สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 โดยใช้เทคนิคการกรีด
ชนิดา เยรัมย์, ไพรัตน์ เลื่อนไธสง, สมปอง มหาบัน, ปิยะพงษ์ บุญสรรค์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 โดยใช้เทคนิคการกรีด
ชื่อเรื่อง (EN): Increasing Production of Para Rubber RRIM 600 and RRIT 251 by Cut Technique
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 โดยใช้เทคนิคการกรีด ประกอบด้วย T1 กรีดยางพาราครึ่งต้นกรีดวันเว้นวัน (1/2 S d/2 ) T2 กรีดยางพาราครึ่งต้นกรีดสองวันเว้นวัน (1/2 S 2d/3 ) T3 กรีดยางพาราครึ่งต้นกรีดสามวันเว้นวัน (1/2 S 3d/4 ) T4 กรีด 2 รอยกรีดครึ่งต้นหน้ากรีดที่ 1 กรีดที่ความสูง 80 ซม.และหน้ากรีดที่ 2 กรีดที่ความสูง150 ซม. กรีดวันเว้นวัน (DCA at 80 cm and 150 cm 1/2 S d/2 ) T5 กรีด 2 รอยกรีดครึ่งต้นหน้ากรีดที่ 1 กรีดที่ความสูง 80 ซม.และหน้ากรีดที่ 2 กรีดที่ความสูง 150 ซม. กรีดสองวันเว้นวัน (DCA at 80 cm and 150 cm 1/2 S 2d/3 ) ต่อผลผลิตของยางพารา ในกรณีของยางพาราสายพันธุ์ RRIT 251 จากผลการศึกษาเทคนิคการกรีดยางพาราทั้ง 5 กรรมวิธี มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางที่วิเคราะห์โดยวิธีเมโทแลคและวิธีทางเคมีพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การกรีดยางพาราครึ่งต้นกรีดสองวันเว้นวัน มีผลทำให้ผลผลิตของยางพาราสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ๆ ส่วนในยางพาราสายพันธุ์ RRIM 600 พบว่าเทคนิคการกรีดยางพาราทั้ง 5 กรรมวิธี มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางที่วิเคราะห์โดยวิธีเมโทแลคและวิธีทางเคมีพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การกรีดยางพาราครึ่งต้นกรีดวันเว้นวันมีผลทำให้ผลผลิตของยางพาราสูงสุดเมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่น ๆ คำสำคัญ ยางพารา การกรีด
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to study the effect of tapping systems to enhance latex yield of pararubber, varities of pararubber i. e. RRIT 251 and RRIM 600. The experimental design comprising of 5 treatments with 4 replications. The treatments were as follows : T1 (1/2 S d/2 ), T2 (1/2 S 2d/3 ) , T3 (1/2 S 3d/4 ) , T4 (DCA at 80 cm and 150 cm 1/2 S d/2 ) and T5 (DCA at 80 cm and 150 cm 1/2 S 2d/3 ). The effect of tapping systems on dry rubber content was investigated. It was found that dry rubber content analized by metrolac method and and chemical method of T2 gave the higest percentage ( P < 0.05 ) in varity RRIT 251. For varity RRIM 600, the tapping system in T1 gave the highest dry rubber content compared with other treatments ( P < 0.05 ) . Key word Para Rubber / tapping systems
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 โดยใช้เทคนิคการกรีด
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2555
การคัดเลือกต้นตอยางพาราที่มีความทนทานต่อโรครากขาว และความสามารถในการเข้ากันได้กับกิ่งพันธุ์ RRIM600 และ RRIT251 การศึกษาปริมาณการใช้น้ำของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 การพัฒนาแผนที่พันธุกรรมยางพาราของพันธุ์ RRIM 600 x PB 217 โดยการใช้ microsatellite markers ผลของถ่านชีวภาพต่อการเพิ่มผลผลิตและเติบโต ของยางพารา การศึกษาปริมาณการใช้น้ำของยางพารา พันธุ์ PRIM 600 ปีที่ 3 การเจริญเติบโตและการปรับตัวของยางพารา (Hevea brasiliensis) อายุ 1 ปี พันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 ในสภาวะน้ำท่วมขัง การเพิ่มผลผลิตน้ำยางของยางพาราโดยใช้ระบบกรีดสองหน้ากรีดแบบสลับ ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 ผลของการใช้ RRIMFLOW LET Double Tex และ Ethephonที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตน้ำยางและสรีรวิทยาน้ำยางในยางพาราพันธุ์ RRIM 600 : กรณีศึกษาในจังหวัดสงขลา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก