สืบค้นงานวิจัย
การสร้างพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์น่าน 1
กฤษณ์ ลินวัฒนา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การสร้างพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์น่าน 1
ชื่อเรื่อง (EN): Breeding of String Bean cv Nan 1
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กฤษณ์ ลินวัฒนา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Grisana Linwattana
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: fดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์น่าน 1 (หรือ YBR 8-1) ลูกผสมระหว่างถั่วฝักยาวพันธุ์พื้นเมืองจาก จ. หนองคาย ที่มีฝักยาวสีเขียวเข้ม ผลผลิตปานกลาง กัวถั่วฝักยาวพันธุ์พื้นเมิองจาก จ. พิจิตร ซึ่งมีทั้งฝักสั้น สีเขียว ผลผลิตสูง การผสมดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เมื่อได้ลูกผสมคัดเลือกพันธุ์แบบจดประวัติสายพันธุ์บริสุทธิ์จนถึ่งชั่วที่ 4 จนได้พันธุ์ YB 5 ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ฝักยาวสีเข้ม พองช้า คุณภาพดี แล้วนำมาเป็นต้นแม่ผสมข้ามกับถั่วพุ่มพันธุ์พื้นเมือง ฝักสีม่วง ฝักสั้นเนื้อหนา ให้ผลผลิตในฤดูหนาวแล้วคัดเลือกจนได้พันธุ์ถั่วฝักยาวที่มีคุณภาพดีจำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ YBR 5-1 YBR 5-2 YBR 5-3 YBR 8-1 YBR 8-2 และ YBR 8-1 ซึ่งได้ดำเนินการผสมพันธุ์คัดเลือกพันธุ์ และประเมินผลเบิ้องต้นระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 ถึงปี พ.ศ. 2542 - 2544 นำทดสอบสายพันธุ์ที่สถานีทดลองพืชสวนน่าน และศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร พบว่า ถั่วฝักยาวสีม่วงแดงพันธุ์ YBA 8-1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์การค้า (พันธุ์เปรียบเทียบ) พร้อมทั้งมีคุณภาพของฝักดี ฝักเรียบ ตรง เนื้อแน่น พองช้า รสชาติดี บริเวณส่วนข้อของลำต้น ส่วนโคนกิ่งแขนง โคนก้านใบ และโคนเส้นกลางใบมีสีม่วงแดง ฝักสดมีสีม่วงแดง ในการวิเคราะห์ฝักทดทางเคมี พบวามีปริมาณแอนโธไชยานินสูง และให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว (กันยายน - พฤศจิกายน) ให้ฝักสดผลผลิตเฉลี่ยตลอดฤดูปลูก 3,290 กก./ไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 27.9 % และดำเนินการทดสอบในไร่เกษตรกรใน ปี พ.ศ. 2545-2546 ในพื้นที่ จ. น่าน เปรียบเทียบกับพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นการค้า ถั่วฝักยาวพันธุ์ YBA 8-1 มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก คือ ฝักสดสีม่วงแดง แตกต่างไปจากที่มีอยู่ในท้องตลาด มีปริมาณแอนโธไซยานินสูง รสชาติหวานมัน กรอบ เนื้อแน่น ฝักเรียบและตรง เหมาะสำหรับบริโภคสด ความยาวเฉลี่ย 50 ซม. พื้นที่แนะนำได้แก่ ภาคเหนือตอนบน เช่น จ. น่าน (ปลูกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน และเดือนกันยายน -พฤศจิกายน) และภาคเหนือตอนล่าง เช่น จ. พิจิตร (ปลูกระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน) โดยมีข้อจำกัด เมื่อปลูกในฤดูฝน (เดือนมิถุนายน-สิงหาคม) ผลผลิตลดลง
บทคัดย่อ (EN): The breeding programme for string bean cv Nan 1 (YBR 8-1) was carried out since 1989. Local variety from Nong Khi and Phichit provinces were used as a parental material of YB 5. The YB 5 was then crossed with the siring bean from Nan province and six imbred lines namely YBR 5-1, YBR 5-3, YBR 8-1, YBW 8-2 including YBR 8-1 and them the string bean cv Nan 1 was obtained. After hybridization, pure line selection methods were applied during the programme until F 8. In 1999 varietals trial for six inbred lines mentioned were conducted at the Phichit Horticulture Research Centre and at the NanOil-palm Research Centre to compare and evaluate with commercial variety. Result showed that YBR 5-2 and YBR 8-1 lines had good crop performance in term of a better crop yield both in Nan and Phichit conditions. Ingeneral, YBR 5-2 yields was significantly higher than a commercial control veriety however, when the experiment was conducted for panel taste, YBR 8-1 also showed better qualities in terms of its taste, crispy, strength and charming red colour pod. The YBR 8-1 prominently showed high pigments of anthocyanine which was 10.33 mg./100 g. of fresh pod and gave higher yield at an average of 3,290 kg/ rai, which was 27.9 % higher than the control or commercial variety during very late growing season or beginning of the winter. Although on-farm trial, YBR 8-1 was not shown numerically a better crop yield, but also was very well comparable marketing to the commercial string bean due to attractive distinct colour which had been different from the commercial control vareity.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสร้างพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์น่าน 1
กรมวิชาการเกษตร
2550
เอกสารแนบ 1
การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี ประเมินความงอกของถั่วฝักยาวและถั่วพุ่ม 43 สายพันธุ์ ความแปรปรวนทางพันธุกรรมและการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของถั่วฝักยาวพื้นเมืองพันธุ์พนัสนิคม โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ อ้อยอเนกประสงค์โคลนพันธุ์ SRS2000-5-14 พันธุ์ไหมลูกผสมต่างประเทศพันธุ์ใหม่พันธุ์ K9 x K8 ผลของรำและปลายข้าวก่ำพันธุ์ใหม่ที่มีแกมมาโอไรซานอลและแอนโธไซยานินในระดับสูง ใช้เลี้ยงสุกรขุนต่อระดับไลโปโปรตีนชนิดดีในเลือด คุณภาพซาก เนื้อและผลิตภัณฑ์ของสุกรขุน โครงการขึ้นทะเบียนพันธุ์ คุ้มครองพันธุ์ และจัดแปลงสาธิตสายพันธุ์/พันธุ์แตงกวา และฟักทอง พันธุ์ข้าวเจ้าชัยนาท 1 พันธุ์ข้าวรับรองพันธุ์ใหม่ การศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำ (Kc) ของหญ้าแฝกพันธุ์ศรีลังกา พันธุ์ร้อยเอ็ด พันธุ์กำแพงเพชร 1 และ พันธุ์สงขลา 3

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก