สืบค้นงานวิจัย
ผลของอาหารสำเร็จรูปผสมผงฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Nees) ต่อการแสดงออกของยีนในระบบภูมิคุ้มกันและอัตรารอดหลังได้รับเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)
จุไลวรรณ รุ่งกำเนิดวงศ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของอาหารสำเร็จรูปผสมผงฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Nees) ต่อการแสดงออกของยีนในระบบภูมิคุ้มกันและอัตรารอดหลังได้รับเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Kariyat (Andrographi paniculata) on Expression of Immune-related Genes and Survival of Pacific White Shrimp After White Spot Syndrome Virus Challenge (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จุไลวรรณ รุ่งกำเนิดวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Juliwan Roongkamnertwongsa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: กุ้งขาวแวนนาไม (White leg shrimp) เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งรูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมเป็นการเลี้ยงแบบหนาแน่นทำให้กุ้งมีโอกาสเกิดความเครียดอ่อนแอและเกิดโรคได้ง่าย โรคไวรัสตัวแดงดวงขาว (white spot syndrome virus) เป็นปัญหาและอุปสรรคสำหรับการเลี้ยงกุ้งทั่วโลกรวมทั้งอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาวิจัยถึงแนวทางป้องกันและแก้ไขที่สามารถนำปประยุกต์ใช้จริงในการเลี้ยงกุ้งได้ การนำสมุนไพรมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการเกิดโรคในสัตว์น้ำ โดยอาศัยฤทธิ์ของสมุนไพรที่มีทั้งกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น (Yin et al., 2009 and Vasudeva Rao et al., 2004) หรือฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค (Direkbusarakom et al., 1998 และ Muniruzzaman and Chowdhury, 2004) การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงสัตว์น้ำมีวิธีหลัก 2 วิธี (Daniel, 2009) คือ การใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารเม็ด (feed additive) และการเคลือบบนอาหารเม็ด (surface-coated) อย่างไรก็ตามวิธีที่เหมาะกับเกษตรกรทั้งในด้านต้นทุนการผลิตและขั้นตอนการเตรียมอาหาร คือ วิธีการเคลือบบนอาหารเม็ด จากการศึกษาที่ผ่านมาสมุนไพรที่นำมาเคลือบบนผิวเม็ดอาหารเป็นรูปแบบของสารสกัดแอลกฮอลล์ซึ่งเกษตรกรเตรียมใช้ได้ยาก การศึกษาครั้งนี้จึงสนใจใช้สมุนไพรในรูปแบบของผงสมุนไพรที่ไม่ได้ผ่านการสกัด สมุนไพรที่เลือกใช้คือฟ้าทะลายโจร (Kariyat, Andrographis paniculata) ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวได้ โดยจะนำผงฟ้าทะลายโจรมาเคลือบอาหารซึ่งเป็นแนวทางที่เกษตรสามารถทำได้จริงภายในฟาร์ม การศึกษาครั้งนี้จะศึกษาผลของผงฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไม โดยเทคนิคทางอณูชีวโมเลกุล พร้อมทั้งศึกษาพฤติกรรมการกินอาหารของกุ้งขาวแวนนาไม เพื่อเป็นความรู้และแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำสมุนไพรไปใช้ในสัตว์น้ำ
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 220,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอาหารสำเร็จรูปผสมผงฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Nees) ต่อการแสดงออกของยีนในระบบภูมิคุ้มกันและอัตรารอดหลังได้รับเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)
กรมประมง
31 ธันวาคม 2556
กรมประมง
ผลของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการ เจริญเติบโต การรอดตาย และระบบภูมิคุ้มกัน แบบไม่จำเพาะเจาะจงของ กุ้งขาวแวนนาไม(Litopenaeus vannamei) และความต้านทานต่อเชื้อ Vibrio spp. อัตราการหายใจ ผลผลิตขั้นต้น คุณภาพน้ำและดินในบ่อเลี้ยงกุ้งขาว (Penaeus vannamei Boone, 1931) แบบพัฒนา ประสิทธิภาพของฟ้าทะลายโจรที่เคลือบด้วยสารยึดเกาะต่างชนิดกันต่อระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรคในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) การศึกษาโครงสร้าง complementary DNA และการแสดงออกของยีน Insulin like growth factor-I ในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ผลของสารสกัดขมิ้นชันในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและเพิ่มความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อทดแทนปลาป่นในอาหารสำเร็จรูปของกุ้งขาว Litopenaeus vannamei (Boone, 1931) ผลของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer,Bloch, 1970) การสืบค้นและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในไตส่วนหน้าและม้ามของปลานิล (Oreochromis niloticus) ที่ได้รับเชื้อ Streptococcus agalactiae ผลของความกระด้างของน้ำต่ออัตราการฟักของไข่และอัตราการรอดตายของลูกกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ระดับวัตถุดิบจากพืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการใช้เป็นแหล่งโปรตีนหลักในอาหารสำหรับกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) และปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก