สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ศักดิ์สิทธิ์ ภู่จ่าพล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศักดิ์สิทธิ์ ภู่จ่าพล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิตและปัญหาในการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลที่เป็นเพศชาย และเป็นเพศหญิง ที่มีจำนวนใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ย 45.27 ปี ส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.64 ราย แรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.63 คน เกษตรกรเป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ มากกว่า 1 กลุ่ม ได้แก่ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ รองลงมาคือ สมาชิกลูกค้า ธ.ก.ส. สหกรณ์การเกษตร และ กลุ่มเกษตรกร มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 16.02 ไร่ มีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 50,007.12 บาท นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 7,567.44 บาท รายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 57,624.62 บาท ส่วนใหญ่ ใช้เงินทุนจากกองทุนหมู่บ้าน ธกส. และสหกรณ์การเกษตร ส่วนใหญ่ มีรถไถนาเดินตาม และ มีเครื่องสูบน้ำ เป็นเครื่องจักรกลทุ่นแรงในการทำนา มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 13.72 ปี แหล่งน้ำในการทำนาปี คือน้ำฝน พื้นที่นาส่วนมากเป็นนาลุ่ม และ เกือบทั้งหมดมีที่นาเป็นของตนเอง โดยมีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 16.07 ไร่ ส่วนใหญ่ดินมีคุณภาพระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่เคยมีการปลูกพืชตระกูลถั่วในการปรับปรุงบำรุงดิน ใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 รองลงมาคือพันธุ์ กข. 6 ปลูกข้าวในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฏาคม ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ที่เก็บไว้เอง รองลงมาคือ ซื้อจากเพื่อนบ้าน และจากทางราชการคือศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชหรือสถานีทดลองข้าว ส่วนใหญ่ทำนาโดยการทำนาหว่าน ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 15.02 กก./ไร่ มีการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นเวลาติดต่อกันเฉลี่ย ประมาณ 4 ครั้ง ใช้เเรงงานทำนาเฉลี่ย 4 คน เป็นแรงงานจ้างเฉลี่ย 3 คน ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา รองลงมาคือ ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกัน ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใช้คือปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 รองลงมาคือสูตร 16-16-8 อัตราปุ๋ยอินทรีย์ที่ ใช้ เฉลี่ย 25.24 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 22.36 กก./ไร่ โดย ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง ส่วนใหญ่ยังไม่มีการสำรวจแมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูข้าวที่พบมากและทำความเสียหายต่อข้าว พบว่าเป็นหนูนา และหนอนกอ โรคระบาดที่ทำความเสียหายต่อข้าว ส่วนใหญ่พบข้าวเป็นโรคกาบใบเน่า รองลงมาคือโรคไหม้ ส่วนใหญ่ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดโรคแมลง ส่วนใหญ่มีการระบายน้ำออกจากแปลงนาก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง โดยจ้างรถเกี่ยวนวดข้าว ในอัตราไร่ละ 350 - 450 บาท เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 475.26 กก./ไร่ ขายข้าวเปลือกได้เฉลี่ย กก.ละ 6.60 บาท โดยพบว่าจะเก็บผลผลิตไว้ส่วนหนึ่งและแบ่งขายส่วนหนึ่ง รองลงมาคือขายทันทีหลังเก็บเกี่ยว และนำไปตากเก็บไว้รอราคา เกษตรกรทุกรายให้ข้อมูลว่าทำนาแล้วได้กำไร ปัญหาในการผลิตข้าวของเกษตรกร พบว่าในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในการผลิตข้าวในระดับมาก โดยประเด็นที่เป็นปัญหาระดับมาก ได้แก่ ปุ๋ยมีราคาแพง ค่าจ้างแรงงานกำจัดวัชพืชแพงและหายาก หาแรงงานคนเกี่ยวข้าวยาก แรงงานคนเก็บเกี่ยวมีราคาแพง ปุ๋ยอินทรีย์ราคาแพง มีวัชพืชมาก แรงงานจ้างเก็บเกี่ยวมีเงื่อนไขมาก ดินเสื่อม ขาดความรู้ในการปรับปรุงดิน ราคาผลผลิตต่ำ ขาดความรู้ในการใช้ปุ๋ย ขาดแรงงานในการทำนา ค่าสารกำจัดวัชพืชมีราคาแพง ขาดโรงสีรับจำนำข้าวเปลือก ถูกพ่อค้าเอาเปรียบ%ต้นข้าว ถูกตัดราคาจากสิ่งเจือปน/ความชื้น เป็นที่ดอนน้ำชลประทานเข้าไม่ถึง พันธุ์ไม่ต้านทานโรคแมลง ขาดความรู้เรื่องสารกำจัดวัชพืช ขาดเงินทุนซื้อปุ๋ย และ เงินทุนปลูกข้าวไม่เพียงพอ ข้อเสนอเเนะ ควรอบรมให้ความรู้เกษตรกรในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน พันธุ์ต้านทานการ ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าว การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช และการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ควรมีการรวมกลุ่มจัดหาปัจจัยการผลิตที่จำเป็นได้แก่ พันธุ์ เงินทุน ปุ๋ย การจำหน่ายผลผลิต ฯลฯ หรือรวมกลุ่มแก้ปัญหาแรงงานแพงและหายาก ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินในนา ควรอบรมให้ความรู้เกษตรกรในเรื่องการทำนาแผนใหม่ และการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง เกษตรกรควรมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุก 3 ปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปรังของเกษตรกร ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตถั่วลิสงของเกษตรกร ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตเห็ดฟางในโรงเรือนของเกษตรกรตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก