สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยศึกษาการผลิตฟ้าทะลายโจร
สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยศึกษาการผลิตฟ้าทะลายโจร
ชื่อเรื่อง (EN): Production Technology for Andrographis paniculata Wall ex Nees
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการผลิตฟ้าทะลายโจรที่มีคุณภาพ ดำเนินการโครงการวิจัยที่ศูนย์วิจัยในส่วนภูมิภาค หน่วยงานส่วนกลาง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร และแปลงปลูกฟ้าทะลายโจรที่เป็นค้า เช่น นครปฐม ปราจีนบุรี ราชบุรี เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนกันยายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฟ้าทะลายโจรให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านเขตกรรม อารักขาพืช การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้วัตถุดิบฟ้าทะลายโจรที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งนี้คุณภาพวัตถุดิบขึ้นอยู่กับปริมาณสารสำคัญประเภทแลคโตน (lactone) มาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกำหนดให้มีปริมาณแลคโตนรวมไม่น้อยกว่า 6 กรัม/น้ำหนักแห้ง 100 กรัม จึงได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์ เทคโนโลยีการขยายพันธุ์ การเขตกรรมเพื่อเพิ่มคุณภาพและสารสำคัญสูงในฟ้าทะลายโจร ทำการสำรวจรวบรวมสายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรจากแหล่งปลูกต่างๆ 9 แหล่ง ได้แก่ จ.เชียงใหม่ นครปฐม ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว พิจิตร พิษณุโลก สระบุรี และชัยนาท นำมาจำแนกพันธุ์โดยใช้เทคนิค DNA โมเลกุลเครื่องหมาย พบว่าสายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรแต่ละพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมระหว่างตัวอย่างที่เก็บมาจากแหล่งต่างๆ โดยมีความใกล้ชิดกัน 99.5% และได้ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และทางการเกษตร คัดเลือกพันธุ์มาปลูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร จ.พิจิตร และที่สวนเกษตรกร จ.อุบลราชธานี จ.สงขลา และ จ.พัทลุง พบว่าพันธุ์ #40 สระแก้ว ปลูกที่ จ.พิจิตร ให้ผลผลิตน้ำหนักสดสูงสุด 4.6 ตัน/ไร่ น้ำหนักแห้ง 1.0 ตัน/ไร่ ปริมาณสารสำคัญ andrographolide สูงสุด 4.60% แต่พันธุ์ #22 พิจิตร ให้ปริมาณ total lactone สูงสุด 9.15% สำหรับที่ จ.พัทลุง พันธุ์ #40 สระแก้ว ให้ผลผลิตน้ำหนักสดสูงสุด 1.3 ตัน/ไร่ น้ำหนักแห้ง 0.3 ตัน/ไร่พันธุ์ #9 เชียงใหม่ ให้สารสำคัญ total lactone สูงสุด 9.87% และที่ จ.อุบลราชธานี พันธุ์ราชบุรี ให้สารสำคัญ total lactone สูงสุด 9.87% และพันธุ์ #30 พิษณุโลก ปลูกที่ จ.พัทลุง และ จ.อุบลราชธานี มีปริมาณ andrographolide สูงสุด 2.34 และ 1.74% ตามลำดับ วิธีการขยายพันธุ์ 4 วิธี ได้แก่ ใช้เมล็ดหว่าน กิ่งปักชำ ใช้ต้นตอ และใช้กล้า ในการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการปลูกฟ้าทะลายโจรด้วยการโรยเมล็ดปลูกเป็นแถว หยอดหลุม และหว่านเมล็ด ที่แปลงเกษตรกร จ.นครปฐม พบว่าการหว่านอัตรา 1-1.5 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตน้ำหนักสดสูงสุด 4.93 ตัน/ไร่ และที่ จ.อุบลราชธานี ปลูกโดยวิธีการย้ายกล้าที่ระยะ 20 x 30 และ 30 x 60 ซม. พบว่าระยะ 20 x 30 ซม. ให้ผลผลิตน้ำหนักสดสูงสุด 1.34 ตัน/ไร่ มากกว่าระยะปลูก 30 x 60 ซม. ให้ผลผลิตน้ำหนักสด 0.78 ตัน/ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของฟ้าทะลายโจรไม่ควรน้อยกว่า 5.76 ตารางเมตร เป็นสี่เหลี่ยมมุมฉากไม่จำกัดรูปร่าง การให้น้ำฟ้าทะลายโจร 80% ของค่าการระเหยสะสม ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตสูงสุด และปริมาณสารแลคโตนรวมได้มาตรฐาน การปลูกแบบพรางแสงให้ผลผลิตลดลง 50% แตกต่างกันทางสถิติกับปลูกแบบไม่พรางแสง สำหรับวิธีการให้ปุ๋ยฟ้าทะลายโจรในแปลงเกษตรกร ที่เป็นแหล่งปลูกการค้า จ.นครปฐม พบว่า กรรมวิธีการใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ร่วมกับการใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากปลูก 1 เดือน และกรรมวิธีที่เพิ่มปุ๋ยสูตร 8-24-24 ในเดือนที่ 2 ให้ผลผลิตสูงสุด 3.0 และ 2.9 ตัน/ไร่ ให้ปริมาณสารสำคัญ andrographolide สูงสุด 8.7 และ 8.0% มากกว่ากรรมวิธีอื่นๆ และกรรมวิธีไม่ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิต 1.3 ตัน/ไร่ และสารสำคัญ 4.1% แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ และศึกษาอิทธิพลของการใส่ปุ๋ยเคมี N:P:K ต่อผลผลิตและปริมาณสารสำคัญของฟ้าทะลายโจร พบว่าการใส่ปุ๋ยสัดส่วนต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ต่อการเจริญเติบโตด้านความสูง ขนาดทรงพุ่ม และผลผลิตของฟ้าทะลายโจร แต่มีผลต่อปริมาณสารสำคัญ total lactone มีปริมาณสูงสุด 8.30% เมื่อใส่ปุ๋ยสัดส่วน 0:2:0 ปริมาณ andrographolide สูงสุด 1.06% จากการใส่ปุ๋ยสัดส่วน 0:1:2 และปริมาณ neoandrographolide สูงสุด 0.61% จากการใส่ปุ๋ยสัดส่วนตามค่าวิเคราะห์พืช (2:1:5) และปริมาณ didehydroandrographolide จากการใส่ปุ๋ยสัดส่วน 3:2:1 มากที่สุดเท่ากับ 0.25% ในด้านศัตรูพืช แมลงศัตรูพืชที่พบระบาดเจาะเข้าทำลายฝักได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย สามารถป้องกันกำจัดได้โดยสารสกัดสะเดา เอ็นพีวีและเชื้อบีที การระบาดโรครากเน่าโคนเน่าในฟ้าทะลายโจรควบคุมโดยการใช้ไตรโคเดอร์ม่า ใส่ทุกเดือนจะสามารถควบคุมได้ วัชพืชที่สำคัญ เช่น หญ้าตีนนก หญ้านกสีชมพู สาบแร้งสาบกา หญ้ายาง ผักกะสัง ผักปราบ แห้วหมู การกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานให้น้ำหนักวัชพืชน้อยที่สุด มีผลทำให้ผลผลิตสูงที่สุด รองลงมาการใช้พลาสติกดำเทา และการใช้แผ่นชีวมวล อายุการเก็บเกี่ยวฟ้าทะลายโจรพบว่าระยะดอกบาน 25-50% ให้ปริมาณสาร andrographolide สูงที่สุด 3.64% รองลงมาคือ ระยะดอกบานมากกว่า 50% ขึ้นไป มีปริมาณสาร 3.22 % และระยะเริ่มออกดอกคือ ระยะดอกบานน้อยกว่า 25% มีปริมาณสารต่ำที่สุดคือ 2.81 % และพบว่าปริมาณสาร andrographolide ที่ส่วนยอดมีมากที่สุด 4.60 % รองลงมาคือส่วนทั้งต้นมีปริมาณสาร 3.95 % และในส่วนใบมีปริมาณสารน้อยกว่าเฉลี่ย 3.41% การศึกษาวิธีการเก็บรักษาฟ้าทะลายโจรหลังการเก็บเกี่ยว การผึ่งลมมีน้ำหนักแห้งเฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.66 กก. รองลงมาคือ วิธีของเกษตรกร ทำแห้งแบบเยือกแข็งแห้ง อบที่อุณหภูมิ 50๐C และโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ มีน้ำหนักแห้งเฉลี่ย 1.63, 1.47, 1.31 และ 0.64 กก. ตามลำดับ การทดสอบพันธุ์ฟ้าทะลายโจรออกเป็นพันธุ์แนะนำ ได้แก่ พันธุ์พิจิตร พิษณุโลก เชียงใหม่ และราชบุรี พบว่าพันธุ์ราชบุรีให้น้ำหนักสดสูงสุดเฉลี่ย 0.76 ตัน/ไร่ที่จังหวัดลพบุรี พันธุ์พิษณุโลกให้น้ำหนักสดสูงสุดเฉลี่ย 2.0 ตัน/ไร่ที่จังหวัดราชบุรี พันธุ์พิจิตรให้น้ำหนักสดสูงสุดเฉลี่ย 2.24 ตัน/ไร่ ที่จังหวัดพิจิตร และที่จังหวัดสระแก้วให้น้ำหนักสดสูงสุดเฉลี่ย 1.28 ตัน/ไร่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยศึกษาการผลิตฟ้าทะลายโจร
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การเพิ่มมูลค่าของฟ้าทะลายโจรเพื่อเสริมภูมิต้านทานโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทย กรณีศึกษา ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม และไพล (12 พ.ย. 2557) ผลของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการ เจริญเติบโต การรอดตาย และระบบภูมิคุ้มกัน แบบไม่จำเพาะเจาะจงของ กุ้งขาวแวนนาไม(Litopenaeus vannamei) และความต้านทานต่อเชื้อ Vibrio spp. โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปงาขี้ม้อนที่มีคุณภาพดี ผลของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer,Bloch, 1970) โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี โครงการวิจัยเทคนิคการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พริกกะเหรี่ยง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก