สืบค้นงานวิจัย
ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง
อัญชลี ประเสริฐศักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง
ชื่อเรื่อง (EN): Viability and quality changes in brown rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anchalee Prasertsak
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง เป็นข้อมูลสำคัญในการจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า ทำการศึกษาที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ปี พ.ศ. 2545-2547 มี 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การสำรวจความมีชีวิตและคุณภาพของข้าวกล้องในระดับการค้า โดยเก็บตัวอย่างข้าวกล้องจากโรงสีและผู้ประกอบการส่งออกจำนวน 57 ตัวอย่าง พบว่า ความมีชีวิตของข้าวกล้อง 0, 1-25, 26-50 และ 80-100% คิดเป็นร้อยละ 5, 6, 12, 23 และ 54 ตามลำดับ คุณภาพข้าวกล้องจัดอยู่ในประเภทข้าวอมิโลสต่ำ ค่าคงตัวของแป้งสุกอ่อน และมีความหอม ระดับ 1-2 ปริมาณกรดไขมันอิสระ 14.04-50.78 มิลลิกรัม KOH/แป้ง 100 กรัม ปริมาณสารพิษ Aflatoxin B1 0-11 ppb ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน (20 ppb) การทดลองที่ 2 ศึกษาความยาวนานของความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า ความมีชีวิตของข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105 ลดลงจาก 90% ในช่วงบรรจุถุง เหลือ 48 และ 26% ในเดือนที่ 3 ของการเก็บรักษา ในสภาพสุญญากาศและสภาพปิดผนึกปกติ ตามลำดับ และลดเหลือ 5 และ 0% ในเดือนที่ 6 ปริมาณอมิโลสและค่าการสลายตัวของเมล็ดในด่างไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา ข้าวกล้องที่บรรจุถุงในสภาพสุญญากาศเริ่มพบการทำลายของแมลงในเดือนที่ 8 ของการเก็บรักษา ส่วนข้าวกล้องที่บรรจุถุงในสภาพปิดผนึกปกติ พบการทำลายของแมลงในเดือนที่ 4
บทคัดย่อ (EN): Viability and quality changes of brown rice are important to find out the appropriate approach of brown rice management in trade. Two experiments, (1) Survey on viability and qualities of brown rice in trade and (2) Longevity and quality changes of brown rice after harvest, were carried out in Pathum Thani Rice Research Center during 2002-2004. Viability of brown rice sampled from millers and exporters at the range of 0, 1-25, 26-50 and 80-100% were found at 5, 6, 12, 23 and 54%, respectively. Low amylose content, soft gel consistency and 1-2 aromatic level were found in all samples. Free fatty acid was 14.04-50.78 mg KOH/100 g starch. Aflatoxin B1 of the samples were detected in the range of 0-11 ppb which were below maximum level against standard (20 ppb). Viability of KDML105 brown rice dropped to 48 and 26% within 3-month storage and dropped to 5 and 0% within 6-month storage in vacuum filling and normal package, respectively. Amylose content and gelatinization temperature did not change during 10-month storage. Free fatty acid increased with storage time. Brown rice stored in laminated plastic bag with vacuum filling was damage due to insect invasion within 8-month of storage whereas that in normal laminated plastic bag was damage within 4 months.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328616
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง
กรมการข้าว
2547
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การรักษาคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีแกมมาเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ข้าวกล้องงอกเพิ่ม กาบา การจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า ผลของการใช้รังสีแกมมาต่อคุณภาพของข้าว การเปลี่ยนแปลงคุณภาพข้าวในระหว่างการเก็บรักษาและการเร่ง/ชะลออายุข้าว การเปลี่ยนแปลงคุณภาพความสดของกั้งตั๊กแตนภายหลังการจับ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก