สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมทางชีวภาพของ แบคทีเรียบริเวณรากพืชในการยับยั้งโรคขอบใบแห้งในข้าวสายพันธุ์เศรษกิจของไทย
มธุรส ชัยหาญ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การควบคุมทางชีวภาพของ แบคทีเรียบริเวณรากพืชในการยับยั้งโรคขอบใบแห้งในข้าวสายพันธุ์เศรษกิจของไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Biological Control of Bacterial Leaf Blight Disease in Thai Economic Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มธุรส ชัยหาญ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการควบคุมโรคขอบใบแห้งของข้าวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas ๐yzae โดยนำแบคที่เรียปฏิปักษ์ที่คัดเลือกจากดินบริเวณรอบรากข้าวในสภาพธรรมชาติของประเทศไทยที่มี ความสามารถในการควบคุมเชื้อ X. oyz0e ในห้องทดลอง จำนวน 3 ไอโซเลท คือ MCB SN. 5.6 และ M15 มา ทดสอบในรูปแบบของสารละลายเซลล์แขวนลอยด้วยวิธี agar diffusion ที่มีความเข้มข้นของเซลล์เท่ากับค่าดูดกลืน แสงที่ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร (OD600 nm) เท่ากับ 0.2 พบว่า M15 ยับยั้ง X. oyzae ได้มากที่สุด โดยมี บริเวณยับยั้งเท่ากับ 1.37:0.33 ชม. รองลงมาคือ SN. 5.6 และ MC 8 มีบริเวณยับยั้งเท่ากับ 0.79-0.38 และ 0.46:0.47 ซม. ตามลำดับ จากนั้นนำแบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลท ไปศึกษาผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของข้าวใน ห้องปฏิบัติการเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ได้แก่น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ โดยวัดความสูงของต้นอ่อนที่อายุ 14 วันบนจาน เพาะ พบว่า M15 ส่งเสริมการเจริญมากที่สุด โดยมีความสูงของต้นอ่อนเท่ากับ 6.98+1.73 ชม. รองลงมา คือ SN. 5.6 และ MC 8 มีความสูง 6.97:2.03 และ 6.30+1.79 ชม. ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีความสูงของต้นอ่อน เท่ากับ 6.59+1.70 ชม. จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่นำมาทดสอบมีความสามารถในการยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้งได้ดี และเชื้อดังกล่าวไม่มีผลกระทบในเชิงลบต่อการเจริญเติบโตของตันอ่อนข้าว เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม
บทคัดย่อ (EN): This study evaluates the efficacy of biological control against bacterial leaf bligh caused by Xanthomonas oryzae. Rhizobacteria were isolated from the rice rhizospere in Thailand and tested for their efficacy against X. oryzae in vitro at the concentration of 0.2 at OD 600 nm. Three rhizobacteria isolates (MC8, SN.5.6, and M15) were tested for antagonistic effect, using agar diffusion assay. Isolate M15 indicate a difference Higher inhibition of X. oryzae with clear zone of 1.37-0.33 cm, followed by isolates SN. 5.6 and MC8 with clear zone of 0.79-0.38 cm. and 0.46t0.47 cm, respectively. All three rhizobacteria isolates were studied for their efficacy on seedling height of rice in vitro in comparison with the control (distilled water). The seedling height was measured at 14th day of the experiment. Isolate M15 yielded higher seedling height of 6.98+1.73 cm,, followed by SN. 5.6 and MC8 with seedling height of 6.97+2.03 cm. and 6.30+0.16 cm,, respectively. The control yielded seedling height of 6.54+1.70 cm. Our results showed that the antagonistic bacteria could inhibit X. oryzae in vitro and did not have negative impact on rice
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมทางชีวภาพของ แบคทีเรียบริเวณรากพืชในการยับยั้งโรคขอบใบแห้งในข้าวสายพันธุ์เศรษกิจของไทย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2556
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวจากธนาคารเชื้อพันธุ์พืชต่อโรคขอบใบแห้ง การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งข้าว การทดสอบความต้านทานของพันธุ์/สายพันธุ์ข้าวต่อโรคขอบใบแห้ง และโรคไหม้คอรวง การประเมินสายพันธุ์/พันธุ์ข้าวจากธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าว และ INGER ต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ที่จังหวัดสกลนคร การศึกษาตำแหน่งของยีนควบคุมต้านทานโรคขอบใบแห้งในข้าว การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในข้าวด้วยวิธีการปลูกพืชที่แตกต่างกัน ปฏิกิริยาของสายพันธุ์/พันธุ์ข้าวจากแหล่งเชื้อพันธุ์ธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าวและ INGER ต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งจังหวัดชัยนาท การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานโรคขอบใบแห้งโดยวิธีการผสมกลับและคัดเลือก ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก