สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 ต่อการเพิ่มผลผลิตแก้วมังกร ในดินทราย
จุไรพร แก้วทิพย์, พัทธ์กานต์ เนียมอยู่, สลิลรัตน์ วิชัยพานิช - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 ต่อการเพิ่มผลผลิตแก้วมังกร ในดินทราย
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable soil management integrated with bio-fertilizer LDD 12 for increasing dragon fruit production in Sandy Soil
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยชีวภาพต่อการเพิ่มผลผลิตแก้วมังกรในดินทราย ทำการทดลองที่บ้านศาลา ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือน กันยายน 2556 โดยมีทั้งหมด 7 ตำรับการทดลอง คือ 1) แปลงควบคุมหรือวิธีเกษตรกร 2) วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดิน 3) วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 4) วิธีการใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 2 3 และ พด. 7 5) วิธีการใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 2 3 พด.7 และ พด.12 6) วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดิน และสารเร่ง พด. 12 7) วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน และสารเร่ง พด. 12 การศึกษาด้านการเจริญเติบโตของแก้วมังกร ได้แก่ การวัดความยาวของกิ่งแก้วมังกร พบว่าในปี 2554 ทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95 เปอร์เซ็นต์ แต่ในปี 2555 และ 2556 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95 เปอร์เซ็นต์ โดยความยาวกิ่งในตำรับการทดลองที่ 2 และ 3 จะให้ค่าเฉลี่ยของความยาวกิ่งแก้วมังกรมากที่สุด สำหรับผลผลิตแก้วมังกร ได้ทำการเก็บข้อมูลความยาวผล เส้นผ่าศูนย์กลางผล (ความกว้างผล) จำนวนผล และน้ำหนักผล พบว่าในปี 2554 และปี 2556 มีค่าเฉลี่ยความยาวของผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95 เปอร์เซ็นต์ โดยตำรับการทดลองที่ 6 และ 7 ให้ค่าเฉลี่ยความยาวของผลที่สูงที่สุด เส้นผ่าศูนย์กลางของผลในปี 2554 และ 2555 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95 เปอร์เซ็นต์ แต่แตกต่างกันในปี 2556 โดยตำรับการทดลองที่ 6 ให้ค่าเส้นผ่าศูนย์กลางผลมากที่สุด จำนวนผลแก้วมังกร พบว่า ทุกตำรับการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95 เปอร์เซ็นต์ โดยปี 2554 และปี 2556 ตำรับการทดลองที่ 6 ให้ค่ามากที่สุด ในขณะที่ ปี 2555 ตำรับการทดลองที่ 7 มีค่ามากที่สุด ในขณะที่น้ำหนักผลของแก้วมังกร ในปี 2554 และ ปี 2556 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95 เปอร์เซ็นต์ โดยตำรับการทดลองที่ 6 ให้ค่ามากที่สุดทั้งสองปี แต่ในปี 2555 ซึ่งค่าเฉลี่ยน้ำหนักผลใกล้เคียงกับปี 2556 แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าการเจริญเติบโตของต้นแก้วมังกร โดยวัดจากความยาวกิ่งนั้นตำรับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยตามอัตราค่าวิเคราะห์ดิน และครึ่งหนึ่งของอัตราค่าวิเคราะห์ดินให้ค่าสูงที่สุด ในขณะที่การวิเคราะห์ผลผลิตที่ได้ในทุกด้านนั้น จะพบว่าตำรับการทดลองที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของค่าวิเคราะห์ดิน และตามอัตราค่าวิเคราะห์ดิน ร่วมกับการใส่สารเร่งพด.12 จะให้ผลผลิตที่ดีกว่าตำรับการทดลองอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ตำรับการทดลองที่มีการใช้สารเร่ง พด.1 2 3 และ 7 และตำรับการทดลองที่มีการใส่สารเร่ง พด.1 2 3 7 และ 12 ให้ผลผลิตสูงในระดับหนึ่ง และยังเป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ประหยัดแล้วยังได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยมากกว่า
บทคัดย่อ (EN): Suitable soil management integrated with bio-fertilizer for increasing Dragon fruit production in Sandy Soil. It was conducted at Ban Sala, Don Kaew, Mae Rim, Chiang Mai during October 2010 to September 2013. The objectives of the research are to study on changes in soil physical and chemical properties after soil improvement in Soil Series 22 and increasing the yield of dragon fruit under various soil management methods. There are 7 treatments. 1) Controlling plot or farmers method. 2) 1/2 chemical fertilizer of soil analysis application method. 3) Chemical fertilizer application method. 4) Accelerator Super LDD 1, 2, 3 and LDD 7 application method 5) Accelerator Super LDD 1, 2, 3 LDD 7 and 12 application method 6) 1/2 chemical fertilizer of soil analysis and accelerator LDD 12 application method 7) Chemical fertilizer and accelerator LDD 12 application method. The study on the growth of dragon fruit, measuring the length of dragon branches, found that in 2011 all treatments were not significantly different at 95%. However, in 2012 and 2013, there were statistically significant differences of 95 percent. The lengths of branches in treatments 2 and 3 gave the highest average length of dragon branch. For dragon fruit yield, the data were collected in length, diameter (fruit width), number of fruits and fruit weight. It was found that in the year 2011 and 2013, the average fruit length was significantly different at 95%. Treatment 6 and 7 gave the highest average length of fruit. Diameters (fruit width) in 2011 and 2012 were not significantly different at 95% but different in 2013. Treatment 6 was the highest diameter. For number of fruits, the results showed that all treatments were statistically significantly different at 95 percent. In 2011 and 2013, the sixth experiment was the most significant. While the 2012 treatments the 7th highest valuable. For the fruit weight of dragon fruit in year 2011 and year 2013 were significantly different at 95 percent, the sixth experiment was the most significant for the two years. However in 2012, the average fruit weight similar to 2013 but no significant difference was statistically significant at 95 percent. It can be concluded that the growth of dragon fruit based on the length of the branches. Chemical fertilizer treatments were applied at the rate of soil analysis and half of the soil analysis rate is the highest. While analyzing the yield on all sides, it was found that the experimental formulation contained half of the chemical fertilizer and according to soil analysis rate put together with the accelerator, LDD 12 will yield better than other treatments. However, treatments with accelerator Super LDD 1, 2, 3 and LDD 7 and test formulations with accelerator Super LDD 1, 2, 3 LDD 7 and 12 also gave high yields at one level. The use of biotechnology it not only saving but it’s also getting more secure yields.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 ต่อการเพิ่มผลผลิตแก้วมังกร ในดินทราย
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การจัดการดินและปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อปลูกสับปะรดในดินทรายกลุ่มชุดดินที่ 40 ระบบการจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสดและปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตสับปะรดในกลุ่มชุดดินที่ 36 ชุดดินปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ การจัดการดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 และปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต และผลผลิตของปาล์มน้ำมันในกลุ่มชุดดินที่ 6 การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การจัดการดินและปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อปลูกข้าวโพดหวานในดินทรายกลุ่มชุดดินที่ 40 การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ และแหนแดงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตของผักคะน้า ข้าวโพดฝักอ่อนภายใต้การปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มชุดดินที่ 7 การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสดหลายชนิด สำหรับการปลูกข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 7 การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงปลอดสารเคมีในกลุ่มชุดดินที่ 29

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก