สืบค้นงานวิจัย
การใช้จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่า (พด.3) ร่วมกับการใช้สมุนไพร (ซุปเปอร์ พด.7) ในการป้องกันโรคเพลี้ยแป้ง ของมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 29 จังหวัดบุรีรัมย์
ภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย, วิสิษฐ์ จุ้ยดอนกลอย, สัมพันธ์ แย้มกระโทก - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่า (พด.3) ร่วมกับการใช้สมุนไพร (ซุปเปอร์ พด.7) ในการป้องกันโรคเพลี้ยแป้ง ของมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 29 จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่อง (EN): Using Micro organism Control ( Super LDD.3 ) to prevent Phytophthora Root Rot and Stem Rot of Cassava in Soil group 29 Buriram Province .
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการการใช้จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากและโคนเน่า (พด.3) ร่วมกับการใช้สารสมุนไพร(ซุปเปอร์ พด.7) ในการป้องกันโรคและเพลี้ยแป้งของมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 29 จังหวัดบุรีรัมย์ทำการทดลองในพื้นที่เกษตรกรอำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการใช้สารจุลินทรีย์ป้องกันโรครากและหัวมันเน่าที่เหมาะสม ในการป้องกันกำจัดโรคและศึกษาพืชสมุนไพรชนิดต่างๆที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังวางแผนการทดลองแบบ RCB. จำนวน 4 ซ้ำ มี 5 ตำรับการทดลองคือ ตำรับการทดลองที่ 1 แปลงควบคุม (ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์พด.3และ ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.7) ตำรับการทดลองที่ 2 ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์พด.3 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ +ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.7 ตำรับการทดลองที่ 3 ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์พด.3 อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่+ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.7ตำรับการทดลองที่ 4 ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์พด.3 อัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่+ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.7และตำรับการทดลองที่ 5 ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์พด.3 อัตรา 400 กิโลกรัม/ไร่+ใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.7 ผลการทดลองพบว่า การใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ในอัตราต่างกันร่วมกับการใช้สารเร่ง พด.7 มีผลต่อผลผลิตของมันสำปะหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ตำรับการทดลองที่5 ให้ผลผลิตเฉลี่ยมันสำปะหลังสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับอื่น ๆ เฉลี่ยในอัตรา 5,797 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่แปลงควบคุมให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตเท่ากับ 4,193.13 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนตำรับที่ให้ค่าเฉลี่ยของผลผลิตรองลงมาได้แก่ ตำรับที่ 3 ,4 และ2 โดยให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตมันสำปะหลังในอัตรา 5,517.63, 5,436 และ 4,347.88 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ การใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ในอัตราต่างกันร่วมกับการใช้สารเร่ง พด.7 ไม่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลัง แต่มีแนวโน้มว่าตำรับการทดลองที่ 3 มีปริมาณเปอร์เซ็นต์แป้งเฉลี่ยสูงที่สุดเมื่อเทียบกับตำรับการทดลองอื่นๆ จากการทดลองไม่พบการระบาดของเพลี้ยแป้งและการเข้าทำลายของปัญหารากและโคนเน่าในมันสำปะหลัง ดังนั้นผลการทดลองที่ได้จึงเป็นข้อมูลผลการทดลองที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ในอัตราต่างกันร่วมกับการใช้สารเร่ง พด.7 ที่มีผลต่อผลผลิตของมันสำปะหลังเท่านั้น
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-01-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-01-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่า (พด.3) ร่วมกับการใช้สมุนไพร (ซุปเปอร์ พด.7) ในการป้องกันโรคเพลี้ยแป้ง ของมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 29 จังหวัดบุรีรัมย์
กรมพัฒนาที่ดิน
31 มกราคม 2556
อาหารจากมันสำปะหลัง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 ปรับปรุงคุณภาพ พด.1 พด.2 พด.3 เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร การใช้ผลิตภัณฑ์ พด.3 เพื่อป้องกันปัญหาหัวมันสำปะหลังเน่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง วิธีการจัดการดินจากโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยพืชสดเพื่อปลูกมันสำปะหลังในดินทราย ผลของการใช้จุลินทรีย์จาวปลวกต่อการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลัง การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ ปรับปรุงคุณภาพ พด.1 พด.2 พด.3 เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก