สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับของเกษตรกรต่อการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ในจังหวัดกาฬสินธุ์
จำนงค์ ถนัดค้า - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับของเกษตรกรต่อการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ในจังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จำนงค์ ถนัดค้า
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การยอมรับและทัศนคติต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมข.35 ของเกษตรกร 2) การใช้เทคโนโลยีในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ของเกษตรกร และ 3) ปัญหาอุปสรรคในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ฤดูแล้ง ปี 2540 ของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 13 จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีพื้นที่การผลิคตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป จำนวน 93 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบบกำหนดสัดส่วนและแบบมีระบบ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Chi-Aquae ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 41.24 ปี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ประกอบอาชีพทำนา พื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 18.32 ไร่ มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 3.3 คน เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อปี 47,545.16 บาท และมีหนี้สินไม่เกิน 15,000 บาท สิ่งจูงใจให้เข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์คือเจ้าหน้าที่แนะนำ ใช้พื้นที่เฉลี่ย 5.84 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 158.78 กิโลกรัม คุณภาพผลผลิตอยู่ในระดับปานกลางถึงดี เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 9,966.37 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกถั่วเหลืองโดยอาศัยน้ำใต้ดิน ปัญหาบางประการในการผลิตเมล็ดพันธุ์ พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยในเรื่องการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ได้แก่ หนอนม้วนใบ หนอนเจาะฝักถั่ว โรคเน่าคอดิน วัชพืชมาก เพลี้ยอ่อน และฝนชุกในช่วงเก็บเกี่ยว ด้านการยอมรับพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยและยอมรับต่อลักษณะเด่นบางประการของถั่วเหลือง มข.35 เกือบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องอายุการเก็บเกี่ยวนานเหมาะกับสภาพท้องถิ่นที่เกษตรกรเห็นด้วยน้อย และทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อลักษณะเด่นของถั่วเหลือง มข.35 ส่วนใหญ่ให้ทัศนคติว่าดีกว่าพันธุ์อื่นที่เคยใช้ปลูก คือ มีเปอร์เซนต์ความงอกดีกว่า การติดฝักดีกว่า มีลำต้นสูงและแข็งแรงและมีการตอบสนองต่อปุ๋ยดีกว่าและด้านลักษณะประจำพันธุ์ถั่วเหลืองที่เกษตรกรต้องการ พบว่า เกษตรกรชอบขนาดของเมล็ดโต อายุการเก็บเกี่ยวปานกลาง ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง การตัดพันธุ์ปนสังเกตง่าย ต้านทานโรค-แมลงได้ดี และให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูง เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบระดับการยอมรับพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 โดยลักษณะเด่นบางประการของถั่วเหลืองมข.35 กับลักษณะพื้นฐานบางประการของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่มีลักษณะพื้นฐานแตกต่างกันในด้านเพศ อายุ สิ่งจูงใจเข้าร่วมโครงการ ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ การรับการฝึกอบรม และประสบการณ์การปลูกถั่วเหลือง มีสัดส่วนการยอมรับถั่วเหลือง มข.35 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ต่อลักษณะเด่นบางประการ ได้แก่ มีลำต้นสูง แผ่กิ่งก้านคลุมวัชพืชดี มีขนาดเมล็ดโตหนักกว่าพันธุ์อื่นเมื่อเทียบต่อถัง มีอายุการเก็บเกี่ยวนานเหมาะกับสภาพท้องถิ่น การสังเกตการตัดพันธุ์ปนเด่นชัดและให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ที่เคยใช้อยู่เดิม โดยที่กลุ่มเกษตรกรเพศชาย อายุ 46 ปีขึ้นไป มีระยะเวลาเข้าร่วมโครงการไม่เกิน 2 ปี โดยมีเจ้าหน้าที่แนะนำให้เข้าร่วม เคยรับการฝึกอบรมและมีประสบการณ์ในการปลูกถั่วเหลืองไม่เกิน 3 ปี มีสัดส่วนเห็นด้วย มากกว่าเกษตรกรกลุ่มอื่น ข้อเสนอแนะ ผลงานวิจัยครั้งนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ซึ่งใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ให้เหมาะสมกับความต้องการของเกษตรกร จึงขอเสนอแนะเพื่อเป็นประโยขน์ต่อการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์และการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้ 1. ถั่วเหลือง มข.35 อายุการเก็บเกี่ยวเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ ดูแลรักษาง่าย กว่าพันธุ์อื่น ๆ ให้ผลผลิตสูง ขนาดเมล็ดโต 2. การปลูกถั่วเหลือง มข.35 ในฤดูแล้งหลังการทำนาควรปลูกให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม ของทุกปี หากเลยเดือนธันวาคม ผลผลิตจะไม่ค่อยดี เมล็ดจะลีบไม่สมบูรณ์ 3. ข้อสังเกต ถั่วเหลือง มข.35 จะมีกิ่งทอดยอด หากความชื้นในดินไม่เพียงพอ เมล็ดจะลีบ เมล็ดเขียว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2540
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดกาฬสินธุ์
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ฤดูแล้ง ปี 2540
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับของเกษตรกรต่อการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง มข.35 ในจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2540
สภาพการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในตำบลดงพยุง กิ่งอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ การยอมรับการใช้เชื้อไรโซเบียมของเกษตรกรที่ร่วมโครงการขยายเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง คุณภาพของเมล็ดพันธุ์จากการศึกษาวันปลูกที่เหมาะสมของถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 ในปี 2542 การทดสอบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 ณ.ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 14 จังหวัดแพร่ สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย การทำแปลงทดสอบเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 การศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อเมล็ดพันธุ์และกระบวนการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 13 จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี ทัศนคติของเกษตรกรเกี่ยวกับพันธุ์ถั่วเหลืองที่ใช้ส่งเสริมในตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย การเปรียบเทียบผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 กับพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และเชียงใหม่ 60

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก