สืบค้นงานวิจัย
แนวทางเชิงระบบสำหรับการวิเคราะห์ระบบเกษตรเพื่อการพัฒนา
ยศ บริสุทธิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: แนวทางเชิงระบบสำหรับการวิเคราะห์ระบบเกษตรเพื่อการพัฒนา
ชื่อเรื่อง (EN): System approaches to agricultural systems analysis for development
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยศ บริสุทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Yos Borisutdhi
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การพัฒนาหรือวิจัยการเกษตรที่เหมาะสมจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจพื้นที่เป้าหมายก่อนเป็น อันดับแรก ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉเพาะอย่างยิ่งประชาชน หรือเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ จะคิดไม่เหมือนกันเพราะมีบริบทและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ซึ่งเราต้องให้ความเคารพ ความแตกต่างนั้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาหรือการวิจัยด้านการผลิตทางการเกษตรก็เช่นกัน หากมุ่งเฉพาะวิธีการปฏิบัติ ในฟาร์มหรือเฉพาะเรื่องหรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความสลับซับซ้อนของบริบทและเงื่อนไขที่เป็นอยู่ อาจผิดไปจากความจริงที่เป็นอยู่ในพื้นที่ เนื่องจากการผลิตของครัวเรือนเกษตรกรเป็นระบบการบริหารจัดการแบบองค์รวม ซึ่งไม่เฉพาะวิธีการปฏิบัติอยู่ในฟาร์มเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตหรือการทำมาหากิน ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งภายในและภายนอกฟาร์ม ดังนั้นการมองในเชิงระบบจะทำให้เข้าใจความสลับซับซ้อนของ องค์คาพยพ (components) และพฤติกรรมของระบบครัวเรือนและชุมชนที่เป็นอยู่ในแต่ละพื้นที่ทั้งในระดับได้ดีขึ้น ซึ่งหลักการ และกระบวนการที่สามารถประยุกต์ใช้กับแนวทางเชิงระบบดังกล่าวนี้ ได้แก่ แนวคิดการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ แนวคิดเกี่ยวกับระบบและการคิดเชิงระบบ การวิเคราะห์ะบบนิเวศเกษตรตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ต่างๆ โดยเฉพาะ ทคนิคการประเมินสภาวะชุมชนแบบแร่งด่วนซึ่งใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตามผู้วิเคราะห์ต้องทำ ความเข้าใจวิธีการหรือเทคนิคการวิเคราะห์ระบบ อีกทั้งต้องทำการวิเคราะห์เป็นทีมที่ประกอบด้วยผู้รู้จากหลายสาขา การวิเคราะห์ระบบดังกล่าวสามรถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ (1ระยะการนิยามระบบเป็นการพัฒนาประเด็นหรือโจทย์ คำถามวิจัย วัตถุประสงค์ ขอบเขต และกรอบในการวิเคราะห์ (conceptual framework) (2) ระยะการวิเคราะห์รูปแบบ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือคู่คิด conceptual tools) และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ และ (3) ระยะ การวิเคราะห์ระบุ ปัญหาและศักยภาพของระบบและเสนอแนวทางการพัฒนาหรือวิจัย การวิเคราะห์โดยใช้แนวทางเชิงระบบ ดังกล่าวนี้สามารถนำไปปรับหรือประยุกต์ใช้ได้ในหลายระดับและ/เหรือหลายเรื่องตามความเหมาะสมโดยเฉพาะด้าน การเกษตร อาทิ ใช้ในการวิเคราะห์ระบบการผลิตข้าวในพื้นที่อันนำไปสู่การเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเข้าสู่ระบบ การผลิตแบบอินทรีย์ที่สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่
บทคัดย่อ (EN): Appropriate agricultural development or research must be based on understanding of target areas. Each area is different on physical, biological, economic and society especially, people or society in the each area. People in different areas think differently due to different contexts and conditions. We must respect their differences. However, most of the agricultural development activities or agricultural production researches narrowly focus on a practice or any particular activity which may not fit their contexts and conditions without considering complex interactions within the area. Because each households’ productions are holistically managed, not only farming practices but they also engage in other activates in their livelihood inside or outside their farms. System approaches will enable us to analyze and understand complex interaction of components and behaviors of household and community existing system holistically in each area. There are principles and processes that can be applied in system approach such as area oriented development, systems thinking and concepts, human ecology, agro-ecosystem analysis, and rapid rural appraisal technique for data collection and analysis. However, analyzer must learn method or technique for systems analysis and inCharoenwatanaisciplinary team working. This approach has 3 steps start form; (1) systems definition as well as finding the research or development issue, objective, scope, and conceptual framework, (2) pattern analysis by applying conceptual tools and other tools (3) systems identification, problem, potential, and present guideline for development or research. This system approach can be applied for analysis at various levels and/or issues, especially in agricultural sector such as application to rice production analysis for present extension and development guideline to meet organic rice production systems based on each area oriented.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=11-Yos.pdf&id=255&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางเชิงระบบสำหรับการวิเคราะห์ระบบเกษตรเพื่อการพัฒนา
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางการพัฒนาด้านระบบการเงินและงบประมาณ รูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาระบบการผลิตมะม่วงอย่างยั่งยืนเชิงบูรณาการในภาคเหนือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้งานกับระบบพลังงานของประเทศไทย ผลลัพธ์ของทุน 5 ด้านต่อการพัฒนาระบบการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน บทบาทการบริหารงานของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา : กรณีศึกษาจังหวัดแพร่ แนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุในพื้นที่ท่องเที่ยวเขตทหาร แนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมกรรมวิธีอบแห้งผักผลไม้เมืองหนาวเพื่อการค้า ในระดับการนำไปใช้สำหรับเกษตรกร แนวทางการพัฒนาชีวิตเชิงวิถีธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ การปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลำไยในเชิงประสิทธิภาพใบและการพัฒนาของผลภายใต้ระบบจัดแต่งทรงต้นที่แตกต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก