สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลและความเป็นไปได้ในการคัดเลือกพันธุ์เพื่อลดจำนวนเซลล์โซมาติกในน้ำนมของโคนมที่เลี้ยงดูในภาคกลางของประเทศไทย
ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลและความเป็นไปได้ในการคัดเลือกพันธุ์เพื่อลดจำนวนเซลล์โซมาติกในน้ำนมของโคนมที่เลี้ยงดูในภาคกลางของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Factors Affecting and Possibility of Genetic Selection for Reducing Somatic Cells Counts in Milk of Cows Raised in the Central Part of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ศกร Skorn
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: คุณภาพและปริมาณน้ำนมมีความสำคัญต่อการกำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบและรายได้ของเกษตรกร ในประเทศไทยจำนวนเซลล์โซมาติกในถังนมรวมรายฟาร์ม (bulk tank somatic cell count, BSC) ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำนม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการประเมินสถานการณ์ BSC ของเกษตรกรในเขตภาคกลางของประเทศไทย ประมาณค่าความสัมพันธ์ระหว่าง BSC กับเปอร์เซ็นต์ไขมัน เปอร์เซ็นต์โปรตีน เปอร์เซ็นต์แลคโตส เปอร์เซ็นต์ของแข็งไม่รวมไขมันนม เปอร์เซ็นต์ของแข็งรวม และรายได้จากการจำหน่ายน้ำนมรายเดือนเฉลี่ยต่อตัว และประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมสำหรับจำนวนเซลล์โซมาติกในถังนม ชุดข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยผลผลิตน้ำนมรวมและองค์ประกอบน้ำนมรายเดือนที่รวบรวมจากปี พ.ศ. 2547 ถึง 2553 (28,580 ข้อมูล) ใน 811 ฟาร์มที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย (มวกเหล็ก วังม่วง พัฒนานิคม และปากช่อง) ฤดูกาลได้แก่ ฤดูลหนาว (พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์) ฤดูร้อน (มีนาคมถึงมิถุนายน) ฤดูฝน (กรกฎาคมถึงตุลาคม) ขนาดฟาร์มจำแนกตามจำนวนโครีดนมเป็น ฟาร์มขนาดเล็ก (โครีดนม < 10 ตัว) ฟาร์มขนาดกลาง (โครีดนม 10 ถึง 19 ตัว) และฟาร์มขนาดใหญ่ (โครีดนมมากกว่า 19 ตัว) โมเดลที่ใช้เป็นโมเดลเชิงเส้นตรงที่มีปี-ฤดูกาล ขนาดฟาร์ม-ที่ตั้งฟาร์ม และการถดถอยของ BSC เป็นปัจจัยกำหนด และมีความคลาดเคลื่อนเป็นปัจจัยสุ่ม ค่าเฉลี่ย BSC ในประชากรนี้มีค่า 681,430 ? 641,000 เซลล์/มล. น้ำนมที่ผลิตได้จาดฟาร์มของเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) มี BSC สูงกว่า 500,000 เซลล์/มล. ปริมาณ BSC มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (11,668 เซลล์/มล/ปี-ฤดูกาล; R2 = 0.74). นอกจากนี้ยังพบว่า BSC มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับปริมาณและองค์ประกอบของน้ำนม โดย BSC มีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณน้ำนม (-1.39 ? 0.12 กก/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) เปอร์เซ็นต์แลคโตส (-0.0074 ? 0.0002 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) เปอร์เซ็นต์ของแข็งไม่รวมไขมันนม (-0.0022 ? 0.0002 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) และรายได้จากการจำหน่ายน้ำนมรายเดือนเฉลี่ยต่อตัว (-17.51 ? 1.84 บาท/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับเปอร์เซ็นต์ไขมัน (0.0066 ? 0.0004 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) เปอร์เซ็นต์โปรตีน (0.0055 ? 0.0002 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) เปอร์เซ็นต์ของแข็งรวม (0.0054 ? 0.0005 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) ค่าประมาณอัตราพันธุกรรมมีค่า 0.06 ? 0.17 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของเกษตรกรในภาคกลางของประเทศไทย ในปรับการจัดการฟาร์มเพื่อลด BSC เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำนมและรายได้จากการจำหน่ายน้ำนมสูงขึ้น และการปรับปรุงพันธุกรรมสามารถทำได้โดยการคัดเลือกสัตว์พันธุ์ที่มีค่าความสามารถทางพันธุกรรมสำหรับ BSC ต่ำ แต่มีความแม่นยำสูง คุณภาพและปริมาณน้ำนมมีความสำคัญต่อการกำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบและรายได้ของเกษตรกร ในประเทศไทยจำนวนเซลล์โซมาติกในถังนมรวมรายฟาร์ม (bulk tank somatic cell count, BSC) ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำนม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการประเมินสถานการณ์ BSC ของเกษตรกรในเขตภาคกลางของประเทศไทย ประมาณค่าความสัมพันธ์ระหว่าง BSC กับเปอร์เซ็นต์ไขมัน เปอร์เซ็นต์โปรตีน เปอร์เซ็นต์แลคโตส เปอร์เซ็นต์ของแข็งไม่รวมไขมันนม เปอร์เซ็นต์ของแข็งรวม และรายได้จากการจำหน่ายน้ำนมรายเดือนเฉลี่ยต่อตัว และประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมสำหรับจำนวนเซลล์โซมาติกในถังนม ชุดข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยผลผลิตน้ำนมรวมและองค์ประกอบน้ำนมรายเดือนที่รวบรวมจากปี พ.ศ. 2547 ถึง 2553 (28,580 ข้อมูล) ใน 811 ฟาร์มที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย (มวกเหล็ก วังม่วง พัฒนานิคม และปากช่อง) ฤดูกาลได้แก่ ฤดูลหนาว (พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์) ฤดูร้อน (มีนาคมถึงมิถุนายน) ฤดูฝน (กรกฎาคมถึงตุลาคม) ขนาดฟาร์มจำแนกตามจำนวนโครีดนมเป็น ฟาร์มขนาดเล็ก (โครีดนม < 10 ตัว) ฟาร์มขนาดกลาง (โครีดนม 10 ถึง 19 ตัว) และฟาร์มขนาดใหญ่ (โครีดนมมากกว่า 19 ตัว) โมเดลที่ใช้เป็นโมเดลเชิงเส้นตรงที่มีปี-ฤดูกาล ขนาดฟาร์ม-ที่ตั้งฟาร์ม และการถดถอยของ BSC เป็นปัจจัยกำหนด และมีความคลาดเคลื่อนเป็นปัจจัยสุ่ม ค่าเฉลี่ย BSC ในประชากรนี้มีค่า 681,430 ? 641,000 เซลล์/มล. น้ำนมที่ผลิตได้จาดฟาร์มของเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) มี BSC สูงกว่า 500,000 เซลล์/มล. ปริมาณ BSC มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (11,668 เซลล์/มล/ปี-ฤดูกาล; R2 = 0.74). นอกจากนี้ยังพบว่า BSC มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับปริมาณและองค์ประกอบของน้ำนม โดย BSC มีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณน้ำนม (-1.39 ? 0.12 กก/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) เปอร์เซ็นต์แลคโตส (-0.0074 ? 0.0002 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) เปอร์เซ็นต์ของแข็งไม่รวมไขมันนม (-0.0022 ? 0.0002 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) และรายได้จากการจำหน่ายน้ำนมรายเดือนเฉลี่ยต่อตัว (-17.51 ? 1.84 บาท/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับเปอร์เซ็นต์ไขมัน (0.0066 ? 0.0004 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) เปอร์เซ็นต์โปรตีน (0.0055 ? 0.0002 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) เปอร์เซ็นต์ของแข็งรวม (0.0054 ? 0.0005 %/105 เซลล์/มล; P < 0.0001) ค่าประมาณอัตราพันธุกรรมมีค่า 0.06 ? 0.17 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของเกษตรกรในภาคกลางของประเทศไทย ในปรับการจัดการฟาร์มเพื่อลด BSC เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำนมและรายได้จากการจำหน่ายน้ำนมสูงขึ้น และการปรับปรุงพันธุกรรมสามารถทำได้โดยการคัดเลือกสัตว์พันธุ์ที่มีค่าความสามารถทางพันธุกรรมสำหรับ BSC ต่ำ แต่มีความแม่นยำสูง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลและความเป็นไปได้ในการคัดเลือกพันธุ์เพื่อลดจำนวนเซลล์โซมาติกในน้ำนมของโคนมที่เลี้ยงดูในภาคกลางของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2560
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ผลผลิตน้ำนมในโคนมไทยฟรีเชียน การศึกษาค่าองค์ประกอบน้ำนมดิบ และจำนวนเซลล์โซมาติก จากถังนมรวมฟาร์มโคนมในจังหวัดลำปาง ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อมและการจัดการที่มีผลต่อผลผลิตน้ำนมในโคนมลูกผสมในประเทศไทย : รายงานโครงการ สมรรถภาพการให้ผลผลิตน้ำนมครั้งแรกของโคนมพันธุ์ไทยฟรีเชี่ยน การศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างระดับเลือดของพ่อและระดับเลือดของแม่พันธุ์โคนมต่อปริมาณน้ำนมรวม 305 วัน ในประชากรโคนมหลากหลายพันธุกรรมที่เลี้ยงในประเทศไทย การศึกษาความสัมพันธ์ของค่าเซลล์โซมาติกกับค่าต่าง ๆ ที่กำหนดคุณภาพน้ำนมดิบจากตัวอย่างน้ำนมดิบของสหกรณ์โคนมแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี ผลกระทบของอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมต่อค่าแนวโน้มทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะการให้ผลผลิตน้ำนมของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนในภาคตะวันตกของประเทศไทย การศึกษาการเลี้ยงดูลูกโคนมอย่างดีต่อผลผลิตน้ำนมเมื่อเป็นแม่โคนมท้องแรกในฟาร์มเกษตรกร การประเมินพันธุกรรมของลักษณะผลผลิตน้ำนมและสัดส่วนไขมันต่อโปรตีนในน้ำนมต่อความเครียดเนื่องจากความร้อนในโคนมลูกผสมไทยโฮลสไตน์ภายใต้สภาพภูมิอากาศของประเทศไทย แนวทางการปรับปรุงพันธุ์โคนมเพื่อผลิตน้ำนมสุขภาพ “functional milk”

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก