สืบค้นงานวิจัย
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชผักของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น
นพวิชญ์ คำขะ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชผักของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นพวิชญ์ คำขะ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมโรคในพืชผักของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะพื้นฐานบางประการด้านเศรษฐกิจและสังคม การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในพืชผัก และปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ของเกษตรกรผู้ปลูกผักจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการศึกษาในพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลบึงเนียม ตำบลดอนหัน ตำบลสำราญ และตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกผักรวม 5 กลุ่ม จำนวน 100 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 67 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.74 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.36 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 1.01 คน พื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 1.37 ไร่ ประสบการณ์ปลูกผักเฉลี่ย 15.17 ปี ส่วนใหญ่ เกษตรกรมีการปลูกผักตลอดปี ปลูกผักเฉลี่ย 2.14 ชนิด ร้อยละ 59 ใช้น้ำจากชลประทาน มีรายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 62,440 บาทต่อปี เกษตรกรเตรียมดินโดยการไถตากดินเฉลี่ย 10.4 วัน ส่วนใหญ่ปลูกผักโดยยกเป็นแปลง ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์เฉลี่ย 62.51 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เฉลี่ย 521.11 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการคลุกสารป้องกันเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ส่วนใหญ่เกษตรกรมีปัญหาศัตรูพืช โรครากเน่า โคนเน่า และร้อยละ 26 พบแมลงศัตรูพืช ด้วงหมัดผัก เกษตรกรร้อยละ 65 ใช้การควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เกษตรกรทั้งหมดรับรู้ข่าวสารการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมการใช้และการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา และมีประสบการณ์ใช้เฉลี่ย 1.45 ปี เกษตรกรทั้งหมดได้รับเชื้อราไตรโคเดอร์มามาจากหน่วยงานราชการ ร้อยละ 25 เท่ากันที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรค กับผักคะน้า และหอมแบ่ง ส่วนใหญ่ใช้โดยวิธีหว่านทั้งแปลงหลังการปลูกพืช เฉลี่ย 1.20 ครั้งต่อรุ่น มีการผสมกับส่วนผสมคือรำและปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกก่อนใช้ ร้อยละ 68 เมื่อพบโรครากเน่า โคนเน่า เกษตรกรจะใช้วิธีถอนทิ้ง ด้านความรู้เกษตรกรส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 47 มีความรู้เรื่องการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา โดยเฉพาะประเด็นประโยชน์ของการใช้มากที่สุด ด้านความคิดเห็น เกษตรกรร้อยละ 71 เห็นว่าขั้นตอนและวิธีการใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา ไม่มีความยุ่งยาก สามารถควบคุมโรครากเน่า โคนเน่าได้ผลดี มีการใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราในปริมาณลดลง และส่วนใหญ่มีความต้องการจะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาต่อไป ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 39 ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาที่พบ ร้อยละ 31 ระบุว่า ไม่มีแหล่งซื้อ และหาใช้ไม่สะดวก เกษตรกรร้อยละ 54 ให้ข้อเสนอแนะว่าต้องการให้ทางราชการนำมาสนับสนุน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชผักของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การศึกษาการใช้สารเคมีกับพืชผักของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 โครงการขยายผลเพื่อสำรวจและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักในตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ลักษณะการใช้เมล็ดพันธุ์พืชของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ปี 2547 การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในปี 2540-2541 การพัฒนาเพื่อใช้กากของสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากเชื้อราในการควบคุมโรคพืช

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก