สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์ในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici
ร่มสุรีย์ มนตรีภักดี  สรัญยา ณ ลำปาง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์ในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of Actinomyceste for Controlling Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ร่มสุรีย์ มนตรีภักดี  สรัญยา ณ ลำปาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Romsuree Motreepukdee Sarunya Nalumpang
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: แยกเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici จากต้นมะเขือเทศที่แสดง อาการโรคเหี่ยว ในแปลงปลูกของเกษตรกรบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ได้จำนวน 126 ไอโซเลท เมื่อนำมาทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรค พบว่าเชื้อสาเหตุ ไอโซเลท FolCK_117 สามารถก่อให้เกิดโรคเหี่ยวได้รุนแรงที่สุดในระดับ 5 คือต้นมะเขือเทศเหี่ยว และตาย ภายหลังจากการปลูกเชื้อสาเหตุเป็นเวลา 21 วัน จึงนำมาใช้เป็นตัวแทนในการ ทดสอบความสามารถของเชื้อแอกติโนไมซีสต์ที่แยกได้จากดินบริเวณอุทยานแห่งชาติสุเทพ- ปุย จำนวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 บนอาหาร เลี้ยงเชื้อ glucose yeast malt agar (GYM) ที่ผสมสารป้องกันกำจัดเชื้อรา Brodeaux mixture, captan, etridiazole+quintozene, iprodione,mancozeb, metalaxyl และ prochloraz ใน อัตราส่วนตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต พบว่า เชื้อแอกติโนไมซีสต์ทั้ง 6 ไอโซเลท สามารถเจริญได้บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมสารป้องกันกำจัดเชื้อรา metalaxy ที่ความเข้มข้น 1,000 มล./กก. และเชื้อแอกติโนไมซีสต์ไอโซเลท NSP3 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ เชื้อ Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici สูงสุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของ เส้นใย และการยับยั้งการสร้างสปอร์เชื้อราเท่ากับ 84.11 และ 94.44% นอกจากนี้เมื่อนำ อาหารเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสต์ (Enzyme production medium; EPM) ชนิดที่ไม่กรอง เอาเชื้อออก (non-filtrate culture; NF) มาทดสอบพบว่า อาหารเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีส ไอโซเลท NSP3 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราสาเหตุได้ดีที่สุด 93.89 % ที่เวลา 6 ชม. วางแผนการการทดลองแบบ 2 factorial in completely randomized design
บทคัดย่อ (EN): A total of one hundred and twenty-six isolates of Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici were successfully isolated from tomato plants showing Fusarium wilt symptoms from commercial fields at Doi Inthanon national park, Chiang Mai. The isolate FolCK_117 was the most virulent isolate due to plant showing wilting or death and selected as representative strain. After that, six strains of soil actinomycetes namely NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 and NSP6 isolate from the Doi Suthep-Pui national park, Chiang Mai. were tested for ability of growing on glucose yeast malt agar (GYM) mixed with fungicides by the manufacturer recommeded dose include Brodeaux mixture, captan, etridiazole + quintozene, iprodione, mancozeb, metalaxyl and prochloraz. The result showed that all actinomycetes could be able grown on GYM mixed with metalaxyl at recommended concentration (1,000 mg/kg). Moreover, they showed significantly higher on inhibiting the growth of pathogen than actinomycetes growing on GYM. The highest efficacy was given from isolate NSP3, which inhibited mycelial growth and sporulation of fungal pathogen at 84.11 and 94.44%, respectively. In addition, The non-filtrate culture (NF) of actinomyces isolate NSP3 showed the efficiency of 93.89% inhibiting the conidial germination of pathogen at 6 hr. In all experiments, 2 factorial in completely randomized design was conducted.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์ในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici
กรมวิชาการเกษตร
2559
เอกสารแนบ 1
การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อ Sclerotium rolfsii และ Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici สาเหตุโรคทางดินของมะเขือเทศ ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ความสามารถของเชื้อราเอนโดไฟท์จากมะเขือเทศ ส้ม และยางพารา ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา การสำรวจ รวบรวมและประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อการควบคุม การคัดเลือกเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพควบคุมแมลงหวี่ขาวในการปลูกมะเขือเทศและพริกกะเหรี่ยงบนพื้นที่สูง Physiologic Races ของเชื้อรา Hemileia uastatrix B. & Br การพัฒนาประสิทธิภาพเชื้อราปฎิปักษ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำ และมะเขือเทศบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 7:การทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำและมะเขือเทศในสภาพแปลง ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การควบคุมโรคผลสตรอเบอรี่เน่าด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่อุณภูมิห้องและที่ 10 องศาเซลเซียส

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก