สืบค้นงานวิจัย
การผลิตปลานิลเชิงพาณิชย์ระบบปิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นอาหารปลอดภัยในการส่งออก
ประจวบ ฉายบุ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การผลิตปลานิลเชิงพาณิชย์ระบบปิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นอาหารปลอดภัยในการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Environmental friendly closed – system for Nile Tilapia commercial Production for Food Safety Level Exports
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประจวบ ฉายบุ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prachaub chaibu
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Surit Somboonchai
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการเลี้ยงปลานิลระบบปิดร่วมกับการปลูกพืชแบบไร้ดิน แบ่งการทดลองเป็น 4 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ระยะเวลาการทดลอง 4 เดือน ในบ่อซีเมนต์ขนาด 1 X 1 X 1.5 เมตร ใช้ปั๊มดูดน้ำให้หมุนเวียนแบบผ่านวัสดุกรองและเติมอากาศตลอดเวลา เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าน้ำหนักเมื่อสิ้นสุดการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 198.94+5.06, 167.91+5.06, 174.34+4.84 และ 174.28+5.42 กรัม ตามลำดับ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลองของชุดการทดลองที่ 1 ให้ค่าสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 105.08+13.40 กรัม ส่วนชุดควบคุมและชุดการทดลองที่ 2 และ 3 ให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลองเท่ากับ 103.14+16.81, 99.33+17.61 และ 96.95+13.99 กรัม ตามลำดับ (p<0.05) ความยาวเมื่อสิ้นสุดการทดลองเท่ากับ 43.94+2.91, 37.58+4.16, 41.07+1.25 และ 38.40+1.70 เซนติเมตร ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตต่อวันมีค่าเฉลี่ย 1.00+0.07, 0.74+0.09, 0.82+0.06 และ 0.81+0.07 กรัมต่อวัน ตามลำดับ อัตราการรอดตายพบว่าชุดควบคุม ให้อัตราการรอดตายสูงสุดคือ 97.05% รองลงมาคือชุดการที่ 2, 3 และ 1 มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 94.84% , 94.00% และ 84.45% ตามลำดับ ผลผลิตรวมมีค่าเท่ากับ 11.68, 7.41, 9.31, 9.19 กิโลกรัม ตามลำดับ คุณภาพน้ำตลอดการทดลองพบว่าอุณหภูมิของน้ำ ค่าความเป็นกรด- ด่าง แอมโมเนีย ไนเตรทและฟอสฟอรัส ของแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนค่าไนไตรท์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.952 - 1.084 มิลลิกรัมต่อลิตร
บทคัดย่อ (EN): The Integrated fish closed-system between Nile tilapia culture and hydroponic was set up. Four treatments were carried out. Each treatment had 3 replications. Fish were cultured in cement pond size 1 X 1 X 1.5 m, using vacuum pump to circulate water through the filter filled with the air all the time. The experiments were taken for 4 months. At the end of experiment, the mean fish weight gains were 198.94+5.06, 167.91+5.06, 174.34+4.84 and 174.28+5.42 grams, respectively. The treatment 1 trended to provide the highest mean weight gain (105.08+13.40), while fish in treatment control, 2, and 3 had the mean weight gain (p<0.05) as 103.14+16.81, 99.33+17.61 and 96.95+13.99 grams respectively. The mean Length gains were 43.94+2.91, 37.58+4.16, 41.07+1.25 and 38.40+1.70 centimeters, respectively. The average daily gains were 1.00+0.07, 0.74+0.09, 0.82+0.06 and 0.81+0.07 g/day, respectively. The highest survival rate was 97.05% found in treatment control, while the fish survival rates in treatment 2, 3, and 1 were 94.84%, 94.00% and 84.45%, respectively. It was not significantly different (P>0.05) in the temperature, pH, ammonia, nitrate and phosphorus in any treatment. However, the value of nitrite was significant differences (P<0.05) ranging between 0.952 - 1.084 mg/l.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-54-030.2/55-021.4
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-54-030.2-55-021.4.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตปลานิลเชิงพาณิชย์ระบบปิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นอาหารปลอดภัยในการส่งออก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2555
เอกสารแนบ 1
การใช้เทคนิคชีวะวิถีในระบบกรองน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิดเพื่อผลผลิตปลานิลในเชิงพาณิชย์ (24 เดือน) ผลของสารสกัดสมุนไพรต่ออัตราการรอดตายของลูกปลานิลที่ได้รับเชื้อแอร์โรโมแนส ไฮโดรฟิล่า ผลของระบบการเลี้ยงต่อการกำจัดกลิ่นโคลนในปลานิล การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำพริกน้ำปูเพื่อความปลอดภัยทางด้านอาหาร การผลิตปลานิลร่วมกับปลาช่อนในระบบอะควาโปนิคส์ เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและปลอดภัย การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาปลานิลให้เป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานลมด้วยลมปล่อยทิ้งจากโรงเรือนปศุสัตว์ไก่เนื้อระบบปิด ผลของอาหารผสมสารสกัดกระเทียมต่อการเหนี่ยวนำให้เป็นเพศผู้ การ เจริญเติบโต และต้นทุนการผลิตของปลานิล เพื่อเป็นอาหารปลอดภัย การวิจัยและพัฒนาระบบชีววิถีเพื่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ( Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus ) ร่วมกับปลานิล ( Oreochromisniloticus ) เป็นอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ร เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้ และไม่ใช้ปลานิล (Oreochromis niloticus) เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารป

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก