สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมวัชพืชในนาหว่านน้ำตมของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม
สุชาติ ศรีแดงบุตร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การควบคุมวัชพืชในนาหว่านน้ำตมของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชาติ ศรีแดงบุตร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ประชากรที่ศึกษาคือเกษตรกรผู้ทำนาปรังฤดูเพาะปลูก 2527-28 โดยใช้วิธีหว่านน้ำตมในจังหวัดนครปฐม จำนวน 180 คน โดยการสัมภาษณ์ เกษตรกรผู้ทำนาหว่านน้ำตมส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.37 ปี จบการศึกษาชั้นปีที่ 4 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ยครอบครัวละ 5.62 คน แต่ช่วยทำการเกษตรเฉลี่ยครอบครัวละ 3.36 คน ทำนาปรังโดยวิธีหว่านน้ำตมเฉลี่ยครอบครัวละ 19.44 ไร่ ได้รับผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 576.12 กก. รายได้ทั้งหมดในปีที่แล้วเฉลี่ยครอบครัวละ 73,851.59 บาท และส่วนมากเป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วัชพืชระบาดทำความเสียหายแก่นาหว่านน้ำตมเป็นอย่างมากคือ หญ้าข้าวนก และหญ้าดอกขาว เกษตรกรส่วนมากทำลายวัชพืชโดยการไถกลบหมักไว้ 6-10 วันก่อนทำเทือก เกษตรกรทั้งหมดคุมวัชพืชไม่ให้งอกในนา โดยใช้วิธีเตรียมดินที่ดี และอีกประมาณครึ่งหนึ่งยังใช้สารเคมีบิวทาคลอร์ผสม 2, 4 ดี ฉีดหรือหว่านหลังหว่านข้าวงอกแล้ว 10 วันด้วย เกษตรกรส่วนใหญ่กำจัดวัชพืชที่เจริญเติบโตในนาโดยใช้ 2, 4 ดี ฉีดหรือหว่านคลุมแปลงนาเพียงครั้งเดียวในขณะที่วัชพืชมีใบ 3-4 ใบ เกษตรกรใช้สารเคมีประเภทกำจัดมากกว่าประเภทอื่น ๆ และส่วนมากใช้ในอัตราที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในฉลาก แต่ไม่ใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชผสมกับสารเคมีกำจัดศัตรูอื่น ๆ เกษตรกรหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ฉีดหรือหว่านสารเคมีฯ เอง โดยได้รับคำแนะนำวิธีใช้จากฉลากที่ติดมากับภาชนะใส่สารเคมีฯ นั้น ๆ เกษตรกรส่วนมากมีปัญหาเรื่องพื้นที่นาหว่านน้ำตมเป็นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ และใช้น้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง มากกว่าน้ำชลประทาน ส่วนปัญหาที่ประสบมากที่สุดในการควบคุมวัชพืช คือ การขาดแคลนความรู้เรื่องการควบคุมวัชพืช รองลงมากคือ การขาดแคลนเงินทุนซื้อสารเคมีฯ เกษตรกรส่วนมากหาวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยการปรึกษากับเพื่อนบ้านของตน เกษตรกรส่วนมากไม่เคยได้รับอันตรายจากสารเคมีฯที่ใช้ ไม่เคยเข้ารับการอบรมเรื่องการควบคุมวัชพืชในนาหว่านน้ำตม ไม่ได้รับการดูแลแนะนำเรื่องการควบคุมวัชพืชจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร แต่ได้รับคำแนะนำเรื่องดังกล่าวจากเพื่อนบ้านมากกว่าจากทางอื่น ๆ เกษตรกรส่วนมากมีความคิดเห็นว่า วิธีการควบคุมวัชพืชที่ตนใช้ในปัจจุบันได้ผลดีแต่จะได้ผลดียิ่งขึ้นถ้าตนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเหล่านี้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ มีความต้องการเข้ารับการอบรมโดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรช่วยเหลือมากที่สุดในเรื่องการมาเยี่ยมเยียนดูแล แนะนำให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2528
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดนครปฐม
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมวัชพืชในนาหว่านน้ำตมของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2528
ศึกษาสภาพการป้องกันและกำจัดวัชพืชในนาหว่านน้ำตมของเกษตรกร การทดสอบสารกำจัดวัชพืชควบคุมข้าววัชพืชในนาหว่านน้ำตม การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสาร : การยอมรับวิธีการทำนาหว่านน้ำตม แผนใหม่ของเกษตรกรอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาพฤติกรรมการควบคุมวัชพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผักเป็นการค้า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามโครงการจัดทำทะเบียนเกษตรกรและบัตรประจำตัวเกษตรกรของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม การจัดการข้าววัชพืชแบบผสมผสานในนาหว่านน้ำตม: กรณีศึกษาแปลงเกษตรกร อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี การควบคุมแมลงศัตรูข้าวในนาหว่านน้ำตม สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม ธุรกิจเกษตรหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกร จังหวัดนครปฐม ศึกษาสถานการณ์การปลูกอ้อยของเกษตรกรในเขตอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก