สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้ปุ๋ยหมักจากกากกาแฟเพื่อเพิ่มผลผลิตเชิงคุณภาพของกุหลาบตัดดอก
วลัญดรรชน์ เอี่ยมวรการ, อรอนงค์ บัวดำ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ปุ๋ยหมักจากกากกาแฟเพื่อเพิ่มผลผลิตเชิงคุณภาพของกุหลาบตัดดอก
ชื่อเรื่อง (EN): Result of compost from coffee grounds to improve the quality of rose cut flowers.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลของการใช้ปุ๋ยหมักจากกากกาแฟเพื่อเพิ่มผลผลิตเชิงคุณภาพของกุหลาบตัดดอก ด าเนินการในพื้นที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีในปี พ.ศ. 2556 - 2557 รวม 1 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยหมักกากกาแฟที่มีคุณภาพ โดยมี 4 ต ารับ คือ ตำรับที่ 1 ปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ตำรับที่ 2 ปุ๋ยหมักกากกาแฟสูตรที่ 1 (ใบไม้: เศษหญ้าที่ตัด : กากกาแฟ สัดส่วน 1:1:1) ต ารับที่ 3 ปุ๋ยหมักกากกาแฟสูตรที่ 2 (ร าข้าว : มูลสัตว์ : แกลบดิบ : กากกาแฟ สัดส่วน 1:1:1:4) และต ารับที่ 4 ปุ๋ยหมักกากกาแฟสูตรที่ 3 (ปุ๋ยหมักผสมกับกากกาแฟ)ผลการทดลองพบว่า กากกาแฟก่อนการหมักมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.9 ปริมาณ อินทรียวัตถุ 75.35 เปอร์เซ็นต์C/N ratio 6:1 ปริมาณไนโตรเจน 7.06 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 0.10 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 0.55 เปอร์เซ็นต์ และค่าการน าไฟฟ้า(EC)1.36 เดซิซีเมนต่อเมตร ภายหลังการหมักกากกาแฟด้วยวิธีการผลิตปุ๋ยหมักต่างๆ พบว่าทุกวิธีการหมักสามารถยกระดับ pH ของกากกาแฟได้เพิ่มขึ้น (pH 5.2-6.3) ปริมาณอินทรียวัตถุ อัตราส่วนอินทรีย์คาร์บอนต่อธาตุไนโตรเจน (C/N ratio) ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ และค่าการนำไฟฟ้า ให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชเพิ่มขึ้น โดยตำรับที่ 1 ปุ๋ยหมัก โดยใช้ สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ให้ปุ๋ยหมักที่มีอัตราส่วนอินทรีย์คาร์บอนต่อธาตุไนโตรเจน (C/N ratio) ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูงที่สุด และต ารับที่ 4 ปุ๋ยหมักกากกาแฟสูตรที่ 3 ให้ปุ๋ยหมักที่มีปริมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชมากที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Result of compost from coffee grounds to improve the quality of rose cut flowers at Tungsukla, Sriracha, Chonburi province in 2556 - 2557, including one years.Objective to explore to compost from coffee grounds. Had 4 treatments, First treatment was compost using Microbial activator Super LDD1, secondary treatment was compost coffee grounds formular1 (leaves, grass , coffee grounds the ratio 1:1:1), third treatment was compost coffee grounds formular2 (bran, animal manure, raw husk, coffee grounds the ratio1:1:1:4) and fourth treatment was compost coffee grounds formular3 (compost and coffee grounds the ratio 1:1). Research that before composting coffee grounds had pH 4.9, Organic matter 75.35%, C/N ratio 6:1, Nitrogen 7.06%, Available Phosphorus 0.10%, Available Potassium 0.55% and electrical conductivity 1.36 dS/m. After composting coffee grounds that every of methods can raise pH (pH 5.2-6.3), Organic matter, C/N ratio, %Nitrogen, Available Phosphorus, Available Potassium and electrical conductivity for suitable crop growing.Compost using Microbial activator Super LDD1 had maximum of C/N ratio, Available Phosphorus, Available Potassium. But compost and coffee grounds (ratio 1:1) had organic matter for suitable planting.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291774
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้ปุ๋ยหมักจากกากกาแฟเพื่อเพิ่มผลผลิตเชิงคุณภาพของกุหลาบตัดดอก
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2557
เอกสารแนบ 1
ผลของไนโตรเจนต่อคุณภาพของกุหลาบตัดดอกที่ผลิตในกระถาง ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับการทำและการใช้ปุ๋ยหมักของเกษตรกรใน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร การใช้ประโยชน์จากกากกาแฟในการผลิตผลิตภัณฑ์ไข่เค็มชนิดพอก ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพกุหลาบ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การพัฒนาระบบการเก็บรักษาของดอกกุหลาบในเชิงการค้า อิทธิพลของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมัก การทดลองหาผลผลิตของพืช 4 ชนิด เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมัก ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตกุหลาบ การพัฒนาระบบการเก็บรักษาของดอกกุหลาบในเชิงการค้า (ระยะที่ 1)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก