สืบค้นงานวิจัย
การทำประมงลอบหมึกทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ทัศนีย์ ศุภพฤกษ์, สนธยา บุญสุข, สุชาติ แสงจันทร์, กำพล ลอยชื่น, ชลิต สง่างาม - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การทำประมงลอบหมึกทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Status of Squid Trap Fishery in the Andaman Sea
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการประมงลอบหมึกทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยรวบรวมข้อมูลที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ในระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2553 พบว่าลอบหมึกมีโครงลอบแบบทรงกระบอกครึ่งซีกทำจากไม้ ขนาดลอบกว้าง 0.5-0.8 เมตร ยาว 0.9-1.1 เมตร และสูง 0.4-0.9 เมตร ราคาต้นทุนการผลิต 180-250 บาท/ลูก มีอายุการใช้งานประมาณ 3-6 เดือน ทำการประมงได้ตลอดทั้งปี สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นหมึกหอม และหมึกกระดอง สัดส่วนของชนิดปลาหมึกในเขตทำการประมงที่ 6 (จังหวัดระนอง และพังงา) พบหมึกหอม ร้อยละ 62.98 หมึกกระดอง ร้อยละ 37.02 และในเขตทำการประมงที่ 7 (จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล) พบหมึกหอม ร้อยละ 79.42 หมึกกระดองร้อยละ 20.58 ขนาดหมึกหอมที่จับได้ในเขตทำการประมงที่ 6 มีขนาดเฉลี่ย 17.71?1.09 เซนติเมตร ส่วนหมึกกระดองเท่ากับ 20.74?1.47 เซนติเมตร และในเขตทำการประมงที่ 7 หมึกหอมเท่ากับ 16.35?0.86 เซนติเมตร และหมึกกระดองเท่ากับ 18.59?1.75 เซนติเมตร อัตราการจับเฉลี่ยในเขตทำการประมงที่ 6 เท่ากับ 3.78 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก โดย สูงสุดในเดือนตุลาคม และต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ในเขตทำการประมงที่ 7 เท่ากับ 2.37 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก สูงสุดในเดือนธันวาคม และต่ำสุดในเดือนพฤษภาคม รายได้เหนือเงินสดเฉลี่ยในเขตทำการประมงที่ 6 เฉลี่ยอยู่ในช่วง 1,272-3,160 บาท/เที่ยว เขตทำการประมงที่ 7 อยู่ในช่วง 571-2,152 บาท/เที่ยว
บทคัดย่อ (EN): The study of squid trap fishery in the Andaman Sea was conducted entire the year 2010 in Ranong, Phang-nga, Phuket, Krabi, Trang and Satun provinces. Squid traps were made from bushes in the half cylindrical shape which were 0.5-0.8 m of width, 0.9-1.1 m of length and 0.4-0.9 m of height. The production cost was 180-250 baht per individual and lifetime was 3-6 months. Fishing season of squid trap fishery was entire the year, the target species were bigfin reef squid and cuttlefish. In the 6th fishing zone(Ranong and Phang-nga provinces), species compositions of catches were 62.98 % bigfin reef squid and 37.02 % cuttlefish while in the 7th (Phuket, Krabi, Trang and Satun provinces) fishing zone were 79.42 % bigfin reef squid and 20.58 % cuttlefish. The average mantle length of bigfin reef squid and cuttlefish in the 6th fishing zone were 17.71+1.09 cm and 20.74+1.47 cm while in the 7th fishing zone were 16.35+0.86 cm and 18.59+1.75 cm. The average catch per unit effort in the 6th fishing zone was 3.78 kg/10 traps which was the highest in October and the lowest in February while in the 7th fishing zone was 2.37 kg/10 traps which was the highest in December and the lowest in May. The average income of fishermen in the 6th fishing zone was 1,272-3,160 bath/trip while in the 7th fishing zone was 571 - 2,152 bath/trip.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทำประมงลอบหมึกทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2554
กรมประมง
ผลกระทบของการประมงลอบหมึกสายบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน ทัศนคติของชาวประมงต่อมาตรการควบคุมการประมงโป๊ะน้ำตื้นทางฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะการทำประมงลอบหมึกในน่านน้ำไทย การประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนใน กั้งตั๊กแตนจากการประมงพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประมงโป๊ะน้ำตื้นทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรสัตว์ทะเลและการประมงพาณิชย์ในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่ เลี้ยงลูกและพื้นที่ใกล้เคียงทางฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะการทำประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก