สืบค้นงานวิจัย
ความต้านทานโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ของยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251
นริสา จันทร์เรือง - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ความต้านทานโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ของยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251
ชื่อเรื่อง (EN): Resistance to Colletotrichum gloeosporioides Leaf Disease of RRIT 250 and RRIT 251 Hevea Clones
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นริสา จันทร์เรือง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบระดับความต้านทานโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ของยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251 ซึ่งเป็นพันธุ์ยางแนะนำชั้น 2 และจะจัดเข้าเป็นพันธุ์ยางแนะนำชั้น 1 เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำคำแนะนำพันธุ์ยาง จึงได้ดำเนินการทดลองในปี พ.ศ. 2542-2543 ณ ศูนย์วิจัยยางสงขลา โดยทำการทดสอบความต้านทานเชื้อรา C. gloeosporioides กับยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251 เปรียบเทียบกับยางพันธุ์สงขลา 36 (อ่อนแอ) RRIT 600 (ต้านทานปานกลาง) และ BPM 24 (ต้านทาน) ด้วยวิธีการปลูกเชื้อกับใบยางและพุ่มใบยางพาราในสภาพห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251 แสดงระดับความต้านทานต่อโรคใบจุดนูนอยู่ในระดับเดียวกันกับยางพันธุ์ BPM 24 และ RRIM 600 ตามลำดับ และสามารถจัดระดับความต้านทานโรคใบจุดนูนของพันธุ์ยางได้ 3 ระดับ คือ ระดับค่อนข้างต้านทาน ได้แก่ ยางพันธุ์ BPM 24 และ RRIT 250 ระดับต้านทานปานกลาง ได้แก่ ยางพันธุ์ RRIT 251 และ RRIM 600 และระดับอ่อนแอ ได้แก่ ยางพันธุ์สงขลา 36
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้านทานโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ของยางพันธุ์ RRIT 250 และ RRIT 251
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ประสิทธิภาพของส่วนสกัดหยาบของแบคทีเรีย Streptomyces spp. ในการควบคุมโรคใบจุดนูน (Colletotrichum gloeosporioides Penz. Sace.) การศึกษายีนต้านทานโรคในยางพาราเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ยาง การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพารา การควบคุมโรครากขาวของยางพาราโดยชีววิธีและการคัดเลือกสายพันธุ์ยางต้านทานโรคเพื่อผลิตต้นตอพันธุ์ ความต้านทานโรคใบของยางพาราพันธุ์ RRIT ชุด 300 โรคใบจุด corynespora ของถั่วเขียวผิวดำ ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู โครงการวิจัย : การปรับปรุงพันธุ์ยางพารา กิจกรรม : การปรับปรุงพันธุ์ยางแหล่งปลูกยางใหม่ (การทดลอง) ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก