลาง คือ การนับอายุหลังการบังคับดอกก่อนการเก็บเกี่ยว และเทคโนโลยีที่มีการยอมรับเทคโนโลยีระดับน้อย คือ การเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ การคัดแยกหน่อก่อนปลูก อัตราและระยะปลูก การใส่ปุ๋ย 2) การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร พบว่า เทคโนโลยีที่เกษตรกรให้การยอมรับมาก คือ ระบบปลูก และการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับน้อยมาก คือ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการใส่ปุ๋ยทั้งด้านสูตรปุ๋ย จำนวนครั้ง และปริมาณปุ๋ยที่ใส่ให้กับปาล์มน้ำมัน 3) การยอมรับเทคโนโลยีการกรีดยางของเกษตรกรจังหวัดสุราษฏร์ธานี และพังงา พบว่า เทคโนโลยีที่เกษตรกรส่วนใหญ่ให้การยอมรับในระดับมาก ได้แก่ ขนาดของลำต้นยางพารา ที่เหมาะสำหรับการเปิดกรีด รอยเปิดกรีดครั้งแรกควรทำมุม 30 องศา ระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้นสองวันเว้นวัน ความลึกของการกรีด อัตราการกรีดแรงงาน 1 คน สามารถกรีดยางได้ไม่เกิน 500 ต้น/วัน มีดกรีดยางควรลับให้คมอยู่เสมอ การหยุดกรีดช่วงยางพาราผลัดใบไปจนถึงใบ ที่ผลิใหม่เป็นใบแก่ เทคโนโลยีที่เกษตรกรส่วนใหญ่ให้การยอมรับในระดับปานกลาง ได้แก่ ความหนาของเปลือกกรีด เทคโนโลยีที่เกษตรกรส่วนใหญ่ให้การยอมรับในระดับน้อย ได้แก่ ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน และเทคโนโลยีที่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ให้การยอมรับ คือ เวลากรีดตอนเช้า 06.00 น. - 08.00 น. และ 4) การยอมรับการจัดตั้งตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราชระบบเครือข่าย เกษตรกรยอมรับระดับมากที่สุด คือ ที่ตั้งมีความเหมาะสม สิ่งอำนวยความสะดวก ช่วงเวลาที่เปิดบริการ ขั้นตอนการให้บริการที่มีความเหมาะสมได้แก่ การชั่งน้ำหนักยาง การลงทะเบียนและการคัดคุณภาพยาง ขั้นตอนการให้บริการที่มีความเหมาะสมในระดับมาก คือการประมูล การเงิน และการส่งมอบยาง ส่วนปัจจัยที่สร้างความเข้มแข็งของตลาดกลางยางพาราระบบเครือข่ายในระดับมากที่สุดคือปัจจัยด้านราคา ส่วนปัจจัยที่สร้างความเข้มแข็งของตลาดกลางยางพาราระบบเครือข่ายในระดับมากคือด้านความยุติธรรม ในขณะที่ปัจจัยที่สร้างความเข้มแข็งของตลาดกลางยางพาราระบบเครือข่ายในระดับปานกลางคือด้านการให้บริการ จะเห็นว่าเทคโนโลยีที่เกษตรกรมักไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือเทคโนโลยีการผลิต คือ เทคโนโลยีด้านปุ๋ยและการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เทคโนโลยี คือปัญหาด้านเศรษฐกิจ นั่นคือปัญหาด้านราคาผลผลิตต่ำและราคาปัจจัยการผลิตสูงส่งผลให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีไปใช้ในการผลิตน้อย ส่วนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติมักเป็นปัจจัยด้าน วิธีการ ความสะดวก และความเคยชินของเกษตรกร ทำให้ไม่ปฏิบัติตามเทคโนโลยี อื่นๆเช่น ความรู้ความสามารถของเกษตรกรและผู้ถ่ายทอด ดังนั้นหากต้องการให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยี ต้องเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงสาธิตเพื่อให้เกษตรกรเห็นเป็นตัวอย่าง จุดดี ผลกระทบและความคุ้มค่าที่จะได้จากการปฏิบัติตามเทคโนโลยีนั้นๆ
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
พนัส แพชนะ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 การศึกษารสนิยมการบริโภคข้าวของเกษตรกรในภาคใต้ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจันทร์เทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปี 2547 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตป่านศรนารายณ์ของเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การยอมรับและแพร่กระจายเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่ การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกกและทอเสื่อของเกษตรกรในภาคตะวันออก โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง การยอมรับเทคโนโลยีเพื่อการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก