สืบค้นงานวิจัย
บทบาทของสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis Linnaeus) ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ดินตะกอน และสร้างอาหารธรรมชาติในการเลี้ยงกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis de Man, 1988) เชิงพาณิชย์
พุทธ ส่องแสงจินดา, เรวัตร เปรมปิยะวัฒน์, กาญจนา เตี้ยวซี, พุทธ ส่องแสงจินดา, เรวัตร เปรมปิยะวัฒน์, กาญจนา เตี้ยวซี - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: บทบาทของสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis Linnaeus) ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ดินตะกอน และสร้างอาหารธรรมชาติในการเลี้ยงกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis de Man, 1988) เชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Role of gut weeds (Ulva intestinalis Linnaeus) on improving water and sediment qualities and producing natural foods for commercial culture of banana shrimp (Penaeus merguiensis de Man, 1988)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: คำนำ การสะสมของของเสียและอาหารเหลือตกค้างบนพื้นบ่อเลี้ยงทำให้พื้นบ่อเลี้ยงเสื่อมโทรมและเปลี่ยนไปอยู่ในสภาพที่ขาดออกซิเจนส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำที่ในการเลี้ยงกุ้งในรอบต่อไป ผู้เลี้ยงกุ้งทั่วไปนิยมนำเอาดินเลนดังกล่าวออกไปนอกบ่อเพื่อลดความเน่าเสีย ซึ่งนอกจากจะเพิ่มต้นทุนการเลี้ยงกุ้งแล้ว เลนที่นำออกไปโดยไม่มีการจัดการที่ดี อาจก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมกับแหล่งเลี้ยง สุรีรัตน์ฟาร์มจังหวัดจันทบุรีจึงได้นำแนวคิดในการหมุนเวียนเอาของเสียในดินพื้นบ่อกลับมาใช้ใหม่โดยการปลูกสาหร่ายไส้ไก่ให้ดูดซับสารอาหารส่วนเกิน ปรับปรุงคุณภาพน้ำและดินให้เหมาะสม และทำให้เกิดแหล่งอาหารธรรมชาติ จนสามารถเลี้ยงกุ้งกุลาดำให้มีขนาดใหญ่และแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำและดินตะกอนที่เสื่อมโทรม ( ) กุ้งแชบ๊วยเป็นกุ้งทะเลอีกชนิดหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการทั้งภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งเป็นกุ้งชนิดแรกที่ได้มีการเลี้ยงในประเทศไทยโดยใช้รูปแบบการเลี้ยงแบบธรรมชาติหรือกึ่งพัฒนา ในด้านจุดเด่นประเทศไทยมีพ่อแม่พันธุ์กุ้งแชบ๊วยจำนวนมาก สามารถรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ไข่แก่จากท้องทะเลเพื่อนำมาเพาะฟักได้ง่าย ลูกกุ้งราคาไม่แพง และยังสามารถเลี้ยงให้เป็นสายพันธุ์บ้าน (Domestication)ได้อย่างครบวงจร (สุพจน์ และชัยรัตน์, 2543) แต่ปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยยังไม่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเมื่อเทียบกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ หรือกุ้งขาว เนื่องจากเกษตรกรพบว่า และเชื่อว่ากุ้งแชบ๊วยมีสรีระไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมในบ่อเลี้ยง เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 2 เดือน ผลผลิตของกุ้งแชบ๊วยมักจะลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำเอาแนวคิดการพื้นฟูสภาพแวดล้อมภายในบ่อเลี้ยงที่เสื่อมโทรมและหมุนเวียนให้สารอาหารในของเสียให้กลับมาเป็นอาหารธรรมชาติของกุ้งในการเลี้ยงรอบต่อไปจึงเป็นประเด็นของการวิจัยที่น่าสนใจ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จึงได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาบทบาทของสาหร่ายไส้ไก่ต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ดินตะกอนและสร้างอาหารธรรมชาติ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยเชิงพาณิชย์ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
บทบาทของสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis Linnaeus) ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ดินตะกอน และสร้างอาหารธรรมชาติในการเลี้ยงกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis de Man, 1988) เชิงพาณิชย์
กรมประมง
31 ธันวาคม 2554
กรมประมง
สรุปชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเลี้้ยงกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) เพื่อการส่งออก ปีงบประมาณ 2545 - 2547 วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ผลของการสร้างอาหารธรรมชาติโดยการคราดดินเลนและปลูกสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis) ในบ่อเลี้ยงต่ออัตราการเจริญเติบโตและการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเล การปรับปรุงคุณภาพปลาทองโดยใช้รงควัตถุจากธรรมชาติ การเลี้ยงกั้งตั๊กแตน (Harpiosquilla raphidea Fabricus, 1798) ด้วยอาหารชนิดต่างๆ การเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกร (Halymenia durvillei,Bory de Saint-Vincent,1828) ผลกระทบของน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบชลประทานน้ำเค็มต่อปริมาณตะกอนในอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ระหว่างปี 2555-2557 การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแม่น้ำจันทบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก