สืบค้นงานวิจัย
ผลของน้ำมันกานพลูในการสลบและการลำเลียงปลาตะเพียนขาว
จิราพร กุลคำ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของน้ำมันกานพลูในการสลบและการลำเลียงปลาตะเพียนขาว
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Clove Oil as Anesthetizing in Handling and Transportation for Puntius gonionotus
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิราพร กุลคำ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jirapon Kulkham
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของน้ำมันกานพลูในการสลบ และลำเลียงปลาตะเพียนขาว (Puntius gonionotus) ความยาว 3 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาความเข้มข้นของน้ำมันกานพลูในการสลบปลาตะเพียน ขาวน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 2.02 กรัมต่อตัว ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ กัน 0 (ชุดควบคุม), 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14 และ 16 ppm ทำการแช่ปลาตะเพียนเป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง พบว่า น้ำมั่นกานพลูที่ระดับความเข้มข้น 2, 4 และ 6 ppm ทำให้ ปลาสลบในระยะที่ 1 (Sedation) ภายในเวลา 8.10+0.02, 7.46+0.04 และ 7.13+0.03 นาที ตามลำดับ) ปลามีอัตรารอด 100 เปอร์เซ็นต์ (P>0.05) ส่วนระดับความเข้มข้น 8 ppm ทำให้ปลาสลบระยะที่ 2 (Loss of equilibrium) และระยะที่ 3 (Loss of refex reactivity) ระดับความเข้มข้นที่ 10, 12, 14 และ 16 ppm ปลาสลบในระยะที่ 3 และะยะที่ 4 (Medullary collapse) และปลาตายทั้งหมด การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราการรอดในการลำเลียงปลาตะเพียนขาวโดยเลือกความเข้มข้น ที่ปลาสลบในระยะ Sedation คือระดับความเข้มข้น 2, 4 และ 6 ppm เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นำปลามาฟักฟื้นปลาสามารถ ฟื้นจากการสลบในเวลาเฉลี่ย 5.00+0.00, 5.40t0.00, 10.1 1t0.43 นาที ตามลำดับ ปลามีอัตราการรอด 100 เปอร์เซ็นต์ (P>0.05) ความเข้มข้นที่เหมาะสมของน้ำมันกานพลูที่เหมาะสมใช้เป็นยาสลบ และการลำเลียงปลา ความเข้มข้น 2 ppm เนื่องจากสามารถทำให้ปลาสลบ และมีการพื้นตัวอย่างรวดเร็ว
บทคัดย่อ (EN): The present work was conducted to study the effects of clove oil as an anesthetization and transportation for Puntius gonionotus fingerlings were of 3 cm in average length. In the first of seventh concentrations of the anesthetic (0, 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, and 16 ppm) were assessed the induction time to anesthesia for a total period of 12 hours. The finding revealed the concentrations of clove oil to induce the sedation were 2, 4, and 6 ppm within 8.10±0.02, 7.46±0.04, and 7.13±0.03 minute, respectively. Survival rate were 100 percentage (P>0.05). The concentration of clove oil as 8 ppm showed the induction time in loss of equilibrium and loss of reflex reactivity while 10, 12, 14, and 16 clove oil concentrations affected on the death of P. gonionotus and found in the stage of anesthetization in loss of equilibrium and medullary collapse. The second experiment, the concentrations of clove oil were used in 2, 4, and 6 ppm for evaluate the survival rate during transportation. The recovery time results at the end experiment were 5.00±0.00, 5.40±0.00, and 10.11±0.43 minute, respectively, survival rate were 100 percentage (p<0.05). The appropriate clove oil concentration of the anesthetic, the recommended concentration is 2 ppm as it provides fast recovery.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P045 Fis20.pdf&id=2756&keeptrack=12
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของน้ำมันกานพลูในการสลบและการลำเลียงปลาตะเพียนขาว
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก