สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดชัยภูมิ
สุนทร ทิพย์ศร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดชัยภูมิ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนทร ทิพย์ศร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2)เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกร 3)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร 4)เปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตข้าวของเกษตรกรที่มีสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ร่วมดำเนินการจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์200ไร่ตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดชัยภูมิจำนวน 394 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าไคสแควร์ และค่าน้ำหนักคะแนนเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.6 ปี สมรสแล้ว จบชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกเป็นแรงงานในการปลูกข้าว เฉลี่ย 3.5 คน เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเองเฉลี่ย 22.0 ไร่ ส่วนมากใช้ในการทำนา ทั้งหมดใช้เงินทุนของตนเองเพื่อลงทุนในการปลูกข้าว มีหนี้สินเฉลี่ย 55,527 บาท ในปีที่ผ่านมามีรายได้จากภาคเกษตรเฉลี่ย 18,579 บาท มีพื้นที่นา เฉลี่ย 16.7 ไร่ ปลูกทั้งข้าวเหนียว ข้าวเจ้าในฤดูนาปี พื้นที่นาส่วนมากเป็นที่ดอน เนื้อดินร่วนปนทราย พันธุ์ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี ข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ส่วนข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6 ในฤดูนาปรังเป็นพันธุ์ชัยนาท 1 ทำนาโดยวิธีหว่านใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 18.2 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาทำนาโดยวิธีปักดำใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 7.3 กิโลกรัมต่อไร่ เริ่มทำนาเดือนมิถุนายน เกษตรกรมากกว่าครึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ของตนเอง อาศัยน้ำฝนและแหล่งน้ำธรรมชาติในการผลิตข้าว เครื่องจักรกลที่ใช้เป็นเครื่องจักรกลในการเตรียมดิน มากกว่าครึ่งใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ค่าใช้จ่ายในการทำนาเฉลี่ยไร่ละ 1,373.1 บาท ผลผลิตเฉลี่ย 385.5 กิโลกรัมต่อไร่ ทยอยขายผลผลิตเมื่อต้องการใช้เงิน เทคโนโลยีในการผลิตข้าวที่เกษตรกรยอมรับระดับมากคือ การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม การเก็บและเตรียมเมล็ดพันธุ์ มีการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว การกำหนดช่วงปลูก การไถพรวน การกำหนดระยะปลูก จำนวนต้นต่อกอ การใช้กล้าที่เหมาะสม การใส่ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง การเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง การนวดและตากอย่างถูกวิธี ปัญหาในการผลิตข้าวของเกษตรกรมีทั้งหมด 7 ด้าน คือ ปัญหาดิน น้ำ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคแมลงวัชพืช การระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าววัชพืช และ การตลาด ปรากฏว่าเกษตรกรมีปัญหาในการผลิตข้าวในระดับมากคือการตลาดนอกจากนั้นมีปัญหาในระดับปานกลาง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดชัยภูมิ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดชัยภูมิ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริม และผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลขามป้อม อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกรโครงการศูนย์ ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2545 อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก