สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
วิลาสลักษณ์ ว่องไว - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Development on Economic Crop Production Technology in the Upper Northern Region
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิลาสลักษณ์ ว่องไว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิลาสลักษณ์ ว่องไว
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ดำเนินการระหว่างปี 2551 -2553 ในพื้นที่เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลตอบแทนและเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืช 11 ชนิด คือ ลำไย มะม่วงน้ำดอกไม้ เงาะ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน พริกชี้ฟ้า หอมหัวใหญ่ ถั่วฝักยาว เห็ด และไม้ดอกลิลลี่ ผลการดำเนินงานพบว่า การผลิตลำไยนอกฤดูในสภาพพื้นที่ดอน และการชักนำให้ออกดอกในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนนั้น การใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทดสอบทำให้ได้ผลผลิตลำไยนอกฤดูเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 และมีความคุ้มทุนในการทำ (ค่า Benefit Cost Ratio มากกว่า 1) การผลิตลำไยในฤดูที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ได้เทคโนโลยีการควบคุมทรงพุ่ม โดยพิจารณาการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสมและการจัดทรงพุ่มลำไยให้เตี้ยลง สามารถลดค่าใช้จ่ายการจัดการสวนลง เช่น ค่าแรงงานเก็บเกี่ยว ค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อส่งออกได้วิธีการที่พัฒนาคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตคือ การใช้ถุงคาร์บอน 2 ชั้นที่ใช้แล้ว 1-2 ปีห่อผลมะม่วงแทนถุงใหม่ ลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 20-40 ขนาดผลมะม่วงที่เหมาะสมสำหรับห่อผลคือ 9-11 เซนติเมตร ทำให้ได้ปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมากขึ้น มีปริมาณผลขนาดเกรด A และ B เพิ่มขึ้น และลดปริมาณผลที่เป็นปากนกแก้ว การใช้ไคโตซาน 2,000 ppm อัตรา 5 ลิตรต่อต้นพ่นทั่วทรงพุ่ม สามารถป้องกันการเกิดโรคแอนแทรคโนสและขั้วผลเน่า และสามารถใช้ทดแทนและลดการใช้สารเคมีปกติของเกษตรกร ลดต้นทุนได้ร้อยละ 15 การจัดการสวนเงาะโดยปรับใช้เทคโนโลยีตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP สามารถพัฒนาผลิตผลเงาะได้ โดยเพิ่มขนาดของผล สำหรับการปลูกถั่วเหลืองหลังนาโดยใช้สายพันธุ์ MJ9518-2 และใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 804-867 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 การทดสอบพันธุ์ถั่วลิสงสายพันธุ์ดี 3 สายพันธุ์ พบว่าให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ที่เกษตรกรปลูกร้อยละ 3-41 และการปรับใช้เทคโนโลยีการปลูก โดยคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อไรโซเบียมและสารป้องกันกำจัดเชื้อราเมทาแลกซิล ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ยิปซัมอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และพ่นปุ๋ยทางใบแคลเซียม โบรอนเสริมช่วงก่อนออกดอกและติดฝัก ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การปลูกข้าวโพดหวานหลังนาโดยการใส่ปุ๋ย 3 ครั้งคือ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 2 ครั้ง ทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 14 สำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเสียหายของพริกชี้ฟ้าจากโรคและแมลง กรรมวิธีที่แนะนำมีแนวโน้มที่ลดการเป็นโรคได้ เช่น จำนวนต้นพริกตายลดลง แต่ความเสียหายของพริกมีสาเหตุจากโรคและแมลงหลายชนิด รวมทั้งสภาพแวดล้อม จึงจำเป็นที่ต้องนำเทคโนโลยีหลายด้านมาผสมผสานกัน และต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การปลูกหอมหัวใหญ่หลังนาโดยใช้ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดิน ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี N และ P ได้ โดยที่ผลผลิตและคุณภาพของผลิตผลคือ ขนาดของหัวหอมที่ส่งออก (หัวหอมขนาดเบอร์ 0 และ เบอร์ 1)ไม่ลดลง ถั่วฝักยาว พันธุ์ถั่วฝักยาวน่าน 1 เป็นพันธุ์แนะนำที่เหมาะสมสำหรับการรับประทานสด ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตส่วนใหญ่ของคนพื้นบ้านภาคเหนือ สำหรับการเพาะเห็ด การใช้ก้อนเห็ดเก่าที่เก็บผลผลิตหมดแล้วมาหมุนเวียนเป็นวัสดุเพาะเห็ดใหม่ สามารถลดต้นทุนการเพาะเห็ดได้ คือใช้ก้อนเพาะเห็ดเก่าของเห็ดหอม เห็ดนางฟ้า นางรม มาผสมกับวัสดุเพาะเห็ดใหม่ในสัดส่วนที่เหมาะสม สามารถเพาะเห็ดฟางในตะกร้าได้ ลดต้นทุนได้ 16 บาทต่อตะกร้าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฟางข้าวเพาะ และสามารถเพาะเห็ดเป๋าฮื้อได้ โดยลดต้นทุนการผลิต 1.08 บาทต่อถุงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ลิลลี่ปากแตรหน้าตั้ง เทคโนโลยีที่แนะนำสามารถทำให้ได้ผลผลิตดอกลิลลี่คุณภาพเกรด A และ B เป็นส่วนใหญ่ เมื่อเทียบกับวิธีของเกษตรกรที่ไม่มีดอกขนาดเกรด A ขณะที่การผลิตหัวพันธุ์สามารถได้หัวพันธุ์เกรด C และ D เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การผลิตของเกษตรกรไม่มีหัวพันธุ์ขนาดเกรด C เลย
บทคัดย่อ (EN): The project of cropping system development on economic crops in the upper northern was conducted during 2008- 2010 in agricultural area of Chiangmai, Chiangrai, Lumphun, Lampang, Phare and Nan province. This project has purpose to increase quantity and quality of 11 types of crops: longan, mango, rambutan, soybean, peanut, sweet corn, chili, onion, mushroom, yard long bean and lily. Results in over all showed that producing off-season longan in upland area and inducing flowering in summer and rainy seasons of longan, the recommended technology made 5% yield increasing and got benefit in return (Benefit Cost Ratio more than 1). Production of 10 years old longan orchard, canopy control technology with considering suitable pruning and lower longan canopy were able to decrease cost of inputs such as harvested labor, insecticide and pesticide. Mango (Nam Dokmai) production for export had procedure to increase quality and decrease cost of inputs by using used 2 layer carbon bag to wrap mango instead of new bag. This procedure can decrease cost of inputs by 20-40%. The suitable size for wrapping 9-11 centimeter leaded to increasing grade A and B of mango size and decreasing in misshape of mango. Using 5 liters of chitosan per plant spay over canopy could prevent antracnose and stem end rot diseases and can use instead of normal chemical substance so cost of inputs decrease by 15%. Using technology according to quality management system GAP in rambutan orchard could improve fruit size. Growing soybean after rice by using MJ9518-2 line and 12-24-12 fertilizer with rate of 20-25 kilogram per rai increased profit around 804-867 baht per rai compares with planting Chiangmai 60 . Comparing 3 lines of peanut experiment showed that these lines gave yield 3-41% more than Kalasin 2. Using recommended technology by mixing seed with rhizobium and metalaxyl and applied 12-24-12 fertilizer with rate of 25 kilogram per rai, gypsum with rate of 50 kilogram per rai, spaying calcium and boron fertilizer to leaf before flowering and pod bearing make increasing in yield. Sweet corn growing after rice by using 3 times of 15-15-15 fertilizer with rate of 25 kilogram per rai and 2 times of 46-0-0 fertilizer with rate of 25 kilogram per rai could decrease cost of inputs by 14%. Reduced yield lost of chili from diseases and insects experiment, recommended technology had trend to decrease in disease such as number of died plant decreased. However the damages of chili caused by many diseases and insects incorporated with environment thus integrated technologies have to be applied and continuously research required. Onion planting after rice by using fertilizer according to soil analysis caused in decreasing amout of N and P fertilizers application without decreasing in yield and quality of export onion (Onion size 0 and 1). Yard long bean variety Nan 1 is suitable for fresh cooking which is not match with culture of northern people . Reuse harvested mushroom substrate as a new mushroom substrate could decrease cost of inputs. Mixing used mushroom substrate of grey oyster mushroom, oyster mushroom and Shiitake mushroom with new mushroom substrate in suitable ratio can produce straw mushroom in basket which decreased cost of inputs by 16 baht per basket compare with using straw substrate. Moreover, abalone mushroom also can be produced with 1.08 baht per bag result in decreasing cost of inputs compare with using para rubber saw dust. Producing lily in highland , suggested technology caused lily had grade A and B of cutted flower compare with farmers’ method that had no grade A. Moreover, to produce tuber propagation this technology caused better grade of tuber propagation (grade C and D), while farmers’ method has no grade C at all.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การใช้เชื้อ Ectomycorrhiza ในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก