สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินกับคุณภาพน้ำในระบบนิเวศแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม
อังศุมา ก้านจักร - มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินกับคุณภาพน้ำในระบบนิเวศแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Biodiversity of Benthos and Water Quality in Chi River Ecology, Maha Sarakham Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อังศุมา ก้านจักร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมี และความ หลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำชี บริเวณที่ไหลผ่านจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมือง โดยกำหนดพื้นที่ศึกษาเป็นจำนวน 6 จุด ตามความยาวของแม่น้ำชี ในแต่ละจุดจะทำการเก็บตัวอย่างน้ำจำนวน 3 ครั้ง (ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 - เดือนกันยายน พ.ศ. 2555) พารามิเตอร์ที่ทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำ ได้แก่ อุณหภูมิ ความโปร่งแสง ความเป็นกรด - เบส (PH) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ปริมาณออกซิเจนที่จุสินทรีย์ใช้ในการย่อยสลาย สารอินทรีย์ (BOD) ปริมาณไนเตรทในรูปในโตรเจน (NO, - N)และปริมาณฟอสเฟ่ต(PO.") ผลการศึกษา คุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำของแม่น้ำชี แต่ละพารามิเตอร์มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ช่วงดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ 29.66 - 31.33 C ความโปร่งแสง 5.76 - 10.16 เชนติเมตร ความเป็นกรด - เบส (pH) 7.96 - 8.40 ปริมาณออกชิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) 7.56 - 8.60 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ใน การย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (BOD) 2.43 - 3.23 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณไนเตรทในรูปไนโตรเจน (NO;-N) 0.66 - 1.:23 มิลลิรัมต่อลิตร และปริมาณฟอสเฟต (PO, ) 0.106 - 0.376 มิลลิกรัมต่อ ลิตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน สามารถจัดอยู่ในประเภทที่ 3 ความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ผลการศึกษาสัตว์หน้าดินในแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม พบสัตว์หน้าดิน 3 ไฟลัม คือ Phylum Arthopoda Phylum Mollusca และ Phylum Annelida ซึ่งพบ Phylum Arthopoda มากที่สุด พบ 5 Order 9 Family โดยFamily ที่พบมากที่สุด คือ Family Palaemonidae รองลงมา คือ Phylum Mollusca wu 3 Order 4 Family และพบน้อยที่สุด คือ Phylum Annelida พu 1 Order 1 Family สำหรับดัชนีความหลากหลาย (H ) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.22 ดัชนีความสม่ำเสมอในการ กระจาย(] ) จำนวนเฉลี่ยเท่ากับ 0.72 (72%) และดัชนีความชุกชุมทางชนิด (R) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.99
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to investigate water quality in term of physical and chemical characteristics and diversity of benthic fuana in the Chi River. The study is included 6 points along the rivers length which flow through Kosumpisai, Kantarawichai and Maung Distric, Mahasarakham Province. At each site, the water samplings were collected for 3 times (between October 2011 - September 2012). The analytical parameter included temperature, transparency, pH, dissolved oxygen (DO), biochemical oxygen demand (BOD), NO3 -N and PO The results of the research were as followings: Water quality: The results of physical and chemical water quality were as followed : the everage water temperature was 29.66 - 31.33 C, transparency was 5.76 - 10.16 cm., dissolved oxygen (DO) was 7.56 - 8.60 ml/L., biochemical oxygen demand (BOD) was 2.43 - 3.23 mVL., NO -N was 0.66 - 3.23 mVL. ad P ws 0.106 - 0.376 mYL.Wr quality in the Chi River could be categorized into type 3 compared with standard quality of surface water. Benthos diversity: Three Phylums were found in the area; Phylum Arthopoda, Phylum Mollusca and Phylum Annelida, respectively. In Phylum Arthopoda, 5 Order and 9 Families (with the highest amount of Family Palaemonidae) were found. There were 3 Order and 4 Families found in Phylum Mollusca. And there were an Order and a Family in Plylum Annelida which was found least compare with the other two phylums above. The diversity index (H) is 1.22, The average of Eveness Value (J) is 0.72 (72%) and the Taxa Richness Index (R) is 0.99.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินกับคุณภาพน้ำในระบบนิเวศแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
30 กันยายน 2555
ผลของการเลี้ยงปลาและการปลูกผักกระเฉด ต่อความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอน สัตว์หน้าดิน และคุณภาพน้ำ ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง 2559A17002023 ความหลากหลายของแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดินบริเวณแม่น้ำน่าน ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแม่น้ำจันทบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำของชุมชนในบริเวณแม่น้ำชี ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก